mombieclub
mombieclub
@mombieclub

มีบุตรยาก: จริงหรือไม่? ฉีดวัคซีน COVID-19 ทำให้มีบุตรยาก

มีบุตรยาก
มีบุตรยาก

จริงหรอ? ฉีดวัคซีน COVID-19 ทำให้มีบุตรยาก

เรื่องผลข้างเคียงในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทุกๆ คนอาจจะเคยได้ยินมาแล้วบ้าง ไม่ว่าจะมีอาการ แขนอ่อนแรง เหนื่อยล้า หรือเป็นไข้ต่างๆ อาการเหล่านี้เป็นผลข้างเคียงที่มักเกิดขึ้นจากผู้ที่ฉีดวัคซีนไปแล้ว แต่ก็ยังมีที่บอกเกี่ยวกับเรื่องผลข้างเคียงที่จะทำให้ผู้หญิงมีบุตรยาก

สำหรับใครที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ หรือเตรียมพร้อมทำ IVF พอได้ยินเรื่องนี้คงจะกังวลไม่น้อย ถ้าเรารับวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข้าไป จะทำให้มีบุตรยาก มีโอกาสเสี่ยงต่อการสูญเสียทารกในครรภ์ หรือทารกในครรภ์มีพัฒนาการไม่เต็มที่ หรือเปล่า?

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19

ต้องเข้าใจก่อนว่า วัคซีนโควิด-19 นั้นมีหลายประเภท มีกระบวนการผลิตที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาวัคซีนนั้น ๆ แบ่งประเภทของวัคซีนได้ดังนี้

1. วัคซีนชนิดสารพันธุกรรม ได้แก่ วัคซีนดีเอ็นเอ (DNA) หรือเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA)

2. วัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Recombinant viral vector vaccine)

3. วัคซีนที่ทำจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein subunit vaccine)

4. วัคซีนชนิดเนื้อตาย (Inactivated vaccine)

ซึ่งวัคซีนเหล่านี้ มีวิธีจัดการไวรัสโควิด-19 ในทางที่แตกต่างกันออกไป แต่วัคซีนทุกประเภทจะมีหน้าที่ในการสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิด-19 ซึ่งจะจัดการกับตัวโปรตีนเฉพาะตัวหนึ่ง ที่ประกอบอยู่ในไวรัสโควิด-19 และเมื่อพูดถึงโปรตีน ก็มีข้อวิตกกังวลกันว่า วัคซีนจะเข้าไปจัดการโปรตีนที่เรียกว่า “syncytin-1” ซึ่งเป็นโปรตีนที่จำเป็นสำหรับการสร้างรก และมีส่วนช่วยในการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์

แล้วเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ที่ว่าฉีดวัคซีนแล้วทำให้มีบุตรยาก

แม้ว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 จะมีเป้าหมายไปที่โปรตีนที่ประกอบในไวรัสโควิด-19 แต่ตัววัคซีนไม่ได้มีเป้าหมายไปที่โปรตีน syncytin-1 ซึ่งเป็นโปรตีนสำคัญต่อการตั้งครรภ์ในผู้หญิง และโปรตีนตัวนี้ไม่ได้เป็นส่วนประกอบของไวรัสโควิด-19 ดังนั้นถือว่าเป็นเรื่องไม่จริงที่การฉีดวัคซีนจะทำให้มีบุตรยาก และยังไม่มีหลักฐานการทางแพทย์ระบุว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 จะมีผลเสียต่อภาวะเจริญพันธุ์ในผู้หญิง

สรุปเลยว่า "การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในผู้หญิงที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ยังสามารทำได้" นอกจากนี้ วัคซีนป้องกันโควิด-19 ไม่ได้มีข้อห้ามสำหรับผู้ที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ แต่หากทราบว่า ตนเองตั้งครรภ์หลังจากได้รับวัคซีนเข็มแรกไปแล้ว ให้เลื่อนการฉีดเข็มที่ 2 ออกไปก่อน และให้รับวัคซีนอีกเข็มหลังการตั้งครรภ์ หรือในช่วงการตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2 หรือ 3 กรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์มีความเสี่ยงสูงที่จะติดโควิด-19 โดยให้ดูประโยชน์และความเสี่ยงของการรับวัคซีนเป็นหลัก

หากยังมีความกังวลกับการรับวัคซีนโควิด-19 สามารถขอคำปรึกษา และรับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประกอบการพิจารณาในการรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 นะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง
ลูกติดจอนาน เสี่ยงกระจกตาอักเสบ จริงไหม ?
ลูกติดจอนาน เสี่ยงกระจกตาอักเสบ จริงไหม ?
16 สิงหาคม 2023 03:23
จริง ใช่ว่าการใช้จอคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ต่อเวลานานอาจเสี่ยงต่อปัญหาต่างๆ เช่น กระจกตาอักเสบ อาการเหนื่อยตา และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพตาได้ โดยเฉพาะเมื่อใช้จอในระยะเวลานานๆ
สอนลูกให้รู้ เรื่องความฉลาดทางอารมณ์ ได้อย่างไร และต้องเริ่มที่ตรงไหน
สอนลูกให้รู้ เรื่องความฉลาดทางอารมณ์ ได้อย่างไร และต้องเริ่มที่ตรงไหน
23 พฤศจิกายน 2023 08:33
คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจกำลังสนใจเรื่องการฝึกความฉลาดทางอารมณ์  หรือ EQ ไม่ใช่เรื่องไม่ยาก เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่ใส่ใจต่อพัฒนาการของลูกในแต่ละช่วงวัย และ ทำความเข้าใจกับธรรมชาติของลูกในแต่ละช่วงวัย
7 คำถาม ที่ควรถามลูกหลังกลับจากโรงเรียน
7 คำถาม ที่ควรถามลูกหลังกลับจากโรงเรียน
24 สิงหาคม 2022 02:54
การถามคำถามนั้นสำคัญต่อการพัฒนาการของลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นด้านสมอง หรือด้านต่างๆ รวมถึงการเรื่องค้นหาตัวเอง การปรับตัว เมื่อลูกน้อยเจอในสิ่งที่ชอบด้วยเ
7 วิธีการลดความขัดแย้งในครอบครัว
7 วิธีการลดความขัดแย้งในครอบครัว
26 สิงหาคม 2022 07:39
ความขัดแย้งในครอบครัว หรือ ปัญหาภายในครอบครัวเป็นเรื่องที่เห็นได้บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างทางความคิด ปัญหาทางการเงินหรือแม้แต่ปัญหาสุขภาพ สิ่งเหล่
RSV: ภัยร้าย และอาจอันตรายถึงชีวิต
RSV: ภัยร้าย และอาจอันตรายถึงชีวิต
07 กันยายน 2022 10:41
ช่วงนี้ฝนตก อากาศก็ร้อนๆ หนาวๆ กันใช่ไหมคะแม่ๆ ทำให้ร่างกายลูกน้อยของเราต้องรับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย อาจทำให้เกิดอาการป่วยได้ง่ายโดยเฉพาะย