อาการแบบนี้เรียกว่า "ท้องผูก" หรือเปล่านะ?

อาการแบบนี้เรียกว่า "ท้องผูก" หรือเปล่านะ?
เรามักพบอาการท้องผูก หรือ ถ่ายไม่ออก ในเด็กเป็นส่วนใหญ่เลยใช่ไหมคะ?
ซึ่งถ้าอาการนี้เกิดกับลูกน้อยของเราคุณพ่อคุณแม่คงจะเป็นกังวลกันไม่น้อย และยิ่งไปกว่านั้นการดูแลที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ในอนาคต เช่น ลูกถ่ายลำบากจนทำให้มีอาการท้องผูกเรื้อรัง หรืออาจทำอุจจาระเปรอะเปื้อน และอาจะทำให้เขาสูญเสียความเชื่อมั่นในตัวเอง ซึ่งอาจทำให้มีพฤติกรรมเก็บกดทางอารมณ์ได้
แล้วอาการท้องผูกเป็นอย่างไรล่ะ?
- ถ่ายอุจจาระน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 ครั้งต่อสัปดาห์
- ถ่ายอุจจาระแข็งมาก อาจถ่ายเป็นเม็ดเล็กๆ เหมือนลูกกระสุน หรือเป็นแท่งแข็ง อุจจาระก้อนใหญ่ๆ
- ลูกมีอาการถ่ายลำบาก เจ็บเวลาขับถ่าย บางครั้งอาจมีเลือดปนออกมาขณะถ่าย เนื่องจากอุจจาระแข็งมากจนทำให้รูทวารหนังเป็นแผลฉีกขาด
- อาจมีอาการแน่นท้อง ท้องอืด ร่วมกับถ่ายลำบากและเจ็บ
ทารก 1 ขวบปีแรก มักมีปัญหาอาการท้องผูก
- เมื่อเปลี่ยนนม ทั้งการเปลี่ยนจากนมแม่เป็นนมผสม หรือเปลี่ยนสูตรนม เนื่องจากนมแม่มีเวย์โปรตีนสูง ซึ่งเป็นโปรตีนคุณภาพและย่อยง่ายกว่านมผสม ทารกที่กินนมแม่จึงมีปัญหาท้องผูกน้อยกว่า
- เมื่อเริ่มให้อาหารเสริม ซึ่งมักพบในกรณีให้อาหารเสริมเร็วเกินไป หรือให้อาหารเสริมที่มีเส้นใยน้อย เช่น ผักหรือผลไม้
- เด็กที่ดื่มน้ำน้อยไป สูญเสียน้ำหรือขณะมีไข้อาจจะทำให้อุจจาระแข็งและท้องผูกได้
การรักษาอาการท้องผูกของลูกน้อย
- ในวัยทารก เด็กที่ดื่มนมมารดาส่วนใหญ่จะไม่มีอาการลูกท้องผูก นอกจากมารดารับประทานนมวัวหรือรับประทานอาหารโปรตีนมากเกินไป
- ในเด็กที่ดื่มนมผสม ดื่มน้ำให้มากขึ้น หรือดื่มน้ำผลไม้ เช่น น้ำลูกพรุน น้ำส้ม เพิ่ม ผัก ผลไม้ และธัญพืช เสริมอีกทางหนึ่ง
- บริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง เช่น การนวดท้อง และยกขาเด็กขึ้นลงจะทำให้การขับถ่ายดีขึ้น
- ฝึกนิสัยในการขับถ่ายแล้ว หากมีอาการท้องผูกเรื้องรัง ให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางค่ะ