Mombiestreet
Mombiestreet
@mombiestreet

ไขข้อข้องใจว่าไซส์หน้าอกมีผลต่อปริมาณน้ำนมหรือไม่?

ไขข้อข้องใจว่าไซส์หน้าอกมีผลต่อปริมาณน้ำนมหรือไม่?

 

เรื่องไซส์คือเรื่องใหญ่นะคะ คุณแม่หลายคนโทษไซส์หน้าอกตัวเองว่าเป็นตัวการทำให้มีปริมาณน้ำนมน้อย จริงๆ แล้วเราควรมาทำความเข้าใจระบบการผลิตน้ำนมกันก่อน ในการสร้างน้ำนมเกิดขึ้นที่ต่อมและท่อน้ำนมซึ่งแม่ทุกคนมีเท่าๆ กัน ดังนั้นขนาดที่เล็กหรือใหญ่ที่เกิดจากไขมันในเต้านมจึงไม่มีผลใดๆ

 

เพราะน้ำนมแม่นั้นเกิดขึ้นจาก เซลล์ที่อยู่ภายในกระเป่าะเล็กๆ ของเต้านม ซึ่งมีรูปร่างคล้ายพวงองุ่น โดยน้ำนมในกระเปาะนั้น เกิดจากการทำงานของฮอร์โมนที่ชื่อว่า “โปรแลคติน” ที่ผลิตขึ้นจากต่อมใต้สมองของแม่ ซึ่งทำงานร่วมกับฮอร์โมนอื่นๆ เมื่อให้นมลูก น้ำนมจากกระเปาะเหล่านั้นก็จะไหลออกมาให้ลูกดื่มกิน

 

ซึ่งน้ำนมแม่นั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ

1 ระยะหัวน้ำนม (Colostrums)

จะมีสีเหลืองข้น มีปริมาณไม่มากจะหลั่งออกมาในช่วงระยะ 1-5 วันแรกหลังคลอดเท่านั้น นี่คือน้ำนมที่มีคุณค่ามหาศาลที่สุด ที่ช่วยระบบภูมิคุ้มกัน และมีฤทธิ์ระบายอ่อนๆ ช่วยในการขับขี้เทาของลูกลดโอกาสการติดเชื้อ

2 ระยะน้ำนมปรับเปลี่ยน (Transition Milk)

เมื่อผ่านช่วง 5 วัน ถึง 2 สัปดาห์แรก น้ำนมจะเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่นซึ่งจะมีสารอาหารทั้งไขมัน และน้ำตาลที่มีปริมาณเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย

3 ระยะน้ำนมแม่ (Mature Milk)

หลังจากผ่านช่วง 2 สัปดาห์แรกแล้วน้ำนมแม่จะมีปริมาณที่มากขึ้น และมีสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลูก ได้แก่ โปรตีน วิตามิน A, B1, B2, B6, B12, C, D, E, K และแร่ธาตุซึ่งได้แก่ เหล็ก แคลเซียม ไอโอดีน เป็นต้น 

 

เมื่อได้คำตอบกันแล้วว่าน้ำนมจะมากหรือน้อยไม่เกี่ยวกับไซส์ของหน้าอกคุณแม่ก็หวังว่าจะได้สบายใจยกภูเขาออกจากอกกัน อย่างไรเสียหากคุณแม่มีปริมาณน้ำนมน้อยจนกังวล ลองเลื่อนเวลาอุ้มลูกเข้าเต้าให้ถี่ขึ้น เพิ่มการนวดกระตุ้น และพิจารณาที่อาหารการกินรวมถึงความเครียดที่อาจส่งผลต่อปริมาณน้ำนมของคุณแม่ ลองควบคุมตรงนี้ให้ดีน้ำนมก็จะไหลได้ดีตามปริมาณที่ต้องการค่ะ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
สอนลูกให้รู้ เรื่องความฉลาดทางอารมณ์ ได้อย่างไร และต้องเริ่มที่ตรงไหน
สอนลูกให้รู้ เรื่องความฉลาดทางอารมณ์ ได้อย่างไร และต้องเริ่มที่ตรงไหน
23 พฤศจิกายน 2023 08:33
คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจกำลังสนใจเรื่องการฝึกความฉลาดทางอารมณ์  หรือ EQ ไม่ใช่เรื่องไม่ยาก เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่ใส่ใจต่อพัฒนาการของลูกในแต่ละช่วงวัย และ ทำความเข้าใจกับธรรมชาติของลูกในแต่ละช่วงวัย
ลูกติดจอนาน เสี่ยงกระจกตาอักเสบ จริงไหม ?
ลูกติดจอนาน เสี่ยงกระจกตาอักเสบ จริงไหม ?
16 สิงหาคม 2023 03:23
จริง ใช่ว่าการใช้จอคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ต่อเวลานานอาจเสี่ยงต่อปัญหาต่างๆ เช่น กระจกตาอักเสบ อาการเหนื่อยตา และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพตาได้ โดยเฉพาะเมื่อใช้จอในระยะเวลานานๆ
ลูกน้อยกินโยเกิร์ตได้ไหม? สงสัยหรือไม่?
ลูกน้อยกินโยเกิร์ตได้ไหม? สงสัยหรือไม่?
05 มกราคม 2023 04:20
ปกติแล้วเด็กแรกเกิดถึงอายุ 6 เดือน แพทย์จะแนะนำให้ดื่ม นมแม่ เป็นอาหารหลัก เพราะมีสารอาหารครบถ้วนต่อความต้องการของลูก และเมื่อลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไปจึง
ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD โรคทางพันธุกรรม ที่แม่มือใหม่ต้องรู้!?
ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD โรคทางพันธุกรรม ที่แม่มือใหม่ต้องรู้!?
25 มกราคม 2023 03:34
“G6PD” (Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase) เป็นเอนไซม์ในเม็ดเลือดแดงมีหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยในการให้เซลล์เม็ดเลือดแดงทำงานได