พัฒนาการเด็ก: ปัญหาสำคัญของลูกน้อยในแต่ละช่วงวัยที่ควรเข้าพบแพทย์
เด็กแต่ละวัยจะมีพัฒนาการและการเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองควรใส่ใจ และส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของเด็กอย่างเหมาะสม ถ้าหากเด็กมีปัญหาด้านพัฒนาการที่ไม่โตตามวัยควรจะต้องไปพบแพทย์พัฒนาการเด็ก
สัญญาณที่บ่งบอกว่าเด็ก ๆ มีปัญหาด้านพัฒนาการของแต่ละช่วงวัย
พัฒนาการเด็ก 2 เดือน
เด็กทารกวัยนี้จะใช้เวลาไปกับการนอนเป็นส่วนใหญ่ ทำให้พัฒนาการในแต่ละด้านเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ปัญหาพัฒนาการที่อาจพบในเด็กทารกวัยนี้ ที่คุณพ่อและคุณแม่ควรสังเกตุ
ร้องไห้นาดื่มนมได้น้อยน้ำลายไหล ร้องไห้ ไม่ยอมดื่มนมไม่สนใจสิ่งรอบข้าง ไม่ดูดนิ้วหรือเล่นมือตนเองแขนหรือขาขยับไม่สัมพันธ์กัน หรือ ขยับข้างเดียวนอนหลับนานกว่า 16 ชั่วโมง/วัน นอนหลับยากกำมือแน่น ไม่ยอมคลายมือออก
หากผู้ปกครองสังเกตเห็น หรือ พบว่าลูกน้อยมีอาการดังปัญหาข้างต้น ควรพาลูกน้อยไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดโดยทันที
พัฒนาการเด็ก 4 เดือน
พัฒนาการของทารกในวัย 4 เดือนนั้นจะสังเกตได้ว่า มีเส้นผมชุดใหม่งอกขึ้นมาแทนที่
สามารถเคลื่อนไหวคอได้อย่างแข็งแรง กล้ามเนื้อหลังมีการพัฒนาและช่วงลำตัวมีความแข็งแรงขึ้น จะสามารถจะพลิกคว่ำได้
ปัญหาพัฒนาการที่อาจพบในเด็กทารกวัยนี้ ที่คุณพ่อและคุณแม่ควรสังเกตุ
ไม่ยิ้มให้ผู้คนไม่เอามือเข้าปากไม่ถีบขาเมื่อวางลูกลงบนพื้นที่ที่แข็งแรงไม่ยอมส่งเสียงอ้อแอ้ไม่สามรถเกร็งคอให้ตั้งตรงนิ่ง ๆ ได้กรอกตาข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งไม่ได้หากผู้ปกครองสังเกตเห็น หรือ พบว่าลูกน้อยมีอาการดังปัญหาข้างต้น ควรพาลูกน้อยไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดโดยทันที
ช่วง 6 เดือน
เด็กในวัย 6 เดือนนี้ จะคล่องแคล่วการทรงตัวจะทำได้ดีมากขึ้น และหยิบจับอะไรได้ไวกว่าเดิม จึงต้องคอยระวังเรื่องสิ่งของรอบๆ ตัวลูกเป็นพิเศษเพราะลูกอาจหยิบจับหรือคว้าสิ่งของที่เป็นอันตรายเข้าตัวเองได้
ปัญหาพัฒนาการที่อาจพบในเด็กทารกวัยนี้ ที่คุณพ่อและคุณแม่ควรสังเกตุ
ไม่สามารถนั่งได้แม้จะคอยประคองอยู่ด้วยก็ตามไม่สามารถย้ายสิ่งของจากมือข้างหนึ่งไปสู่มืออีกข้างหนึ่งได้ไม่ค่อยสนใจคนอื่น หรือไม่ค่อยออกเสียงและยิ้มอย่างที่ควรจะเป็นไมค่อยสบตา หรือไม่ค่อยใช้นิ้วชี้ไปยังสิ่งของต่าง ๆไม่ค่อยตอบสนองเมื่อได้ยินเสียงมีปัญหากับการกินอาหารด้วยช้อน หรือคายอาหารออกมาแทนที่จะกลืนลงไปหากผู้ปกครองสังเกตเห็น หรือ พบว่าลูกน้อยมีอาการดังปัญหาข้างต้น ควรพาลูกน้อยไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดโดยทันที
ช่วง 9 เดือน
เด็กในวัย 9 เดือนนั้น จะเริ่มคลานมาหาได้ และสามารถที่จะยืนได้เพียงลำพัง แต่การก้าวเดินยังไม่มั่นคงจะชอบการเหนี่ยว และการดึงเพื่อเป็นหลักให้ตนเอง โดยส่วนใหญ่จะเป็นการยืนนิ่งๆ แล้วนั่งลง
ปัญหาพัฒนาการที่อาจพบในเด็กทารกวัยนี้ ที่คุณพ่อและคุณแม่ควรสังเกตุ
ไม่สามารถนั่งเองได้ไม่ส่งเสียงอืออาเรียกชื่อแล้วไม่ยอมตอบสนองไม่ลงน้ำหนักบนขาไม่เล่นเกมใดๆ ที่เป็นการโต้ตอบกันไปมาจดจำผู้ใหญ่ที่รู้จักไม่ได้ไม่มองตามสิ่งที่เป็นที่สนใจสลับของเล่นไปมาระหว่างมือทั้งสองข้างไม่ได้หากผู้ปกครองสังเกตเห็น หรือ พบว่าลูกน้อยมีอาการดังปัญหาข้างต้น ควรพาลูกน้อยไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดโดยทันที
ช่วง 12 เดือน
เด็กในวัย 1 ปีนี้ สามารถเดินได้ค่อนข้างคล่องแคล่ว และ สามารถที่จะพาตนเองไปในจุดที่สนใจได้โดยไม่ต้องพึ่งพิงใคร สามารถใช้มือทั้งสองข้างได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถหยิบวางอย่างแม่นยำ ถือของต่างๆ ได้เหนียวแน่น
ปัญหาพัฒนาการที่อาจพบในเด็กทารกวัยนี้ ที่คุณพ่อและคุณแม่ควรสังเกตุ
ไม่สื่อสารด้วยท่าทาง ไม่สนใจคนไม่สามารถยืนค้างด้วยตัวเองได้ประมาณ 1-2 วินาทีไม่สามารถหยิบของด้วยนิ้วโป้ง และ นิ้วชี้ ได้ไม่สามารถโบกมือ หรือ ตบมือตามคำสั่งได้ไม่สามารถแสดงท่าทางความต้องการได้ เช่น ยื่นมือให้อุ้ม ดึงเสื้อ เป็นต้นไม่สามารถเอาของเล่นมาทำให้ถูกวิธีได้ เช่น ไม่สามารถนำช้อนมาทำท่าทางการกินได้
หากผู้ปกครองสังเกตเห็น หรือ พบว่าลูกน้อยมีอาการดังปัญหาข้างต้น ควรพาลูกน้อยไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดโดยทันที