mombieclub
mombieclub
@mombieclub

โรคใคร่เด็ก: พ่อแม่ควรระวังคนรอบตัว

โรคใคร่เด็ก
โรคใคร่เด็ก

อันตรายมีอยู่รอบด้าน บางครั้งก็ไม่เลือกคน หรือสถานที่ ซึ่งอันตรายจากการโดนล่วงละเมิดทางเพศที่เรากำลังจะพูดถึงสามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกเพศ และสามารถเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ โดยเราเรียกบุคคลที่กระทำการล่วงละเมิดทางเพศกับเด็กว่าผู้ป่วย “โรคใคร่เด็ก” ซึ่งจะสังเกต และมีบทลงโทษทางกฎหมายอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

โรคใคร่เด็ก คืออะไร?

โรคใคร่เด็ก (Pedophilia) เป็นอาการทางจิตที่ผิดปกติ มีพฤติกรรมที่แสดงออกว่าชอบ หรือรักเด็กที่ “เกินขอบเขต” ต้องการให้เด็กเป็นของตัวเอง จนไปถึงความต้องการที่จะนำเด็กมาเป็นเหยื่อบำบัดความใคร่ทางเพศ

วัยที่มีความเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อของผู้ป่วยโรคใคร่เด็ก ได้แก่ เด็กก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ไม่ถึง 13 ปี เด็กทารก เด็กอนุบาล และเด็กประถม

รูปแบบการกระทำทางเพศกับเด็ก

ไม่มีการสัมผัสร่างกาย : แอบดูเด็กอาบน้ำ พูดจาลวนลาม เปลือยกาย หรือให้เด็กดูอวัยวะเพศ ดูภาพ หรือคลิปลามก เพื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ

สัมผัสร่างกาย แต่ไม่ได้ล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศ : กอดจูบ ลูกคลำอวัยวะเพศเด็ก ให้เด็กจับอวัยวะเพศ เพื่อสำเร็จความใคร่

ล่วงละเมิดทางเพศ : บังคับ หรือข่มขู่ให้เด็กเก็บเป็นความลับ กระทำชำเราซ้ำๆ ทำร้ายร่างกาย หรือฆ่า

ลักษณะและพฤติกรรมที่พ่อแม่ควรระวัง

ส่วนมากเป็นผู้ชาย อายุ 35-40 ปี ขึ้นไปไม่ค่อยมีความสุขกับคู่ครองวัยเดียวกันส่วนใหญ่เกิดจากคนในครอบครัว หรือคนใกล้ชิด เช่น เพื่อนบ้าน หรือญาติเกิดความรู้สึก หรือมีจินตนาการทางเพศกับเด็กเท่านั้นชอบมีความสัมพันธ์ทางเพศซ้ำแล้วซ้ำอีกกับเด็ก ทั้งคนเดิมหรือกับเด็กคนใหม่พยายามเข้าใกล้เด็กด้วยวิธีการตีสนิท หลอกล่อ ให้รางวัล ให้ขนม ให้เงิน เพื่อให้เด็กเชื่อใจ หรือเพื่อตีสนิท

โทษทางกฎหมายของผู้ป่วย "โรคใคร่เด็ก"

การกระทำความผิดเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก
ครอบครอง ส่งต่อ เผยแพร่วัตถุ หรือสิ่งที่แสดงให้รู้หรือเห็นการกระทำทางเพศของเด็กหรือกับเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี เช่น รูปภาพ ภาพเขียน ภาพพิมพ์ แถบบันทึกเสียง รวมถึงสิ่งที่จัดเก็บในระบบคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางเพศการกระทำความผิดฐานอนาจารเด็ก
การกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศต่อร่างกายผู้อื่น เช่น การสัมผัสจับต้องเนื้อตัวร่างกาย การลวนลามร่างกายในทางไม่สมควร และการกระทำ ให้อับอายขายหน้าในทางเพศการกระทำความผิดฐานกระทำชำเรา
การกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำ ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม

บทลงโทษตามกฎหมายอาญา

1. การกระทำความผิดเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก

ครอบครอง มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 287/1)ส่งต่อสื่อลามก มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 287/1)เผยแพร่สื่อลามก มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 60,000 บาท ถึง 200,000 บาท (มาตรา 287/2)

2. การกระทำความผิดฐานอนาจารเด็ก

เด็กอายุไม่เกิน 13 ปี ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม มีโทษจำคุก 1 – 10 ปี หรือปรับ 10,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 279)เด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม มีโทษจำคุก ไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 279)

3. การกระทำความผิดฐานกระทำชำเรา

เด็กอายุไม่เกิน 13 ปี ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม มีโทษจำคุก 7 – 20 ปี และปรับ 140,000 – 400,000 บาท หรือจำคุกตลอดชีวิต (มาตรา 277)เด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม มีโทษจำคุก 5 – 20 ปี และปรับ 100,000 – 400,000 บาท (มาตรา 277)

บทลงโทษผู้ป่วยทางจิตเวชที่ทำผิด

1. ยกเว้นโทษ / ลดโทษ

กระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบชั่วดี / ไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีอาการจิตบกพร่อง เป็นผู้ป่วยจิตเวช หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่ต้องรับโทษถ้าพิสูจน์แล้วว่าผู้กระทำผิดยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือ ยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง อาจรับโทษน้อยลง ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล

2. มีเหตุให้บรรเทาโทษ

โง่เขลา เบาปัญญาตกอยู่ในความทุกข์สาหัสมีคุณความดีมาก่อนรู้สึกผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายในความผิดให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาสารภาพความผิดต่อเจ้าพนักงาน

ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดโทษและลงโทษโดยคำนึงถึงความผิดปกติทางจิต “โรคใคร่เด็ก” และอาจไม่เข้าข่ายเป็นผู้ป่วยทางจิตเวช ผู้ทำความผิดจึงมีความผิดและรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา

แจ้งเหตุได้ที่

มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก 0-2412-1196 (ในเวลาราชการ)ศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

บทความที่เกี่ยวข้อง