mombieclub
mombieclub
@mombieclub

7 วิธีการลดความขัดแย้งในครอบครัว

ความขัดแย้งในครอบครัว
ความขัดแย้งในครอบครัว

วิธีลด ความขัดแย้งในครอบครัว

ความขัดแย้งในครอบครัว หรือ ปัญหาภายในครอบครัวเป็นเรื่องที่เห็นได้บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างทางความคิด ปัญหาทางการเงินหรือแม้แต่ปัญหาสุขภาพ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งภายในครอบครัว จนถึงขั้นกระทบต่อความสัมพันธ์ได้นะคะ วันนี้เราเลยจะมาแนะนำวิธีลดการขัดแย้งในครอบครัวด้วยวิธีง่ายๆ ไม่กี่ข้อ ดังนี้

1. รับฟังกันและกัน

ถ้าอยากให้มีความผูกพันกันภายในครอบครัวก็ต้องเริ่มจากการเปิดใจรับฟังกันให้มากขึ้น เพราะการที่เป็นผู้พูด ผู้เล่าอยู่ฝ่ายเดียว มันอาจจะทำให้คนที่รับฟังเบื่อหน่ายและเริ่มไม่อยากมานั่งฟังหรือพูดคุยได้ค่ะ

2. คนในครอบครัวไม่ใช่ที่ระบายอารมณ์

เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจที่คนเรากล้าทำตัวแย่ หรือพุดจาแย่ๆ กับคนที่ตัวเองรัก เช่น พ่อกำลังโมโหกลับมาจากที่ทำงานพอเห็นหน้าลูกกลับระเบิดใส่ซะงั้น หรือแม้แต่ลูกที่คอยเหวี่ยงใส่พ่อแม่อยู่บ่อยๆ เพราคิดแค่ว่าเขาจะเข้าใจเราเพราะเขาคือครอบครัว โดยไม่ทันคิดว่าการกระทำนี้คือการทำร้ายจิตใจคนที่รัก พอมันสะสมไปเรื่อยๆ หรือนานวันเข้ามันจะยิ่งแย่ลงนะคะ

3. มีปัญหาให้รีบบอก

เวลามีปัญหาเรามักจะเก็บไว้คนเดียวเพราะเกรงใจ และเมื่อปัญหาถูกสะสม ไม่ได้รับการแก้ไข มันก็หมักหม่มจนไม่สามารถแก้ไขได้ จากความเกรงใจก็จะแปรเปลี่ยนเป็นความน้อยใจ เพราะคิดว่าคนในครอบครัวละเลย ไม่ช่วยแก้ปัญหา ทั้งที่ไม่เคยบอกว่ามีปัญหา ดังนั้นหากไม่ต้องการให้ครอบครัวเดินไปถึงทางแยก มีปัญหาให้รีบบอกกันจะดีที่สุดค่ะ

4. หาวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกัน

เพราะการมีคนช่วยคิด ช่วยแก้ปัญหา มันดีกว่านั่งคิดจนหัวระเบิดคนเดียวอยู่แล้ว ไม่ว่าปัญหาจะเล็กจะใหญ่แค่ไหน ถ้าเราหาทางออกไม่ได้เราก็ควรปรึกษากันดีกว่าค่ะ เป็นการลดการลดการทะเลาะแถมยังเพิ่มบทสนทนาภายในครอบครัวได้ด้วย

5. ใส่ใจกันให้มากขึ้น

เพราะความไม่ใส่ใจกันเป็นปัญหาใหญ่มากๆ ภายในครอบครัว ถ้ามีคนหนึ่งในบ้านไม่สบายแต่เราดันไม่ทราบเพราะไม่คอยถามไถ่ หรือไม่คอยสังเกตคนใกล้ตัวก็จะยิ่งเพิ่มระยะห่างภายในครอบครัวได้ง่ายขึ้นนะคะ

6. รู้จักควบคุมอารมณ์

เป็นเรื่องปกติที่แต่ละคนมีความคิดเป็นของตัวเองหรือมีความคิดเห็นคนละมุมมอง แต่จะเกิดเป็นปัญหาเมื่อไม่รู้จักเก็บอารมณ์เมื่อเกิดความรู้สึกโกรธ ดังนั้นหากไม่อยากให้ครอบครัวหันหน้าออกจากกัน ต้องรู้จักใช้เหตุผล หลีกเลี่ยงการโต้เถียงและไม่ใช้อารมณ์เป็นใหญ่นะคะ

7. กล่าวขอโทษก่อนและรู้จักให้อภัย

เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดความไม่เข้าใจกันภายในครอบครัว แต่สิ่งที่จะช่วยเยียวยาให้ความสัมพันธ์ในครอบครัว เกิดความเข้าใจและอบอุ่นดังเดิม คือ ความกล้าที่จะขอโทษและให้อภัยซึ่งกันและกัน หากสถานการณ์ตึงเครียดมาก มีปากเสียงรุนแรง อาจต้องรอให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอารมณ์เย็นลงก่อน แล้วจึงเอ่ยคำขอโทษ เพื่อช่วยลดการขัดแย้งภายในครอบครัวได้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง
น้ำนมแม่ สำคัญกับเด็กทารกอย่างไร?
น้ำนมแม่ สำคัญกับเด็กทารกอย่างไร?
01 มิถุนายน 2022 10:15
น้ำนมของแม่นั้น จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับเด็กทารกแรกเกิด เนื่องจากในน้ำนมของแม่นั้นประกอบไปด้วย สารต่อต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน และ ยังมีเซลล
วิธีติดตั้งคาร์ซีท: 5 วิธีติดตั้ง คาร์ซีทให้ปลอดภัย
วิธีติดตั้งคาร์ซีท: 5 วิธีติดตั้ง คาร์ซีทให้ปลอดภัย
01 มิถุนายน 2022 04:56
คาร์ซีทสำคัญแค่ไหนกับชีวิตลูก หลายๆ ข่าวตามที่เราเคยเห็นกันมา มีการเกิดอุบัติเหตุทางถนนมากมายทั้งรุนแรงและไม่รุนแรง การคาดเข็มขัดนิรภัย อาจจะไม่พอสำหร
ลูกท้องผูก: อาการแบบนี้เรียกว่า "ท้องผูก" หรือเปล่านะ?
ลูกท้องผูก: อาการแบบนี้เรียกว่า "ท้องผูก" หรือเปล่านะ?
01 มิถุนายน 2022 04:36
ซึ่งถ้าอาการนี้เกิดกับลูกน้อยของเราคุณพ่อคุณแม่คงจะเป็นกังวลกันไม่น้อย และยิ่งไปกว่านั้นการดูแลที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ในอนาคต เช่น ลูกถ