Mombiestreet
Mombiestreet
@mombiestreet
มีร้าน
TimelineInteractions

https://www.youtube.com/watch?v=VdlYEAjN-3Q

🔴 LIVE “การสื่อสารและสัมพันธภาพในครอบครัว“
- เลี้ยงลูก ทำไมไม่มีความสุขอย่างที่คิด!ลูกก็ร้องงอแง น้ำนมก็ไม่พอ นอนก็น้อย บ้านก็รก
- สามี ทำไมไม่ช่วยเลี้ยงลูก! อยากให้เขาช่วย ควรทำอย่างไร
- ย่า ยาย แนะนำไม่ตรงกัน ทำไงดี?
ติดตามไลฟ์ วันอังคารที่ 21 นี้ เวลาเดิม 12.30 - 13.30 นะคะ 🥰🥰🥰🥰

#mombieclub #มัมบี้ #NS_mentalwellness #เรื่องเด็กๆbyหมอแอม #คณะพยาบาลศาสตร์ #มหาวิทยาลัยมหิดล #แม่เครียด #แม่เหนื่อย #Imessage #การดูแลใจ #ปัญหาครอบครัว #ปัญหาความสัมพันธ์ #การสื่อสาร #ซาเทียร์

กว่าจะเจอขวดนมที่ใช่ เรารู้ว่าคุณได้คัดสรรมาอย่างดี
มัมบี้ชวนคุณมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ การเลือกขวดนมของลูกน้อย ให้กับคุณแม่มือใหม่ รีวิวที่มียอดหัวใจ มากกว่า 50 💖 รับทันที นมคิดดี 1 ลัง
📌กติการ่วมกิจกรรม
・ ร่วมเขียน รีวิวที่ mombieclub
・ ใส่แฮชแทคท้ายรีวิว #ขวดนมที่ใช่
・ จำนวนไม่ต่ำว่า 300 ตัวอักษร
・ สำหรับผู้ที่มียอดหัวใจ มากกว่า 50 💖 รับนมคิดดี 1 ลัง มูลค่า 391 บาท
・ รางวัลรวมทั้งสิ้น 5 รางวัล
ร่วมกิจกรรมได้แล้ววันนี้
・ หมดเขต 30 กันยายน 2565

วัยเด็ก เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย เช่น เรื่องการเจริญเติบโตของร่างกาย คุณพ่อ คุณแม่คงสงสัยกันไม่น้อยใช่ไหมคะ ว่าลูกน้อยของเราหากมีการเจริญเติบโตช้า ตัวเล็กกว่าเพื่อนๆ ลูกเราจะมีความผิดปกติหรือไม่? ซึ่งอาจมีโรคบางอย่างที่ซ่อนเร้นอยู่และควรได้รับการแก้ไขที่เหมาะสมตั้งแต่ต้นนะคะ

แล้วคุณพ่อ คุณแม่จะทราบได้อย่างไรว่าลูกน้อยมีการเจริญเติบโตที่ดีล่ะ วันนี้เรามาทราบถึงสาเหตุ วิธีการสังเกต และทางแก้ไขปัญหาของเรื่องนี้ไปพร้อมๆ กันดีกว่าค่ะคุณพ่อ คุณแม่

ทำความรู้จักกับ "ภาวะเด็กตัวเตี้ย"

"ภาวะเด็กตัวเตี้ย" เป็นภาวะที่เด็กมีการเจริญเติบโตช้ากว่าค่าเฉลี่ยของเด็กที่อยู่ในวัยและเพศเดียวกันอย่างน้อย 2 เท่า ของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งเด็กที่มีภาวะเตี้ยก็มักจะมีน้ำหนักตัวที่น้อยกว่าเด็กในเพศและวัยเดียวกัน อาจมีความสูงและเส้นรอบศีรษะที่แตกต่างกันด้วยค่ะ

สาเหตุของลูกโตช้า ตัวเล็ก เกิดจาก...?

สาเหตุของลูกโตช้า ตัวเล็กนั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่กรรมพันธุ์ ไปจนถึงภาวะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต หรือเรียกว่าโกรทฮอร์โมน (growth hormone) ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน โรคกระดูก โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคทางระบบทางเดินอาหาร โรคไต โรคติดเชื้อ ขาดสารอาหาร และพักผ่อนไม่เพียงพอ

ส่วนใหญ่แล้วมักมีสาเหตุมาจาก "กรรมพันธุ์" (familial short stature) คือ เด็กที่ตัวเล็กสืบเนื่องจากคุณพ่อ คุณแม่ตัวเล็ก หรือเป็นกลุ่มโตช้าที่เรียกกันว่าเตี้ยในแบบม้าตีนปลาย (constitutional delayed of growth and puberty) ซึ่งทั้งสองสาเหตุนี้ ไม่ถือเป็นความผิดปกติแต่อย่างใด

และยังมีอีกหนึ่งภาวะที่เรียกว่า ภาวะตัวเตี้ยปกติ (normal variant short stature) เป็นภาวะที่พบได้บ่อย ไม่ได้มีโรคอะไรซ่อนเร้นอยู่ และไม่ต้องทำการรักษาใดๆ คุณพ่อ คุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลไปนะคะ

วิธีการสังเกตง่ายๆ ว่าลูกเติบโตช้า หรือไม่!

1. ลูกตัวเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับพี่น้องท้องเดียวกันเมื่ออายุเท่าๆ กัน
2. ลูกตัวเล็กกว่าเพื่อนๆ ในวัยเดียวกัน
3. ส่วนสูง นำ้หนักอยู่ต่ำกว่าเส้นล่างสุดของกราฟการเจริญเติบโต ตามเพศและอายุของเด็ก
4. มีอัตราการเจริญเติบโตลดลงโดยเปรียบเทียบในกราฟการเจริญเติบโตหรือไม่เติบโตเลย

เมื่อไหร่ที่คุณพ่อ คุณแม่สังเกตว่าลูกมีความสูงน้อยผิดปกติแตกต่างจากเพื่อนในวัยเดียวกันจนเกินไป หรือพบว่าในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมาลูกไม่สูงขึ้นเลย ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติเพื่อวางแผนการรักษาค่ะ

เมื่อพบแพทย์ จะต้องตรวจอะไรบ้าง?

・ดูประวัติของเด็กและครอบครัว เช่น ประวัติการตั้งครรภ์ การคลอด น้ำหนักและความยาวแรกเกิด ประวัติการเจ็บป่วย อาหารที่ได้รับ ความสูงและการเข้าสู่วัยหนุ่มสาวของบิดามารดาและพี่น้อง
・การตรวจร่างกาย ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความยาวของส่วนแขน ขา และเส้นรอบศีรษะ และตรวจหาความผิดปกติอื่นๆที่พบร่วมกัน
・ประเมินดูอัตราการเจริญเติบโตเปรียบเทียบกับกราฟการเจริญเติบโต
・การเอ็กซเรย์ฝ่ามือและข้อมือ เพื่อประเมินดูการเจริญเติบโตของกระดูก
・การตรวจอื่นๆ ทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือดวัดระดับของฮอร์โมนต่างๆ

การเลือกกินอาหารที่เหมาะสมมีความสำคัญต่อเจริญเติบโต และยังช่วยให้เด็กๆ มีสุขภาพดี โดย

1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ คือ ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์และนม ไขมัน ผักและผลไม้
2. ควรรับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้เป็นประจำเพื่อให้ได้ใยอาหาร

3. รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงเป็นประจำเช่น ตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง ผักใบเขียว
4. ดื่มนมวันละ 2-3 แก้วเพื่อให้ได้แคลเซียมเพียงพอ
5. หลีกเลี่ยงอาหารที่มันมากเกินไป
6. หลีกเลี่ยงน้ำอัดลมและของขบเคี้ยวเช่น ขนมหวาน ขนมกรุบกรอบ
7. ไม่ควรกินอาหารรสหวานจัดและอาหารประเภทน้ำตาลมาก

หากคุณพ่อ คุณแม่พบความผิดปกติได้เร็ว ก็สามารถพามาพบและปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแก้ไข ดูแล และรักษาได้ทันท่วงทีนะคะ

Join

มัมบี้ หาคำตอบให้!
จะทำอย่างไรดี? หากน้ำนมคุณแม่ไม่พอให้เจ้าตัวเล็กทาน เพื่อให้นมแม่มาอย่างรวดเร็ว มากพอ และยาวนาน มัมบี้จะมาแนะนำเคล็ดลับง่ายๆให้คุณแม่ได้ทราบกันค่ะ

1. ให้ลูกดูดกระตุ้นบ่อยๆ และเป็นเวลา
เพราะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะไปกระตุ้นฮอร์โมนให้ผลิตน้ำนมมากขึ้น นั่นหมายความว่า ยิ่งลูกน้อยเข้าเต้าดูดนมมากเท่าไหร่ ปริมาณน้ำนมก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

2. บีบน้ำนมออกในช่วงเวลาที่ไม่ได้ปั๊มนมบ้าง
ซึ่งสามารถทำได้โดยการบีบน้ำนมด้วยมือหรือใช้เครื่องปั๊มนมก็ได้ โดยน้ำนมที่บีบออกมาแล้วสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นหรือช่องแช่แข็งสำหรับไว้ให้ลูกน้อยกินภายหลังได้ค่ะ

3. นวดเต้านม
การนวดเต้านมขณะที่ลูกน้อยไม่ได้ดูดเต้าหรือคุณแม่ยังไม่ได้ปั๊มนมก็สามารถช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมได้ คุณแม่อาจนวดเต้านมเวลาอาบน้ำหรือให้สามีช่วยนวดก็ได้ค่ะ

4. ดื่มน้ำให้มากๆ
ควรดื่มน้ำ หรือเครื่องดื่มอื่นเยอะๆ ไม่ว่าจะน้ำเปล่า น้ำผลไม้ นม หรือซุป ให้ได้วันละ 3 ลิตร เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมและทดแทนน้ำที่สูญเสียไป

5. รับประทานอาหารที่สมส่วน
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นสิ่งสําคัญ คุณแม่ต้องทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม จำพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุสูง

*คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ควรเข้าโปรแกรมลดนํ้าหนัก หากคุณแม่กังวลกับนํ้าหนักที่เพิ่มขึ้นตอนตั้งครรภ์และต้องการกลับไปมีรูปร่างเหมือนก่อน โดยที่เลี้ยงลูกด้วยนมไปด้วย ให้ปรึกษาคุณหมอนะคะ

6. ทานอาหารเสริมหรือวิตามินเสริมสําหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
ร่างกายของคุณแม่ต้องการสารอาหารที่จําเป็นเมื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ค่ะ ทางหนึ่งที่ช่วยให้คุณแม่ได้รับสารอาหารตามที่ร่างกายต้องการก็คือทานวิตามินรวมหรือวิตามินที่คุณแม่ทานขณะตั้งครรภ์ค่ะ

7. ไม่เครียด
ความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอส่งผลให้ร่างกายลดการผลิตน้ำนมได้ ดังนั้นคุณแม่จึงควรนอนหลับให้เพียงพอทุกคืน และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดความเครียดได้

8. หลีกเลี่ยงบุหรี่ แอลกอฮอล์และคาเฟอีน
จำไว้เสมอว่า ทุกอย่างที่คุณแม่ทาน ดื่มและสูดดมล้วนมีผลกับนํ้านมของคุณแม่ได้ ดังนั้นให้หลีกเลี่ยงบุหรี่ แอลกอฮอล์และคาเฟอีนในช่วงที่ให้นมลูกค่ะ

ซึ่งการเพิ่มปริมาณน้ำนมสามารถทำได้โดยที่คุณแม่ไม่ต้องทานอาหารเสริมใดๆ เลย ก็คือ การให้ลูกดูดเต้าบ่อยๆนั่นเองค่ะ เป้าหมายก็คือเพื่อระบายนมออกจากเต้า หากคุณแม่ลองทุกวิถีทางแล้วแต่ยังไม่สามารเพิ่มปริมาณน้ำนมได้ ลองติดต่อคลินิกน้ำนมแม่ เพื่อรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญค่ะ
Street
Articles
Club
Noti
Me