จะรู้ได้อย่างไรว่าแพ้แลคโตส

การแพ้แลคโตส (Lactose intolerance) คือ การที่ร่างกายขาดหรือพร่อง เอนไซม์แลคเตส (Lactase) ในลำไส้เล็ก ที่จะเปลี่ยนน้ำตาลชนิดหนึ่ง ชื่อ แลคโตส ในนมและผลิตภัณฑ์จากนมให้เป็น กลูโคส และ กาแลคโตส สามารถเกิดขึ้นได้ทั้ง กับเด็กและผู้ใหญ่ หรือ เกิดจากภาวะขาดเอนไซม์ตามหลังการอักเสบติดเชื้อของลำไส้ (Secondary lactose intolerance) เนื่องจากผนังลำไส้เล็กถูกทำลาย ทำให้ผลิตเอนไซม์แลคเตสได้น้อยลงชั่วคราว เช่น หลังจากการติดเชื้อไวรัส การติดเชื้อพยาธิโปรโตซัวในลำไส้ โรคซิลิแอก (Celiac disease) ที่เป็นการอักเสบของลำไส้ที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานกลูเตน โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Crohn’s disease)
ซึ่งการแพ้แลคโตสนี้ ไม่ใช่การแพ้นมวัว (Cow’s milk allergy) ซึ่งเป็นการเกิดปฎิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อโปรตีนในนมวัว ซึ่งมักเป็นในเด็กเล็ก อาการมีได้หลายแบบ เช่น ผื่นเรื้อรัง ท้องเสีย ถ่ายเป็นมูกเลือด มีน้ำมูกเรื้อรัง หรือหอบหืด เป็นต้น
การแพ้แลคโตส สามารถเกิดขึ้นแบบปัจจุบันทันด่วนได้ ถึงแม้ว่าจะไม่เคยแพ้นม และผลิตภัณฑ์ในนมมาก่อนเลยก็ตาม โดยอาการจะเกิดขึ้น ตังแต่ ครึ่งชั่วโมง ถึง 2 ชั่วโมง หลังจากบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีแลคโดส
อาการที่อาจเกิดขึ้น ที่บ่งชี้ว่าแพ้แลโตส ได้แก่ ปวดท้อง เป็นตะคริวที่ท้อง ท้องอืด ท้องเสีย มีแก๊ซในกระเพาะ ท้องผูก ความรุนแรงของอาการเหล่านี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตาลแลคโตสที่ได้รับ และความสามารถของร่างกายที่จะย่อยน้ำตาลได้ ซึ่งแตกต่างไปในแต่ละคน บางคนอาจมีอาการเพียงท้องอืดเท่านั้น ในขณะที่บางคนมีอาการถ่ายเหลวท้องเสียเป็นน้ำ อย่างไรก็ตามผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์แลคเตสจะไม่ใช่ขาดเอนไซม์จนเป็นศูนย์ จึงสามารถย่อยแลคโตสได้ในระดับหนึ่ง โดยทั่วไปจะทนได้ประมาณ 12 กรัม ซึ่งก็คือประมาณนม 1 แก้ว (250 ml)
วิธีการทดสอบง่ายๆ ว่าแพ้แลคโตสหรือไม่ ทำได้โดยการลองบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่า แลคโตสฟรี ดูซัก 3-4 สัปดาห์ ถ้าอาการต่างๆ หายไป ก็หมายความว่าคุณแพ้แลคโตสแล้วล่ะค่ะ
การแพ้แลคโตสไม่ได้เป็นข้อจำกัดที่ทำให้ต้องหยุดดื่มนมเสียทีเดียว เพราะจะทำให้พลาดโอกาสในการได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์อื่นๆ ไป ปัจจุบันสามารถหาซื้อนมที่ปราศจากน้ำตาลแลคโตส (Lactose Free) ได้ง่ายขึ้น มีทั้งแบบพลาสเจอร์ไรซ์ และบรรจุกล่องแบบ UHT