ความมั่นใจ: ลูกขาดความมั่นใจ
เมื่อลูกน้อยเป็นเด็กที่ไม่มีความมั่นใจ ไม่มีความนับถือในตัวเอง พ่อแม่หลายคนคงไม่อยากเห็นลูกเป็นแบบนี้แน่นอน เมื่อคุณเห็นว่าลูกขาดความมั่นใจ คุณต้องหาวิธีดึงความมั่นใจในตัวของลูกออกมาให้ได้ โดยมีสาเหตุและวิธีการเลี้ยงดูต่างๆ ตามนี้
สาเหตุที่อาจทำให้ลูกขาด ความมั่นใจ
1. ไม่คิดแทนลูก ไม่ทำแทนลูก
การที่ไม่ปล่อยให้ลูกได้คิดและแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ส่งผลให้ลูกเป็นเด็กขาดความมั่นใจ ขี้กังวล และมักไม่ค่อยเต็มใจรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2. ย้ำแล้ว ย้ำอีกว่าจะเกิดอะไรขึ้น
การที่พ่อและแม่กลัวสิ่งต่างๆ จนอยากจะปกป้องลูกน้อยจากโลกที่แสนอันตรายใบนี้แล้วพูดย้ำแล้วย้ำอีกว่าอาจจะเกิดอะไรต่อมิอะไรขึ้น ส่งผลให้ลูกเป็นเด็กขี้กลัว
3. บังคับ หรือเข้มงวดมากเกินไป
การคาดหวังให้ลูกแสดงพฤติกรรมที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการ จะยิ่งเป็นการกดดันลูกและทำให้ลูกเสียความมั่นใจ ส่งผลให้ลูกเป็นเด็กขี้อายจนถึงขั้นเสียความมั่นใจ
4. ลูกกลัวความล้มเหลว หรือกลัวทำให้พ่อแม่ผิดหวัง
บ่อยครั้งที่ลูกขาดความเชื่อมั่นและไม่กล้าเผชิญหน้ากับสิ่งใหม่ๆ เพราะกลัวความล้มเหลว หรือกลัวทำให้ครอบครัวผิดหวัง
5. ไม่มีเวลาให้ลูก
เมื่อพ่อกับคุณแม่ไม่มีเวลาให้ ไม่มีคนคอยสอนการบ้าน คอยตอบคำถามที่ไม่เข้าใจ ลูกจะกลายเป็นเด็กขาดความมั่นใจ เพราะไม่รู้ว่าสิ่งที่คิด สิ่งที่เข้าใจถูกต้องหรือเปล่า
6. วิพากษ์ วิจารณ์การแสดงออกของลูก
การบอกกับลูกว่าทำกิจกรรมนี้ได้ไม่ดี ลูกจะกลัวความล้มเหลว ไม่กล้าทำสิ่งใหม่ส่งผลให้ลูกรู้สึกหมดคุณค่าในตัวเองและหมดแรงจูงใจ
7. เปรียบเทียบลูกกับเด็กคนอื่น
การเปรียบเทียบลูก ทำให้ลูกขาดความเชื่อมั่นในตัวเองในทันที เพราะเขาอาจรู้สึกว่าตัวเองด้อยค่า มองไม่เห็นคุณค่าในตนเอง
เลี้ยงลูกอย่างไรให้มี "ความมั่นใจในตัวเอง"
ไม่ควรรีบเข้าไปช่วยทุกครั้งที่ลูกพบปัญหา ควรให้เวลาลูกได้ลองช่วยเหลือตัวเองก่อนอย่าทำให้ลูกรู้สึกถึงความกังวลใจที่คุณมีต่อเขา เช่นเมื่อลูกถือแก้วน้ำแทนที่จะพูดว่า “อย่าให้หกนะ” ลองเปลี่ยนเป็น “จับแน่นๆนะลูก”สนับสนุนให้ลูกทำในสิ่งที่ชอบเพื่อลดความกดดันที่มีต่อลูกควรชื่นชมกับความพยายามของลูก ไม่ว่าลูกจะแพ้หรือชนะ สอนให้ลูกรู้ว่าระหว่างการเดินทางมีค่ามากกว่าจุดหมายปลายทางคุณพ่อคุณแม่ควรมีเวลาให้ลูกบ้าง ดูลูกทำการบ้าน คอยตอบคำตอบในสิ่งที่ลูกไม่รู้ และกระตุ้นความคิด ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ รวมถึงเปิดใจคุยกับลูกเปลี่ยนจากคำวิพากษ์วิจารณ์ มาเป็นคำชมเชยในความกล้าหาญเมื่อลูกลองทำสิ่งใหม่กล่าวคำชื่นชมเมื่อลูกทำในสิ่งที่ถูกต้องหรือทำเรื่องดีๆ ทั้งตอนอยู่ที่บ้าน หรือต่อหน้าคนอื่น ทำให้ลูกเห็นว่าคุณพ่อคุณแม่รักลูกมากแบบไม่มีเงื่อนไข ไม่ว่าลูกจะอยู่ในช่วงเวลาที่ดีหรือไม่ดี