ปานแดง: ในเด็กอันตรายหรือไม่
ปานแดงในเด็กเล็ก หรือเนื้องอกหลอดเลือดในเด็กเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตอย่างใกล้ชิด แม้ไม่พัฒนาไปเป็นเนื้อร้าย แต่อาจทำให้เกิดความผิดปกติของผิวหนังได้นะคะ
ปานแดงในเด็ก คืออะไร?
ปานแดงในเด็ก หรือเนื้องอกหลอดเลือด (Infantile Hemangioma) เป็นโรคเนื้องอกหลอดเลือดชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด และเด็กเล็ก ไม่ใช่โรคติดต่อ และไม่ใช่เนื้อร้าย
ในช่วงแรกจะสังเกตเห็นจุดแดงหลอดเลือดฝอยคล้ายรอยจากแมลงกัด หรือผื่นสีแดงราบ อาจมีสีจางกว่าผิวหนัง และมีรอยช้ำ ขนาดจะขยายอย่างรวดเร็วในช่วง 4 สัปดาห์แรก มีขนาดใหญ่ที่สุดในช่วง 9 - 12 เดือน จากนั้นขนาดก้อนจะเริ่มคงที่ในช่วงสั้นๆ แล้วเล็กลง จางลงหลังอายุ 1 - 2 ปีเป็นต้นไป โดยขนาดจะค่อยๆ เล็กลงอย่างช้าๆ
แม้ปานแดงจะสามารถยุบลงได้เอง แต่อาจเกิดรอยที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น รอยเส้นเลือดฝอย ก้อนพังผืดไขมันใต้ผิวหนัง รอยโรคจากการเสียดสีในบริเวณต่างๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดแผล หรือนูนไม่สวยงาม และทำให้ลูกน้อยสูญเสียความมั่นใจได้ค่ะ
ลักษณะของ ปานแดงในเด็ก
พบบ่อยที่สุดบริเวณศีรษะและลำคอ ลำตัว แขนและขารูปร่างจะแตกต่างตามความลึกของรอยโรครอยส่วนบนจะเป็นก้อนนูนสีแดงสด ผิวเรียบ หรือขรุขระ รอยส่วนล่างจะเป็นก้อนนูน ขอบเขตไม่ชัดเจน สีเดียวกับผิว หรือสีเขียวอมฟ้า หรือพบร่วมกันส่วนใหญ่พบรอยเดียว แต่อาจพบกระจายหลายๆ อันได้ในบางกรณี
ปัจจัยเสี่ยงที่เด็กทารกจะมีความเสี่ยงในการเป็น ปานแดง นี้มากขึ้น
ทารกเพศหญิงทารกน้ำหนักน้อยทารกคลอดก่อนกำหนดมารดาอายุมากกว่า 30 ปีมารดาคลอดบุตรมาแล้วหลายคน
รักษา ได้อย่างไร?
การรักษาปานแดงในเด็กขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งชนิด ขนาด ตำแหน่ง ความลึก ภาวะแทรกซ้อน ในการรักษาที่พบมากก็คือ รอยบนใบหน้า และรอยที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน อย่างเช่น รอบดวงตา ทางเดินหายใจ ปาก และที่อวัยวะเพศ แต่หากมีรอยเดียว และไม่มีภาวะแทรกซ้อน อาจปล่อยให้หายได้เอง โดยมีวิธีการรักษา ดังนี้
รับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำทายาในกรณีที่รอยโรคบางใช้เลเซอร์ในกรณีที่เป็นแผลหรือรอยแดงหลังจากก้อนยุบลงผ่าตัดในกรณีที่ก้อนขอบเขตชัดเจน ไม่ใหญ่ หรือมีภาวะแทรกซ้อน
ข้อควรระวัง ภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวัง
การแตกเป็นแผล อาจทำให้เจ็บ เลือดออก และติดเชื้อที่แผลได้ถ้าก้อนอยู่บริเวณรอบดวงตาอาจมองเห็นผิดปกติ เช่น ตาเข ตาเหล่ ตาขี้เกียจหากก้อนเนื้องอกที่หูปิดกั้นรูหู อาจทำให้เสียการได้ยินได้เมื่อมีก้อนบริเวณคางและคออาจอุดกั้นทางเดินหายใจได้เมื่อมีเนื้องอกหลอดเลือดขนาดเล็กหลายจุดในร่างกายมากกว่า 5 จุดภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถเกิดขึ้นได้หากมีเนื้องอกขนาดใหญ่ที่ตับแม้ปานแดงในเด็กจะไม่สามารถป้องกันได้ แต่พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถสังเกตเนื้องอกหรือปานแดงที่เกิดขึ้นบนร่างกายของเจ้าตัวเล็กได้หากพบว่ามีแผลเกิดขึ้นหรือเนื้องอกโตอย่างรวดเร็วควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางทันที