Articles

ลูกโตช้า ตัวเล็ก ผิดปกติหรือไม่? สังเกตลูกน้อยอย่างไรดี?

ลูกโตช้า ตัวเล็ก ผิดปกติหรือไม่? สังเกตลูกน้อยอย่างไรดี?
ลูกโตช้า ตัวเล็ก ผิดปกติหรือไม่? สังเกตลูกน้อยอย่างไรดี?

วัยเด็ก เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย เช่น เรื่องการเจริญเติบโตของร่างกาย คุณพ่อ คุณแม่คงสงสัยกันไม่น้อยใช่ไหมคะ ว่าลูกน้อยของเราหากมีการเจริญเติบโตช้า ตัวเล็กกว่าเพื่อนๆ ลูกเราจะมีความผิดปกติหรือไม่? ซึ่งอาจมีโรคบางอย่างที่ซ่อนเร้นอยู่และควรได้รับการแก้ไขที่เหมาะสมตั้งแต่ต้นนะคะ

แล้วคุณพ่อ คุณแม่จะทราบได้อย่างไรว่าลูกน้อยมีการเจริญเติบโตที่ดีล่ะ วันนี้เรามาทราบถึงสาเหตุ วิธีการสังเกต และทางแก้ไขปัญหาของเรื่องนี้ไปพร้อมๆ กันดีกว่าค่ะคุณพ่อ คุณแม่

ทำความรู้จักกับ "ภาวะเด็กตัวเตี้ย"

"ภาวะเด็กตัวเตี้ย" เป็นภาวะที่เด็กมีการเจริญเติบโตช้ากว่าค่าเฉลี่ยของเด็กที่อยู่ในวัยและเพศเดียวกันอย่างน้อย 2 เท่า ของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งเด็กที่มีภาวะเตี้ยก็มักจะมีน้ำหนักตัวที่น้อยกว่าเด็กในเพศและวัยเดียวกัน อาจมีความสูงและเส้นรอบศีรษะที่แตกต่างกันด้วยค่ะ

สาเหตุของลูกโตช้า ตัวเล็ก เกิดจาก...?

สาเหตุของลูกโตช้า ตัวเล็กนั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่กรรมพันธุ์ ไปจนถึงภาวะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต หรือเรียกว่าโกรทฮอร์โมน (growth hormone) ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน โรคกระดูก โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคทางระบบทางเดินอาหาร โรคไต โรคติดเชื้อ ขาดสารอาหาร และพักผ่อนไม่เพียงพอ

ส่วนใหญ่แล้วมักมีสาเหตุมาจาก "กรรมพันธุ์" (familial short stature) คือ เด็กที่ตัวเล็กสืบเนื่องจากคุณพ่อ คุณแม่ตัวเล็ก หรือเป็นกลุ่มโตช้าที่เรียกกันว่าเตี้ยในแบบม้าตีนปลาย (constitutional delayed of growth and puberty) ซึ่งทั้งสองสาเหตุนี้ ไม่ถือเป็นความผิดปกติแต่อย่างใด

และยังมีอีกหนึ่งภาวะที่เรียกว่า ภาวะตัวเตี้ยปกติ (normal variant short stature) เป็นภาวะที่พบได้บ่อย ไม่ได้มีโรคอะไรซ่อนเร้นอยู่ และไม่ต้องทำการรักษาใดๆ คุณพ่อ คุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลไปนะคะ

วิธีการสังเกตง่ายๆ ว่าลูกเติบโตช้า หรือไม่!

  1. ลูกตัวเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับพี่น้องท้องเดียวกันเมื่ออายุเท่าๆ กัน
  2. ลูกตัวเล็กกว่าเพื่อนๆ ในวัยเดียวกัน
  3. ส่วนสูง นำ้หนักอยู่ต่ำกว่าเส้นล่างสุดของกราฟการเจริญเติบโต ตามเพศและอายุของเด็ก
  4. มีอัตราการเจริญเติบโตลดลงโดยเปรียบเทียบในกราฟการเจริญเติบโตหรือไม่เติบโตเลย

กราฟการเจริญเติบโตชาย-หญิง
กราฟการเจริญเติบโตชาย-หญิง

เมื่อไหร่ที่คุณพ่อ คุณแม่สังเกตว่าลูกมีความสูงน้อยผิดปกติแตกต่างจากเพื่อนในวัยเดียวกันจนเกินไป หรือพบว่าในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมาลูกไม่สูงขึ้นเลย ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติเพื่อวางแผนการรักษาค่ะ

เมื่อพบแพทย์ จะต้องตรวจอะไรบ้าง?

  • ดูประวัติของเด็กและครอบครัว เช่น ประวัติการตั้งครรภ์ การคลอด น้ำหนักและความยาวแรกเกิด ประวัติการเจ็บป่วย อาหารที่ได้รับ ความสูงและการเข้าสู่วัยหนุ่มสาวของบิดามารดาและพี่น้อง
  • การตรวจร่างกาย ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความยาวของส่วนแขน ขา และเส้นรอบศีรษะ และตรวจหาความผิดปกติอื่นๆที่พบร่วมกัน
  • ประเมินดูอัตราการเจริญเติบโตเปรียบเทียบกับกราฟการเจริญเติบโต
  • การเอ็กซเรย์ฝ่ามือและข้อมือ เพื่อประเมินดูการเจริญเติบโตของกระดูก
  • การตรวจอื่นๆ ทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือดวัดระดับของฮอร์โมนต่าง

การเลือกกินอาหารที่เหมาะสมมีความสำคัญต่อเจริญเติบโต และยังช่วยให้เด็กๆ มีสุขภาพดี โดย

อัตราการเพิ่มน้ำหนัก
อัตราการเพิ่มน้ำหนัก

  1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ คือ ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์และนม ไขมัน ผักและผลไม้
  2. ควรรับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้เป็นประจำเพื่อให้ได้ใยอาหาร
  3. รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงเป็นประจำเช่น ตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง ผักใบเขียว
  4. ดื่มนมวันละ 2-3 แก้วเพื่อให้ได้แคลเซียมเพียงพอ
  5. หลีกเลี่ยงอาหารที่มันมากเกินไป
  6. หลีกเลี่ยงน้ำอัดลมและของขบเคี้ยวเช่น ขนมหวาน ขนมกรุบกรอบ
  7. ไม่ควรกินอาหารรสหวานจัดและอาหารประเภทน้ำตาลมา

อัตราการเพิ่มความสูง
อัตราการเพิ่มความสูง

หากคุณพ่อ คุณแม่พบความผิดปกติได้เร็ว ก็สามารถพามาพบและปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแก้ไข ดูแล และรักษาได้ทันท่วงทีนะคะ

0
Please login to comment. Login
Related Articles
แค่คิดก็แสบปัญหาหัวนมแตกของแม่มือใหม่
26 January 2021 11:22
หัวนมแตก ปัญหาที่คุณแม่มือใหม่ต้องเผชิญในช่วงประมาณสัปดาห์แรกหลังจากเริ่มให้นมบุตร สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากทารกยังอยู่ในท่าทางที่ไม่สะดวกสบายขณะดูดนม ซึ่
กลัวการคลอดทำไงดี?
15 January 2021 04:26
ว่าที่คุณแม่ใครกลัวการคลอดยกมือขึ้น! เป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องวิตกกังวลในช่วงเวลาใกล้คลอด อาจเป็นเพราะการรับรู้จนอยู่ในความทรงจำที่ผ่านมาทั้งจากละคร จ
พูดช้า กับ เดินช้า อันไหนแม่กังวลกว่ากัน?
8 February 2021 02:11
เวลาเห็นลูกคนอื่นเดินได้ตั้งแต่ขวบนิดๆ เห็นลูกคนอื่นเริ่มพูดเป็นคำได้แล้ว ตายตายทำไมลูกเราช้าจัง คุณแม่กังวลกับอะไรมากกว่า
รวมเรื่องต้องรู้ของคุณแม่ผ่าคลอด
19 January 2021 11:28
ผ่าคลอด หรือที่เรียกว่า Cesarean Section (C-Section) คือการคลอดด้วยการผ่าตัดแทนการคลอดแบบธรรมชาติทางช่องคลอด ซึ่งแพทย์จะใช้วิธีเปิดปากแผลบริเวณระหว่าง
ทารกกระหม่อมบุ๋มอันตรายไหม?
29 January 2021 04:06
กระหม่อมคือรอยต่อของกระดูกบริเวณศีรษะทารกที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่จึงเห็นเป็นรอยบุ๋ม มีการเต้นตุบๆ ตามการเต้นของหัวใจอีกต่างหาก สำหรับทารกตรงนี้เป็นจุดที่
Street
Articles
Club
Noti
Me