mombieclub
mombieclub
@mombieclub

อุ้มทารกแรกเกิดท่าไหน? ให้ถูกวิธีและปลอดภัยกับลูกน้อย

อุ้มทารกแรกเกิดท่าไหน ให้ถูกวิธีและปลอดภัยกับลูกน้อย
อุ้มทารกแรกเกิดท่าไหน ให้ถูกวิธีและปลอดภัยกับลูกน้อย

อุ้มลูกน้อยด้วยท่าที่ถูกวิธีเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญมากๆ เพราะร่างกายของลูกน้อยในวัยนี้ยังมีการพัฒนาที่ไม่เต็มที่ การอุ้มลูกให้ถูกวิธีจะส่งผลดีต่อพัฒนาการด้านร่างกายและจิตใจของลูกน้อย ทำให้รู้สึกปลอดภัย สามารถสัมผัสความรัก ความอบอุ่น จากคุณพ่อคุณแม่ได้นะคะ

ท่าอุ้มสำหรับเด็ก "วัยแรกเกิดถึง 3 เดือน"

1. ท่าอุ้มไกวเปล

เป็นท่าทั่วไปในการอุ้มลูกน้อย มีความเป็นธรรมชาติ และง่ายที่สุด ทั้งยังเป็นท่าที่สามารถสบตาลูกน้อยได้ จึงสามารถสื่อถึงความรัก ความผูกพันได้ดี เหมาะสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ และเป็นท่าที่ใช้ให้นมลูกได้อีกด้วยนะคะ

วิธีอุ้มลูกน้อยท่าไกวเปล

  • อุ้มลูกน้อยให้ขนานไปกับลำตัวในระดับอก
  • ใช้มือข้างหนึ่งประคองคอ และศีรษะของลูกไว้ กางนิ้วออกให้มากที่สุดเพื่อช่วยในการประคอง
  • ใช้มืออีกข้างรองใต้ก้น และสะโพกของลูกน้อย
  • งอแขน และข้อศอกเล็กน้อย แล้วค่อยๆ เลื่อนมือให้ศีรษะของลูกหนุนอยู่บนข้อศอกแบบสบายๆ
  • กระชับลุกน้อยเข้าหาตัว สามารถโยกตัวลูกน้อยไปมาได้เล็กน้อย ซึ่งจะช่วยให้นอนหลับได้ไวยิ่งขึ้น

2. ท่าอุ้มพาดบ่า

เป็นท่าที่มีความเป็นธรรมชาติสูง ทำให้ลูกน้อยรู้สึกอบอุ่น และปลอดภัย สามารถเหยียดตัวได้อย่างสบายๆ สามารถใช้ท่าอุ้มท่านี้หลังให้นมเพื่อให้ทารกเรอได้ค่ะ

วิธีอุ้มลูกน้อยท่าพาดบ่า

  • อุ้มลูกน้อยให้ขนานไปกับลำตัว ยกตัวขึ้นให้สูงระดับไหล่
  • ใช้มือข้างหนึ่งประคองศีรษะ และลำคอ ส่วนอีกข้างหนึ่งใช้ประคองก้น และช่วงหลังของลูก
  • จัดให้ศีรษะของลูกหนุนอยู่ที่ช่วงไหล่ของคุณพ่อคุณแม่ ระวังไม่ให้ศีรษะของลูกพับข้ามไหล่ไปด้านหลัง
  • ขาของลูกน้อยควรปล่อยให้ห้อยต่ำกว่าแขนของคนอุ้ม
  • ให้มือประคองศีรษะ และคอของลูกไว้ หากมีการโน้มตัวไปข้างหน้าต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ

3. ท่าอุ้มนอนคว่ำ

เป็นท่าที่ใช้อุ้มลูกน้อยเพื่อกล่อมให้นอนหลับ และช่วยให้เรอได้ ท่านี้จะเหมาะสำหรับคุณพ่อมากกว่าคุณแม่เนื่องจากต้องใช้กำลังแขนค่อนข้างมาก แต่หากคุณพ่อมีแขนเล็ก หรือมีแต่กระดูกก็ควรหลีกเลี่ยงท่านี้เพราะอาจทำให้ลูกไม่สบายตัวได้ค่ะ

วิธีอุ้มลูกน้อยท่านอนคว่ำ

  • จัดท่าให้ลูกนอนคว่ำโดยให้ช่วงหน้าท้องของลูกอยู่บนท่อนแขน หันหัวลูกไปทางข้อศอก
  • ให้ศีรษะของลูกหนุนอยู่บนท่อนแขน และหันออกด้านข้างเพื่อให้สามารถหายใจได้สะดวก
  • ปล่อยให้แขน และขาของลูกห้อยลง คร่อมอยู่บนแขนที่ใช้ประคอง
  • ใช้มืออีกข้างวางไว้บนหลังลูกน้อย หรือลูบเบาๆ เพื่อทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย
  • คอยประคองช่วงศีรษะ และช่วงคอให้ดีตลอดเวลา

4. ท่าอุ้มวางตัก

เป็นท่าที่เหมาะสำหรับการพูดคุย หยอกล้อกับลูก เพราะทำให้ลูกได้เห็นหน้าคุณพ่อคุณแม่ และทำให้ลูกน้อยเรียนรู้ ไว้ใจคุณพ่อคุณแม่ว่าเป็นผู้ที่ทำให้พวกเขารู้สึกปลอดภัยที่สุด

วิธีอุ้มลูกน้อยท่าวางตัก

  • นั่งในท่าที่สบาย วางตัวลูกบนหน้าขาที่ชิดกัน
  • ศีรษะลูกอยู่ในตำแหน่งใกล้หัวเข่าของคุณพ่อคุณแม่
  • ใช้มือทั้งสองข้างประคองไว้ใต้ศีรษะของลูกน้อย
  • ใช้แขนขนาบลำตัวของลูกเอาไว้ทั้งสองข้างเพื่อให้ลูกรู้สึกมั่นคง และปลอดภัย
  • ใช้ความระมัดระวังเมื่อลูกดิ้นแรงหรือหัวเราะ

5. ท่าอุ้มหันหน้าเข้าหากัน

เป็นการอุ้มที่ทำให้สามารถสื่อสารกับลูกน้อยได้ดีที่สุด เนื่องจากสามารถสบตากันได้โดยตรง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความผูกพันระหว่างคุณพ่อคุณแม่ และลูกน้อยได้เป็นอย่างดี

วิธีอุ้มลูกน้อยท่าหันหน้าเข้าหากัน

  • อุ้มลูกหันหน้าเข้าหาตัวคุณพ่อคุณแม่ โดยให้ลำตัวลูกขนานไปกับลำตัวคุณพ่อคุณแม่ในระดับอก
  • ประคองศีรษะ และคอของลูกด้วยมือข้างหนึ่ง
  • ใช้มืออีกข้างรองใต้ก้น และสะโพกของลูก
  • กระชับลำตัวช่วงล่างของลูกแนบตัวคุณพ่อคุณแม่ในระดับต่ำกว่าอก
  • สามารถพูดคุย หยอกล้อ และเล่นกับลูกได้

ท่าอุ้มสำหรับเด็กที่ "อายุ 3-4 เดือนขึ้นไป"

1. ท่าอุ้มเข้าเอว

เป็นท่ายอดฮิตที่แม่ๆ ทุกคนชอบอุ้ม ก่อนจะอุ้มลูกในท่านี้คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตร่างกายของลูกดีๆ โดยเฉลี่ยแล้วเด็กจะคอแข็งประมาณอายุ 3-4 เดือนขึ้นไป

วิธีอุ้มเข้าเอว

วิธีอุ้มคือให้ขาทั้งสองข้างของลูกขนาบกับสะโพกของคุณพ่อคุณแม่ ส่วนมืออีกข้างจับหลังของลูกไว้ เพื่อไม่ให้หงายหลัง

2. ท่านั่งเก้าอี้

เป็นท่าที่เหมาะสำหรับการอุ้มลูกไปเดินเล่น เพราะจะช่วยให้เขามองเห็นสิ่งต่างๆ ได้กว้างมากขึ้น ตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นได้ดี แต่ต้องรอให้ลูกคอแข็งอีกเช่นเดียวกัน

วิธีอุ้มให้คุณพ่อคุณแม่ใช้มือหนึ่งประคองก้น ส่วนอีกมือโอบรัดตัวลูกไว้ แต่จะบอกไว้ก่อนว่าท่าอุ้มลูกแบบนี้อาจจะทำให้คุณพ่อคุณแม่เมื่อยได้ แนะนำว่าให้เปลี่ยนท่าอุ้มบ่อยๆ

เคล็ดลับๆ ที่ไม่ลับ ในการอุ้มลูกน้อยให้ปลอดภัย

  1. คุยเล่นและสื่อสารกับลูกก่อนอุ้มเพื่อให้ลูกคุ้นเคยและรู้สึกปลอดภัย
  2. หากยังรู้สึกไม่มั่นใจ ให้เริ่มอุ้มด้วยการนั่ง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ง่ายที่สุด
  3. ประคองศีรษะและคอของลูกไว้ตลอดเวลา
  4. ร่างกายของทารกแรกเกิดจนถึง 3 เดือนนั้นยังมีความบอบบางอยู่มาก ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
  5. ไม่อุ้มทารกด้วยการจับท้องตรงๆ เพราะอาจทำให้กระดูกสันหลังของลูกบาดเจ็บได้
  6. ไม่เขย่าตัวลูกแรงๆ หรือเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว เพราะอาจทำให้ทารกได้รับอันตรายได้
บทความที่เกี่ยวข้อง
7 คำถาม ที่ควรถามลูกหลังกลับจากโรงเรียน
7 คำถาม ที่ควรถามลูกหลังกลับจากโรงเรียน
24 สิงหาคม 2022 02:54
การถามคำถามนั้นสำคัญต่อการพัฒนาการของลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นด้านสมอง หรือด้านต่างๆ รวมถึงการเรื่องค้นหาตัวเอง การปรับตัว เมื่อลูกน้อยเจอในสิ่งที่ชอบด้วยเ
โรคหน้าฝนกับลูกน้อยยย
โรคหน้าฝนกับลูกน้อยยย
14 กันยายน 2022 04:38
ช่วงนี้ฝนตก อากาศก็ร้อนๆ หนาวๆ ลูกน้อยของเราต้องรับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย คุณพ่อคุณแม่คงอดห่วงไม่ได้กับโรคที่จะเกิดขึ้นตามมาในฤดูฝน เรามาดู
7 วิธีการลดความขัดแย้งในครอบครัว
7 วิธีการลดความขัดแย้งในครอบครัว
26 สิงหาคม 2022 07:39
ความขัดแย้งในครอบครัว หรือ ปัญหาภายในครอบครัวเป็นเรื่องที่เห็นได้บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างทางความคิด ปัญหาทางการเงินหรือแม้แต่ปัญหาสุขภาพ สิ่งเหล่
RSV: ภัยร้าย และอาจอันตรายถึงชีวิต
RSV: ภัยร้าย และอาจอันตรายถึงชีวิต
07 กันยายน 2022 10:41
ช่วงนี้ฝนตก อากาศก็ร้อนๆ หนาวๆ กันใช่ไหมคะแม่ๆ ทำให้ร่างกายลูกน้อยของเราต้องรับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย อาจทำให้เกิดอาการป่วยได้ง่ายโดยเฉพาะย