Mombiestreet
Mombiestreet
@mombiestreet

พัฒนาการของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์

พัฒนาการของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์

 

พัฒนาการของคุณแม่ที่กําลังตั้งครรภ์

 

ไตรมาสที่ 1 ( 1-3 เดือน หรือ 1-13 สัปดาห์ )

- ในไตรมาสแรกอย่างน้อยประมาณเดือนครึ่งคุณแม่จะยังไม่รู้ตัวว่าตัวเองตั้งครรภ์อยู่

- คุณแม่จะมีความรู้สึกและมีอาการที่สังเกตง่ายๆ ได้แก่ หน้าอกมีการเปลี่ยนแปลง มีอาการคัดเต้านม ปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ อ่อนเพลียง่าย รู้สึกแพ้ท้อง และอาจจะมีอาการวิตกกังวลเกี่ยวกับการแท้งบุตร

- ลูกจะเริ่มมีอวัยวะเพศในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ 11 สัปดาห์ แต่จะยังไม่สามารถระบุเพศได้อย่างชัดเจนว่าเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง

- ในช่วง 12 สัปดาห์ ตัวอ่อนจะเติบโตอย่างสมบรูณ์ อวัยวะทั้งหมดและระบบประสาทจะมีพัฒนาการแล้ว คนอื่นจะยังไม่สังเกตเห็นว่าหน้าท้องของคุณแม่กําลังขยาย แนะนําให้เตรียมพร้อมซื้อเสื้อตัวใหญ่กว่าเดิมที่เคยใส่เอาไว้

 

ไตรมาสที่ 2 ( 4-6 เดือน หรือ 14-27 สัปดาห์ )

- เมื่อเข้าสู่ช่วง ไตรมาสที่ 2 พออายุครรภ์มากอวัยวะก็จะมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น เช่น มดลูกที่เคยอยู่ในอุ้งเชิงกรานพออายุครรภ์มากมดลูกจะขยับตําแหน่งสูงขึ้น จนพ้นเหนือกระดูกเชิงกราน และจะเติบโตเหนือสะดือขึ้นไปเรื่อยๆ เพื่อให้หน้าท้องขยายใหญ่

- ในสัปดาห์แรกคุณแม่จะเริ่มมีอาการคัดจมูก ควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีความชื้นต่า

- 2-3 เดือนหลังจากเดือนแรก ขนาดและรูปร่างของคุณแม่จะเปลี่ยนไป ซึ่งลักษณะรูปร่างของท้องไม่สามารถบอกเพศของเด็กได้ชัดเจน สามารถทําได้โดยการตรวจอัลตร้าซาวด์

- คุณแม่จะรู้สึกถึงอาการเจ็บท้องหลอกเพราะเกิดจากการบีบหดตัวของมดลูก แต่ก็ไม่เจ็บปวดมากนักในช่วงสัปดาห์ที่ 26

- ในสัปดาห์ที่ 27 ที่ เด็กในท้องจะเคลื่อนไหวบ่อยมาก มีทั้งการเตะ ทั้งการเหยียด

แขนและขา ลูกของคุณยังสามารถเริ่มฝึกหายใจได้แล้วด้วย

- เรื่องอารมณ์ของคุณแม่ในช่วงไตรมาสที่ 2 นี้ คุณแม่จะมีอาการหลงๆ ลืมๆ ชั่วคราว แนะนําให้มีการจดบันทึกในสิ่งต่างๆ เอาไว้ตั้งแต่ช่วง 2-3 สัปดาห์แรก

 

ไตรมาสที่ 3 ( 7-9 เดือน หรือ 28-42 สัปดาห์ )

- ในช่วงไตรมาสที่ 3 คุณแม่จะรู้สึกว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่สําคัญเพราะเป็น

ช่วงนับถอยหลังเข้าสู่การคลอด

- คุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายโดยตอนใกล้คลอดจะมีท้องใหญ่มาก มีอาการบวม หายใจลําบาก ลุกนั่งลําบากและมีอาการเหนื่อยง่าย

- คุณแม่ควรใส่ใจเรื่องภาวะแทรกซ้อนในระหว่างนี้ด้วย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรืออาการเป็นตะคริว จําเป็นต้องให้แพทย์ตรวจครรภ์ก่อนคลอดมากขึ้น

- เรื่องของอารมณ์จะมีอาการเหนื่อยง่าย เบื่อหน่ายกับการตั้งครรภ์ เป็นเรื่องปกติที่คุณแม่จะรู้สึกกังวลมากกว่าเดิม ข้อแนะนํา คุณแม่ไม่ควรกดดันตัวเองเกินไป ควรพักผ่อนเยอะๆ รับประทานอาหารเมื่อหิว อย่าทานอาหารมื้อใหญ่มาก ดื่มน้ำให้เพียงพอ

- ส่วนเรื่องของลูกน้อยในครรภ์ ร่างกายจะมีการพัฒนาเติบโตเต็มที่ และถ้าคลอดหลังจาก 30 สัปดาห์ ลูกน้อยก็จะมีโอกาสรอดชีวิตสูงถึง 95% หรือมากกว่านั้น

\

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
ลูกติดจอนาน เสี่ยงกระจกตาอักเสบ จริงไหม ?
ลูกติดจอนาน เสี่ยงกระจกตาอักเสบ จริงไหม ?
16 สิงหาคม 2023 03:23
จริง ใช่ว่าการใช้จอคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ต่อเวลานานอาจเสี่ยงต่อปัญหาต่างๆ เช่น กระจกตาอักเสบ อาการเหนื่อยตา และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพตาได้ โดยเฉพาะเมื่อใช้จอในระยะเวลานานๆ
สอนลูกให้รู้ เรื่องความฉลาดทางอารมณ์ ได้อย่างไร และต้องเริ่มที่ตรงไหน
สอนลูกให้รู้ เรื่องความฉลาดทางอารมณ์ ได้อย่างไร และต้องเริ่มที่ตรงไหน
23 พฤศจิกายน 2023 08:33
คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจกำลังสนใจเรื่องการฝึกความฉลาดทางอารมณ์  หรือ EQ ไม่ใช่เรื่องไม่ยาก เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่ใส่ใจต่อพัฒนาการของลูกในแต่ละช่วงวัย และ ทำความเข้าใจกับธรรมชาติของลูกในแต่ละช่วงวัย
โรคภูมิแพ้: ในเด็กที่พบบ่อย ป้องกันได้
โรคภูมิแพ้: ในเด็กที่พบบ่อย ป้องกันได้
06 ธันวาคม 2022 04:19
วันนี้เราจะมาพูดถึง "โรคภูมิแพ้ในเด็ก" เป็นโรคที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน และมีความอันตรายอยู่ไม่น้อย เนื่องจากเป็นโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันในร่างกายของเด็ก
ผิวเด็ก: เคล็ดลับการดูแลผิวของลูกน้อย
ผิวเด็ก: เคล็ดลับการดูแลผิวของลูกน้อย
03 ธันวาคม 2022 12:36
ทราบหรือไม่คะว่า ผิวของทารกละเอียดอ่อนและบอบบางกว่าผิวของผู้ใหญ่มาก จำเป็นที่จะต้องดูแลเอาใจใส่และบำรุงผิวพรรณของลูกน้อยให้มีสุขภาพที่ดี มาอ่านเคล็ดลั