mombieclub
mombieclub
@mombieclub

อาหารที่เหมาะสำหรับเด็กตามช่วงวัย

อาหารที่เหมาะสำหรับเด็กตามช่วงวัย
อาหารที่เหมาะสำหรับเด็กตามช่วงวัย

เรื่องอาหารของเจ้าตัวเล็กนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ

แต่ละช่วงอายุก็จะต้องคำนึงถึงเรื่องของความต้องการ เช่น พวกพลังงาน วิตามิน แร่ธาตุ ที่ลูกน้อยของเราจะได้รับจากอาหารที่รับประทานเข้าไป

คุณแม่ควรเน้นอาหารที่มีประโยชน์ และเสริมสร้างพัฒนาการการรับรู้รสชาติของลูกน้อย มี เมนูอาหารสำหรับเด็ก อะไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ

เด็กวัยแรกเกิด - 6 เดือน

อาหารที่เหมาะสำหรับเด็กวัยนี้คือ “นมแม่” เท่านั้นเลยค่ะ ซึ่งปริมาณการให้นมแม่ไม่มีเกณฑ์ที่ตายตัวนะคะ คุณแม่ควรยึดหลัก “กินอิ่มหลับสบาย” แต่ก็ไม่ควรให้น้อยกว่า 20 - 30 นาที และควรให้นมอย่างน้อย 8 ครั้งต่อวัน

เด็กวัย 6 - 7 เดือน

วัยนี้นอกจากนมแม่แล้ว ควรให้อาหารเสริมที่เป็นอาหารบดวันละ 1 มื้อ เพื่อแทนน้ำนมแม่ อาจจะให้อาหารเสริมในช่วงมื้อเช้าหรือมื้อกลางวัน ในวัยนี้ระบบย่อยของเด็กจะแข็งแรงขึ้นเลยควรเพิ่มเนื้อสัตว์สุกบด เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อปลา และนอกจากนี้ยังควรให้เริ่มรับประทานผลไม้ เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินไปบำรุงเหงือกและฟัน ผลไม้ที่สามารถรับประทานได้ก็จะมี มะละกอสุกหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เงาะฝานชิ้นบางแล้วยีใหเละเอียด หรือ องุ่นต้องลอกเปลือกออกหั่นแล้วนำเมล็ดออก

เด็กวัย 8 - 9 เดือน

ช่วงวัยนี้จะรับประทานอาหารเสริมแทนนมแม่ 2 มื้อ อาหารเสริมจะเหมือนในช่วงวัย 6 - 7 เดือน แต่ควรเพิ่มผักบดเข้าไปด้วย และเพิ่มผลไม้เป็นอาหารว่าง

เด็กวัย 10 - 12 เดือน (1 ขวบ)

ในช่วงวัยนี้ควรฝึกให้เด็กรับประทานอาหารด้วยตัวเอง อาหารเสริมวัยนี้จะเริ่มมีเนื้อสัมผัสที่หยาบขึ้นเพราะเด็กจะเริ่มมีฟันสำหรับบดเคี้ยวได้มากขึ้น อาหารเสริมที่สามารถกินได้ เช่น ข้าวต้ม ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ สปาเกตตี โดยคุณแม่จะต้องนำมาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำมาต้มสุก ในน้ำซุปที่มีเนื้อสัตว์และผัก สำหรับอาหารว่างนอกจากผลไม้แล้ว อาจจะเป็นขนมปังเวเฟอร์เพิ่มเติมก็ได้

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

น้ำผึ้ง เป็นข้อจำกัดสำหรับปีแรกเพราะมันอาจจะมีสปอร์ของแบคทีเรีย Clostridium botulinum แม้ว่าจะไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใหญ่แต่สปอร์เหล่านี้อาจทำให้เกิดโรคโบทูลิซึมในทารกที่อายุต่ำกว่า 1 ปีถั่วและถั่วลิสง ถั่วคือแหล่งโปรตีนที่สูงในพืช แต่ถึงจะมีประโยชน์อย่างไรก็ไม่ควรให้ด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี รับประทาน เพราะอาจทำให้เด็กสำลักได้ หากคุณต้องการให้ลูกรับประทานถั่วและถั่วลิสง คุณสามารถให้ได้ตั้งแต่อายุประมาณ 6 เดือน แต่คุณต้องบดให้ละเอียดที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้นมวัวหรือนมแพะ ทารกวัยแรกเกิด - 6 เดือน ไม่มีความจำเป็นต้องกินนมวัวหรือนมแพะ เพราะต้องกินนมแม่อยู่แล้ว นอกจากนมมวัวหรือนมแพะจะไม่มีธาตุเหล็กและสารอาหารอื่นๆ ที่เพียงพอตามที่ต้องการแล้ว ยังเสี่ยงต่อการแพ้โปรตีนในนมวัวอีกด้วยไข่ดิบหรือไข่ไม่สุก อาจเป็นแหล่งของซาลโมเนลลา ซึ่งจะทำให้ทารกเกิดอาการ "อาหารเป็นพิษ" หรือในเด็กบางรายอาจมีอาการแพ้ไข่อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนย เนยเทียม เนยแข็ง เนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์มันๆ ขนม คุกกี้ เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาสายตา: ลูกน้อยมีปัญหาทางสายตาไหม?
ปัญหาสายตา: ลูกน้อยมีปัญหาทางสายตาไหม?
09 กรกฎาคม 2022 09:47
ดวงตา เป็นอวัยวะที่แสนละเอียดอ่อน โดยเฉพาะสำหรับเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่ หรือคุณผู้ปกครองจึงต้องหมั่นสังเกตอย่างใกล้ชิด และต้องหมั่นตรวจคัดกรองโรคตามระยะเวล
พัฒนาการเด็ก: ปัญหาสำคัญของลูกน้อยในแต่ละช่วงวัยที่ควรเข้าพบแพทย์
พัฒนาการเด็ก: ปัญหาสำคัญของลูกน้อยในแต่ละช่วงวัยที่ควรเข้าพบแพทย์
05 กรกฎาคม 2022 04:23
เด็กแต่ละวัยจะมีพัฒนาการและการเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองควรใส่ใจ และส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของเด็กอย่างเหมาะสม ถ้าหากเด็กมีปัญห
อารมณ์:สอนลูกน้อย กับการจัดการอารมณ์ช่วงโควิด
อารมณ์:สอนลูกน้อย กับการจัดการอารมณ์ช่วงโควิด
05 กรกฎาคม 2022 04:21
การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้เด็กๆ ในทุกช่วงวัยต่างกำลังตกอยู่ในสภาวะทางอารมณ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นความวิตกกังวล ความเครียด และความไม่สบายใจ ถึง