Mombiestreet
Mombiestreet
@mombiestreet

กว่าเจ้าตัวเล็กจะยอมนั่ง “คาร์ซีท”

กว่าเจ้าตัวเล็กจะยอมนั่ง “คาร์ซีท”

สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการให้ลูกรักนั่ง “คาร์ซีท”  คือ เสียงร้องไห้ลั่นรถ และ น้ำตาที่ไหลเป็นสายธาร แถมให้อีกนิด ด้วยท่าทางที่ดิ้นไปทั้งตัว แขนขาสะบัดสลับไปมาสุดแรงกำลังของตัวน้อยๆ จนพ่อแม่หลายคน ไม่สามารถทนมองดูลูกในสภาพนั้นได้ สุดท้าย ใจอ่อน นั้นเอง ยอมอุ้มลูกนั่งบนตัก 

 

คาร์ซีท หรือ เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก นับว่าเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับพ่อแม่ยุคใหม่ที่คำนึงถึงความปลอดภัยของลูก เนื่องจากคาร์ซีทจะช่วยลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บ และการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ได้เป็นอย่างดี  

 

การฝึกให้ลูกนั่งคาร์ซีทเป็นสิ่งสำคัญมาก หากแต่เด็กส่วนใหญ่มักจะต่อต้าน และร้องไห้งอแง ถ้าพ่อแม่ใจอ่อน บอกได้เลยว่าการจะจับให้ลูกนั่งคาร์ซีทในครั้งต่อไปนั้นจะยากขึ้นเรื่อยๆ 

 

ถ้าอยากฝึกให้ลูกนั่งคาร์ซีทแบบมีความสุข วันนี้ Mombie Street มีเคล็ดลับดีๆ มาฝากค่ะ 

 

1.เราควรให้ลูกนั่งคาร์ซีทตั้งแต่วันแรกที่ออกจากโรงพยาบาล พ่อแม่ควรเลือกซื้อคาร์ซีทสำหรับเด็กแรกเกิดไว้ให้พร้อม และถ้าไม่อยากเป็นกังวลกับเสียงร้องของลูกตั้งแต่ครั้งแรกที่ให้นั่งคาร์ซีท ควรเลือกช่วงเวลาที่ลูกหลับค่ะ การที่เราฝึกให้ลูกนั่งคาร์ซีทตั้งแต่ยังเล็ก ยิ่งลูกเล็กเท่าไหร่บอกเลยว่า การฝึกจะยิ่งง่ายขึ้น 

 

2.เทคนิคนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องมีเวลา และชอบเที่ยวสักหน่อย คือ หมั่นพาลูกออกเดินทางบ่อยๆ จะใกล้จะไกลก็ต้องให้ลูกนั่งคาร์ซีท เป็นการฝึกความเคยชินนั้นเองค่ะ และทำให้เขารู้สึกว่า จะได้ออกไปเที่ยว การได้นั่งคาร์ซีทคือการจะได้ไปเที่ยวเล่นสนุกๆ ได้ตื่นตาตื่นใจกับอะไรใหม่ๆ 

 

3.สิ่งล่อใจ การดึงดูดความสนใจใช้ได้กับเด็กค่ะ แต่มักจะใช้ได้ในเวลาไม่นาน เพราะเด็กจะไม่โฟกัสกับอะไรนานๆ ได้สมใจแล้วก็เบื่อค่ะ ดังนั้นคุณแม่ต้องเตรียมอุปกรณ์ของเล่นให้พร้อมหลายชิ้น นมอย่าให้ขาด และชวนลูกคุยเล่น ร้องเพลงให้ฟัง ทำให้ลูกรู้สึกเพลิดเพลินไปกับการนั่งรถ

 

4.หากลูกร้องโยเย ไม่ยอมนั่งท่าเดียว อย่าเพิ่งฝืนบังคับกดตัวเขาให้นั่งนะคะ ยิ่งเราบังคับหรือเผลอจับเนื้อตัวลูกแรงไป ลูกจะจำฝังใจว่า การนั่งคาร์ซีท เจ็บ ไม่ดี ทันทีเมื่อเห็นเจ้าเก้าอี้คาร์ซีทจะกลายเป็นศาจไปเสียอย่างนั้น ต้องร้องไห้จ้า คุณแม่ลองสังเกตก่อนว่า ที่ลูกร้องนั้นเพราะง่วงนอน หิวนม ปวดท้อง หรือไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวหรือเปล่า ปลอบเขา ให้เขาสงบ อารมณ์ดี ค่อยพานั่งคาร์ซีท 

 

5.หากเดินทางไกล ควรเลือกใช้คาร์ซีทที่ปรับเอนนอนได้ ลูกจะได้สบายตัว หากกลัวว่าลูกจะเครียดจนเกินไปที่ต้องนั่งนิ่งๆ อยู่บนคาร์ซีทนาน อาจจะจอดพัก และพาลูกออกมาเดินเล่นผ่อนคลายบ้างเป็นระยะ

 

6.ถ้าพยายามทำทุกอย่างแล้วลูกยังร้องไห้งอแง แม่ต้องใจแข็งค่ะ ห้ามใจอ่อนยอมเอาลูกออกจากคาร์ซีทมานั่งตัก เดี๋ยวสักพักลูกจะร้องหยุดเอง และค่อยๆ ปรับตัว เรียนรู้ไปเองว่าเวลาขึ้นรถต้องนั่งที่คาร์ซีท แถมจะรู้สึกดีใจเมื่อรู้ว่าจะได้ออกไปเที่ยวนอกบ้านเสียอีก

 

7. เคล็ดลับอีกอย่างคือ เลือกออกเดินทางในช่วงเวลาที่ลูกกำลังจะนอนกลางวัน และควรเตรียมของใช้สำหรับนอนให้พร้อม เช่น นม หมอน ผ้าห่ม ตุ๊กตาตัวโปรด เพื่อที่ลูกจะได้นอนหลับในรถ กว่าจะถึงที่หมายก็ได้เวลาตื่นของลูกพอดี หมดปัญหาลูกร้องงอแงระหว่างเดินทาง ลูกหลับสบาย คุณแม่หายห่วงค่ะ

 

อุปสรรค คือ เสียงร้องและน้ำตา หนทางแก้ไข คือ ความอดทน (ใจแข็ง) และความพยายามของคุณแม่ค่ะ ที่จะนำพาลูกรักไปสู่เป้าหมายได้อย่างปลอดภัย 

บทความที่เกี่ยวข้อง
ลูกติดจอนาน เสี่ยงกระจกตาอักเสบ จริงไหม ?
ลูกติดจอนาน เสี่ยงกระจกตาอักเสบ จริงไหม ?
16 สิงหาคม 2023 03:23
จริง ใช่ว่าการใช้จอคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ต่อเวลานานอาจเสี่ยงต่อปัญหาต่างๆ เช่น กระจกตาอักเสบ อาการเหนื่อยตา และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพตาได้ โดยเฉพาะเมื่อใช้จอในระยะเวลานานๆ
สอนลูกให้รู้ เรื่องความฉลาดทางอารมณ์ ได้อย่างไร และต้องเริ่มที่ตรงไหน
สอนลูกให้รู้ เรื่องความฉลาดทางอารมณ์ ได้อย่างไร และต้องเริ่มที่ตรงไหน
23 พฤศจิกายน 2023 08:33
คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจกำลังสนใจเรื่องการฝึกความฉลาดทางอารมณ์  หรือ EQ ไม่ใช่เรื่องไม่ยาก เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่ใส่ใจต่อพัฒนาการของลูกในแต่ละช่วงวัย และ ทำความเข้าใจกับธรรมชาติของลูกในแต่ละช่วงวัย
เคล็ดลับ! "เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย" รับมืออากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย
เคล็ดลับ! "เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย" รับมืออากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย
14 ตุลาคม 2022 02:55
อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยเกินไปแล้วใช่ไหมคะแม่ๆ ฤดูฝนแบบนี้อากาศจะเย็นและชื้นขึ้นเป็นเรื่องปกติ ซึ่งอากาศแบบนี้จะทำให้ลูกน้อยของเราเป็นไข้หวัดได้ง่ายกว่าปก
ไข้หวัดมะเขือเทศ: คืออะไร มีอาการอย่างไร?
ไข้หวัดมะเขือเทศ: คืออะไร มีอาการอย่างไร?
30 พฤศจิกายน 2022 05:09
ไข้หวัดมะเขือเทศ เป็นโรคที่มาจากเชื้อไวรัสคอกซากี A16 (Coxsakie A16) หรือที่หลายคนทราบกันดีว่าเป็นเชื้อไวรัสตัวเดียวกันกับที่ทำให้เกิดโรคมือ เท้า ปาก