อารมณ์:สอนลูกน้อย กับการจัดการอารมณ์ช่วงโควิด
การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้เด็กๆ ในทุกช่วงวัยต่างกำลังตกอยู่ในสภาวะทางอารมณ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นความวิตกกังวล ความเครียด และความไม่สบายใจ ถึงแม้เด็กแต่ละคนจะมีวิธีจัดการอารมณ์ของตนเองที่แตกต่างกัน แต่ในสถานการณ์แบบนี้ ทำให้เด็กๆ มีกิจกรรมและปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ลดลง ดังนั้น พวกเขาต้องได้รับความรักและความเอาใจใส่ในช่วงเวลานี้มากกว่าที่เคย
สร้างความมั่นใจให้กับลูกอย่างไม่ตื่นตระหนก
คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยเกี่ยวกับโรคโควิด-19 กับลูกๆ ให้เป็นเรื่องธรรมดาอย่างสม่ำเสมอ และให้พวกเขารู้ถึงบทบาทสำคัญในการดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากเชื้อโรค รวมถึงบอกให้ลูกน้อยว่า หากรู้สึกมีอาการไม่สบายคล้ายกับเป็นไข้หวัด ก็ไม่ต้องตกใจกลัว คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกน้อยหมั่นสำรวจอาการของตัวเองและแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบ
เด็กบางคนอาจจะกำลังกลัวและกังวลที่จะติดโรคโควิด-19 ผู้ปกครองสามารถช่วยสร้างความมั่นใจให้พวกเขาได้ด้วยการชี้แจงว่าอาการป่วยของโรคโควิด-19 นั้นโดนทั่วไปแล้วไม่ได้รุนแรง โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น หลายๆ อาการก็สามารถรักษาให้หายได้ นอกจากนี้ ผู้ปกครองยังสามารถสอนให้เด็กๆ รู้ถึงถึงวิธีป้องกันให้ตัวเองและคนอื่นปลอดภัยได้ เช่น การล้างมือเป็นประจำ ไม่สัมผัสใบหน้า และเว้นระยะห่างระหว่างกัน อีกสิ่งหนึ่งที่เราสามารถสอนพวกเขาได้ก็คือให้เด็กๆ ค่ะ
ทำกิจวัตรประจำวันอย่างเคร่งครัด
คุณพ่อคุณแม่ควรทำตารางกิจวัตรประจำวันขึ้นมา โดยมีทั้งเวลาพักผ่อนที่จะให้เด็กได้สามารถติดต่อเพื่อนๆ ได้ทางโทรศัพท์ มีช่วงเวลาที่ให้เด็กๆ อยู่ห่างจากอุปกรณ์เทคโนโลยี รวมถึงเวลาที่ให้เด็กๆ ได้ช่วยงานบ้าน เราต้องคิดถึงสิ่งที่เรากำลังให้คุณค่าและเราต้องสร้างแผนหรือตารางกิจกรรมเพื่อให้สะท้อนสิ่งเหล่านั้นออกมา มันจะทำให้เด็กๆ รู้สึกสบายใจและเห็นภาพในแต่ละวันของตัวเอง ทำให้พวกเขาได้รู้ว่าจะต้องเรียนตอนไหนและจะได้เล่นตอนไหน
ช่วยลูกให้เข้าใจกับอารมณ์ที่เกิดขึ้น
การปิดโรงเรียนทำให้กิจกรรมสันทนาการในโรงเรียนต่างๆ ต้องถูกยกเลิกไปด้วย อย่างการเล่นดนตรี การแข่งขันกีฬา หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่เด็กหลายคนรู้สึกผิดหวังที่ไม่ได้เข้าร่วม คำแนะนำก็คือปล่อยให้เด็กๆ รู้สึกเสียใจได้ แต่ผู้ปกครองต้องปลอบโยน และคอยให้การสนับสนุน และสร้างสิ่งรอบตัวให้เหมือนเป็นปกติด้วยค่ะ
สอบถามข้อมูลที่เด็กๆ ได้รับรู้มา
ช่วงของการระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดการส่งต่อข้อมูลเท็จและข่าวลือจำนวนมาก คุณพ่อคุณแม่ควรลองถามลูกๆ ว่าได้รู้ข้อมูลอะไรมาบ้างและอะไรที่คิดว่าเป็นความจริง การให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับลูกนั้นอาจจะไม่เพียงพอเพราะเด็กๆ อาจจะรับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องมาอีกทางหนึ่ง ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่ลองถามพวกเขาและแก้ไขข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง เด็กๆ อาจจะเอาเอาข้อมูลที่ถูกและไม่ถูกมารวมกัน ดังนั้นลองถามลูกว่าได้รับข้อมูลอะไรมาบ้างและลองปรับแก้ความรู้กันในตอนนั้นๆ
รับฟังปัญหาเมื่อลูกพร้อมจะเล่า
เมื่อต้องจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกที่ยากลำบาก ให้เข้าไปคุยกับลูกโดยรักษาความพอดี ลองหากิจกรรมเล่นเกมกันในครอบครัวทุกๆ 2-3 วัน หรือทำอาหารร่วมกัน ใช้การทำอาหารเพื่อกระชับความสัมพันธ์กับลูกๆ สำหรับเรื่องการติดหน้าจอเครื่องมือดิจิทัล คุณพ่อคุณแม่ควรอธิบายกับลูกว่า คุณเข้าใจว่าพวกเขามีเวลาเล่นมือถือมากขึ้น แต่ก็ไม่ใช่เรื่องดีถ้าจะต้องติดหน้าจอหรือโซเชียลมีเดียอยู่ตลอดเวลา อาจลองถามลูกที่อยู่ในวัยรุ่นถึงการแบ่งเวลาใช้งานอย่างพอดี ให้เขาลองคิดแนวทางการใช้มือถือและนำมาพูดคุยปรับวิธีร่วมกันค่ะ
เช็คพฤติกรรมของตัวเอง
เมื่อคุณพ่อคุณแม่ต่างก็มีความวิตกกังวล ลูกก็จะรับเอาอารมณ์ความรู้สึกนั้นมา อยากจะให้คุณพ่อคุณแม่พยายามจัดการกับความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นและอย่าส่งต่อความกลัวไปให้กับลูก เด็กๆ จะพึ่งพาพ่อแม่ในแง่ของการสร้างความรู้สึกที่มั่นคงและความปลอดภัย เปรียบเสมือนว่าลูกคือผู้โดยสารที่มีคุณพ่อคุณแม่เป็นคนขับ และแม้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะรู้สึกกังวลหรือกลัว ก็ต้องพยายามเก็บมันไว้ และอย่าให้ผู้โดยสารรู้สึกไม่ปลอดภัยตามไปด้วยนะคะ