mombieclub
mombieclub
@mombieclub

ท่าให้นม : 6 ท่าสำหรับแม่มือใหม่

ท่าให้นม
ท่าให้นม

ท่าให้นม มี่กี่แบบ

การให้ นมแม่ ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่มีคุณค่ามาก ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ของแม่ และลูกน้อยนั้นแน่นแฟ้นกันมากยื่งขึ้น ซึ่งท่าของการอุ้มให้นมลูกนั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่มือใหม่ไม่ควรมองข้าม มาดูกันว่า 6 ท่าอุ้มให้นมลูกที่จะช่วยทำให้ลูกน้อยสบาย และคุณแม่ผ่อนคลายมากยิ่งขึ้นนั้น มีท่าทางในการอุ้มแบบใดบ้าง

1. ท่าลูกนอนขวางบนตัก (Cradle hold)

ท่าลูกนอนขวางบนตัก (Cradle hold)
ท่าลูกนอนขวางบนตัก (Cradle hold)

คือ การที่คุณแม่อุ้มลูกวางไว้บนตักหรืออาจรองด้วยหมอนบนตักมือ และแขนประคองตัวลูกไว้ ให้ตัวของลูกนอนตะแคงเข้าหาตัวคุณแม่ และศีรษะลูกควรอยู่สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย ท้ายทอยลูกวางอยู่บริเวณแขนของแม่ มืออีกข้างของคุณแม่ให้ประคองเต้านมไว้ เพื่อป้องกันการปิดกั้นจมูกของลูก ท่าให้นม ลักษณะนี้เหมาะสำหรับคุณแม่ที่คลอดเองแบบธรรมชาติ เนื่องจากคุณแม่ผ่าคลอดอาจไปกดแผลบริเวณหน้าท้องได้

2. ท่านอนขวางบนตักประยุกต์ (Cross-cradle hold)

ท่านอนขวางบนตักประยุกต์ (Cross-cradle hold)
ท่านอนขวางบนตักประยุกต์ (Cross-cradle hold)

ท่าอุ้มนี้จะคล้ายกับท่านอนขวางตักเพียงแต่เปลี่ยนมือ โดยใช้มือข้างเดียวกับเต้านมที่ลูกดูดประคองเต้านม มืออีกข้างรองรับต้นคอ และท้ายทอยของลูกแทน ท่านี้เหมาะสำหรับหัดลูกเข้าเต้านม เพราะจะช่วยในการควบคุมการเคลื่อนไหวของศีรษะลูกได้ดีกว่า ท่าอุ้มให้ลูกกินนมนี้เหมาะที่สุดสำหรับทารกแรกเกิด เด็กตัวเล็ก และทารกที่มีปัญหาในการดูดนม และลูกไม่เข้าเต้า

3. ท่าอุ้มลูกฟุตบอล (Football hold)

ท่าอุ้มลูกฟุตบอล (Football hold)
ท่าอุ้มลูกฟุตบอล (Football hold)

ท่าอุ้มนี้ ตัวลูกจะอยู่ในท่ากึ่งตะแคงกึ่งนอนหงาย โดยที่ขาชี้ไปทางด้านหลังของแม่ และมือของแม่จับประคองที่ต้นคอ และท้ายทอยของลูก กอดลูกให้กระชับกับสีข้างของคุณแม่ และลูกดูดนมจากเต้านมข้างเดียวกับมือที่จับลูกไว้ มืออีกข้างประคองเต้านมไว้ ท่านี้จะใช้ได้ดีสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด เพื่อหลีกเลี่ยงการกดทับแผลผ่าคลอด ลูกที่ตัวเล็กหรือ มีปัญหาในการเข้าเต้านม คุณแม่หน้าอกใหญ่หรือหัวนมแบน คุณแม่ลูกแฝดที่ต้องดูดนมพร้อมกัน

4. ท่าเอนตัว (Laid-back hold)

ท่าเอนตัว (Laid-back hold)
ท่าเอนตัว (Laid-back hold)

ท่าเอนตัวให้นมเป็นตำแหน่งการให้นมที่สะดวกสบายที่สุด โดยที่คุณแม่นอนเอนตัว วางลูกไว้บนหน้าอกใช้มือของคุณแม่โอบลูกน้อยไว้เพื่อป้องกันการเคลื่อนไหว และล้มลงของลูก ควรให้ศีรษะของลูกเอียงเล็กน้อย เพื่อป้องกันการปิดกั้นทางเดินหายใจ ท่านี้เป็นท่าที่ป้องกันการสำลักนมได้ดี รู้สึกสบายทั้งคุณแม่ และลูกน้อย

5. ท่านอน (Side lying position)

ท่านอน (Side lying position)
ท่านอน (Side lying position)

ท่านอนให้นมเป็นท่าที่แม่และลูกนอนตะแคงเข้าหากัน แม่นอนศีรษะสูงเล็กน้อย หลังและสะโพกตรงให้ปากลูกอยู่ตรงกับหัวนมของแม่ มือที่อยู่ด้านล่างประคองตัวลูกให้ชิดลำตัวแม่ มือที่อยู่ด้านบนประคองเต้านมในช่วงแรกที่เริ่มเอาหัวนมเข้าปากลูก เมื่อลูกดูดได้ดีสามารถขยับออกได้ ท่านี้เหมาะสำหรับแม่ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ต้องการพักผ่อน หรือการนั่งลำบากนั่งไม่สบาย หรือสำหรับให้นมลูกเวลากลางคืน

6. ท่าตั้งตรง (Upright or standing baby)

ท่าตั้งตรง (Upright or standing baby)
ท่าตั้งตรง (Upright or standing baby)

ท่าให้นมนั่งตรงคือ การอุ้มลูกน้อยตั้งตรง ขาลูกน้อยคร่อมต้นขาคุณแม่ไว้ ศรีษะและลำตัวของลูกเอนเล็กน้อย ใช้มือประคองศีรษะของลูกและเต้านมไว้ ท่าอุ้มให้นมนี้เหมาะสำหรับเด็กที่มีปัญหาปากแหว่ง หรือมีแนวโน้มที่จะหายใจไม่ออก หรือมีกรดไหลย้อนซึ่งจะช่วยทำให้ลูกน้อยดูดนมได้ง่ายขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง
ลูกท้องผูก: อาการแบบนี้เรียกว่า "ท้องผูก" หรือเปล่านะ?
ลูกท้องผูก: อาการแบบนี้เรียกว่า "ท้องผูก" หรือเปล่านะ?
01 มิถุนายน 2022 04:36
ซึ่งถ้าอาการนี้เกิดกับลูกน้อยของเราคุณพ่อคุณแม่คงจะเป็นกังวลกันไม่น้อย และยิ่งไปกว่านั้นการดูแลที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ในอนาคต เช่น ลูกถ
วิธีติดตั้งคาร์ซีท: 5 วิธีติดตั้ง คาร์ซีทให้ปลอดภัย
วิธีติดตั้งคาร์ซีท: 5 วิธีติดตั้ง คาร์ซีทให้ปลอดภัย
01 มิถุนายน 2022 04:56
คาร์ซีทสำคัญแค่ไหนกับชีวิตลูก หลายๆ ข่าวตามที่เราเคยเห็นกันมา มีการเกิดอุบัติเหตุทางถนนมากมายทั้งรุนแรงและไม่รุนแรง การคาดเข็มขัดนิรภัย อาจจะไม่พอสำหร
น้ำนมแม่ สำคัญกับเด็กทารกอย่างไร?
น้ำนมแม่ สำคัญกับเด็กทารกอย่างไร?
01 มิถุนายน 2022 10:15
น้ำนมของแม่นั้น จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับเด็กทารกแรกเกิด เนื่องจากในน้ำนมของแม่นั้นประกอบไปด้วย สารต่อต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน และ ยังมีเซลล
ดูดนิ้ว: ทำไมลูกน้อยถึงชอบกันนะ?
ดูดนิ้ว: ทำไมลูกน้อยถึงชอบกันนะ?
07 มิถุนายน 2022 03:46
คุณพ่อคุณแม่หลายๆ ท่านคงจะต้องกังวลกันบ้างใช่ไหมคะ ว่าทำไมเจ้าตัวเล็กของเราจะต้องดูดนิ้วมือตัวเองด้วย และยิ่งไปกว่านั้นในยุคนี้การที่เจ้าตัวเล็กนำนิ้ว