Mombiestreet
Mombiestreet
@mombiestreet

พูดช้า กับ เดินช้า อันไหนแม่กังวลกว่ากัน?

พูดช้า กับ เดินช้า อันไหนแม่กังวลกว่ากัน?
พูดช้า กับ เดินช้า อันไหนแม่กังวลกว่ากัน?

เวลาเห็นลูกคนอื่นเดินได้ตั้งแต่ขวบนิดๆ เห็นลูกคนอื่นเริ่มพูดเป็นคำได้แล้ว ตายตายทำไมลูกเราช้าจัง คุณแม่กังวลกับอะไรมากกว่า

อยากให้คุณแม่ใจเย็นก่อนค่ะ พัฒนาการของเด็ก การเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อม แต่ละคนไม่เหมือนกันนะคะ เหล่านี้คือปัจจัยทำให้พูดกับเดินได้เร็วต่างกัน ต้องค่อยๆ พิจารณาเป็นส่วนๆ แล้วจะเจอคำตอบว่าทำไมลูกเราช้า ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็เป็นเรื่องธรรมชาติที่จะต่างกัน แต่พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและพูดช้าขนาดไหนถึงจะเรียกว่าผิดปกติ อันนี้ต่างหากที่คุณแม่ต้องทำความเข้าใจ

พูดช้าแค่ไหนถึงจะเรียกว่ามีความผิดปกติ

โดยทั่วไป เราถือว่าเมื่ออายุ 2 ขวบแล้ว ยังพูดคำที่มีความหมายไม่ได้เลย หรือ พูดได้แค่คำศัพท์คำเดียว หรือสื่อสารกับคนอื่น ๆ ไม่ได้ ก็ถือว่าผิดปกติแน่นอน แต่ก็ไม่ควรรอจน 2 ขวบ แล้วค่อยมาปรึกษาแพทย์ เพราะฉะนั้น ถ้าคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นถึงพัฒนาการทางภาษาไม่เป็นไปตามปกติหรือไม่เหมือนเด็ก ๆ คนอื่น ๆ ก็ควรจะไปขอคำปรึกษากับแพทย์ได้ ในการที่พ่อแม่จะดูว่าเด็กปกติหรือไม่ นอกจากสังเกตการพูดสื่อสารให้เราเข้าใจได้หรือไม่ เราสามารถดูจากการพูดหรือสั่ง ว่าเด็กเข้าใจหรือไม่ สามารถทำตามคำสั่งได้หรือไม่ ซึ่ง เด็กอายุ 1 ขวบนั้น สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ เข้าใจได้ว่าพ่อแม่พูดว่าอะไร เด็กมีความสนใจหรือไม่ เรียกชื่อแล้ว เด็กหันมารับทราบ หรือตอบรับ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราสามารถนำมาประกอบกันดูว่า เด็กผิดปกติหรือไม่โดยการพัฒนาทางภาษา นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ทาง คือ การพูด และการรับฟัง ซึ่งจะต้องพัฒนาการควบคู่กันไป

เวลาเห็นลูกคนอื่นเดินได้ตั้งแต่ขวบนิดๆ เห็นลูกคนอื่นเริ่มพูดเป็นคำได้แล้ว ตายตายทำไมลูกเราช้าจัง คุณแม่กังวลกับอะไรมากกว่า

อยากให้คุณแม่ใจเย็นก่อนค่ะ พัฒนาการของเด็ก การเลี้ยงดู สิ่งแวดล้อม แต่ละคนไม่เหมือนกันนะคะ เหล่านี้คือปัจจัยทำให้พูดกับเดินได้เร็วต่างกัน ต้องค่อยๆ พิจารณาเป็นส่วนๆ แล้วจะเจอคำตอบว่าทำไมลูกเราช้า ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็เป็นเรื่องธรรมชาติที่จะต่างกัน แต่พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและพูดช้าขนาดไหนถึงจะเรียกว่าผิดปกติ อันนี้ต่างหากที่คุณแม่ต้องทำความเข้าใจ

พูดช้าแค่ไหนถึงจะเรียกว่ามีความผิดปกติ

โดยทั่วไป เราถือว่าเมื่ออายุ 2 ขวบแล้ว ยังพูดคำที่มีความหมายไม่ได้เลย หรือ พูดได้แค่คำศัพท์คำเดียว หรือสื่อสารกับคนอื่น ๆ ไม่ได้ ก็ถือว่าผิดปกติแน่นอน แต่ก็ไม่ควรรอจน 2 ขวบ แล้วค่อยมาปรึกษาแพทย์ เพราะฉะนั้น ถ้าคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นถึงพัฒนาการทางภาษาไม่เป็นไปตามปกติหรือไม่เหมือนเด็ก ๆ คนอื่น ๆ ก็ควรจะไปขอคำปรึกษากับแพทย์ได้ ในการที่พ่อแม่จะดูว่าเด็กปกติหรือไม่ นอกจากสังเกตการพูดสื่อสารให้เราเข้าใจได้หรือไม่ เราสามารถดูจากการพูดหรือสั่ง ว่าเด็กเข้าใจหรือไม่ สามารถทำตามคำสั่งได้หรือไม่ ซึ่ง เด็กอายุ 1 ขวบนั้น สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ เข้าใจได้ว่าพ่อแม่พูดว่าอะไร เด็กมีความสนใจหรือไม่ เรียกชื่อแล้ว เด็กหันมารับทราบ หรือตอบรับ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราสามารถนำมาประกอบกันดูว่า เด็กผิดปกติหรือไม่โดยการพัฒนาทางภาษา นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ทาง คือ การพูด และการรับฟัง ซึ่งจะต้องพัฒนาการควบคู่กันไป

พูดช้าแค่ไหนถึงจะเรียกว่ามีความผิดปกติ
พูดช้าแค่ไหนถึงจะเรียกว่ามีความผิดปกติ

เด็กพูดช้า เกิดจากสาเหตุใด

สาเหตุใหญ่ที่พบบ่อย ๆ อย่างที่เรียนมาข้างต้นว่า การพูดจะต้องเป็นการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างคนฟังกับคนพูด เพราะฉะนั้น ถ้าการได้ยินไม่ดี มีการได้ยินบกพร่อง เด็กก็จะพูดช้า เพราะฉะนั้น สาเหตุอันดับแรก คือ

  1. เด็กมีความผิดปกติของหูหรือไม่ เช่น การได้ยินไม่ได้ หูดับ หูหนวก หรือไม่
  2. มีการพัฒนาล่าช้าไปทุก ๆ ด้าน หรือมีภาวะปัญญาอ่อน เด็กกลุ่มนี้พัฒนาการด้านอื่น ๆ จะช้า แต่ก็จะไปพร้อม ๆ กัน
  3. ภาวะออทิสติก เด็กกลุ่มนี้จะมีความบกพร่องในเรื่องของการใช้ภาษาการสื่อสารกับผู้อื่น ทางการพูด หรือการสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด เช่น การใช้ท่าทาง การสบตา ในด้านสังคมก็จะเสียไปด้วย
  4. สาเหตุอีกสาเหตุหนึ่ง ส่วนใหญ่มักพบไม่บ่อยนั้น จะพบว่ามีประวัติในครอบครัวมีญาติที่เคยพูดช้า กลุ่มนี้เราเรียกว่า มีความบกพร่อง เฉพาะด้าน เฉพาะการพูดอย่างเดียว กลุ่มนี้การพยากรณ์โดยค่อนข้างดี พอเริ่มพูดได้ก็จะพูดเป็นปกติ
  5. เด็กที่พูดช้า แต่ขาดการกระตุ้นที่เหมาะสม เช่น พ่อไม่มีมีเวลา ก็มักจะเปิดโทรทัศน์ไว้ให้เด็กดู แต่ไม่มีติดต่อสื่อสารโต้ตอบ ซึ่งจะเห็นว่าเป็นการสื่อสารเพียงอย่างเดียว ทำให้การพัฒนาทางภาษาของเด็กหยุดงะงัก ซึ่งทางบ้านเราจะได้ประวัติว่ามักจะให้พี่เลี้ยงเลี้ยง ซึ่งอาจจะไม่มีการเล่น หรือพูดคุยกันเลย

เมื่อใดที่ควรพาเด็กมาพบแพทย์

เมื่อใดที่คุณพ่อ คุณแม่เริ่มสังเกตหรือสงสัยในความผิดปกติ ก็ควรจะพาไปพบกุมารแพทย์ หรือ ถ้าอายุประมาณ 2 ขวบ แล้วยังพูดไม่ได้ หรือพูดเป็นคำ ๆ เดียวก็ควรพาลูกไปพบแพทย์ได้เลย

วิธีการตรวจเบื้องต้น และแก้ไขควรทำอย่างไร

นอกจากการพาเด็กไปพบกุมารแพทย์เพื่อประเมิน เรื่องพัฒนาทั่ว ๆ ไปของเด็ก ถ้ามีการสงสัย เราก็จะมีการตรวจการได้ยินเป็นอันดับแรก เพื่อให้แน่ใจว่า การได้ยินของเด็กชัดหรือไม่ หรือเป็นจากสาเหตุอื่น ๆ จากนั้นก็หาสาเหตุต่อไป ถ้ามาจากสาเหตุของการกระตุ้น การรักษาที่แน่นอนที่สุด ก็คือ พ่อแม่จะต้องมีเวลาให้เด็กมากขึ้นในการเล่น พูดคุย โดยส่วนใหญ่เด็กก็จะตอบสนองได้ดี และจะกลับมาพูดเป็นปกติได้ในเวลาที่รวดเร็ว และถ้ายังคงมีปัญหาอยู่เราก็จะมีบริการเรื่องการฝึกพูด โดยมีนักฝึกพูดหรือเรียกทางการว่า วจีบำบัด ซึ่งจะช่วยเหลือในการพูดช้า การออกเสียง เด็กพูดไม่ชัด การออกเสียง เด็กพูดไม่ชัดโดยทั่วไปก็จะต้องรักษาการฝึกพูด ในเบื้องต้นแล้วถ้าคุณพ่อคุณแม่รู้สึกว่าลูกมีความผิดปกติ คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยโดยการพูดกับเด็กให้มากขึ้น แต่ไม่ได้หมายถึง การบังคับให้เด็กพูด แต่ควรพูดกับเด็ก โดยทั่วไปเด็กควรจะเห็นผู้พูดในระดับสายตา พูดช้าๆ ชัด ๆ ก็จะเป็นการสอนลูกไปในตัว

เด็กพูดช้า เกิดจากสาเหตุใด

สาเหตุใหญ่ที่พบบ่อย ๆ อย่างที่เรียนมาข้างต้นว่า การพูดจะต้องเป็นการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างคนฟังกับคนพูด เพราะฉะนั้น ถ้าการได้ยินไม่ดี มีการได้ยินบกพร่อง เด็กก็จะพูดช้า เพราะฉะนั้น สาเหตุอันดับแรก คือ

1. เด็กมีความผิดปกติของหูหรือไม่ เช่น การได้ยินไม่ได้ หูดับ หูหนวก หรือไม่

2. มีการพัฒนาล่าช้าไปทุก ๆ ด้าน หรือมีภาวะปัญญาอ่อน เด็กกลุ่มนี้พัฒนาการด้านอื่น ๆ จะช้า แต่ก็จะไปพร้อม ๆ กัน

3. ภาวะออทิสติก เด็กกลุ่มนี้จะมีความบกพร่องในเรื่องของการใช้ภาษาการสื่อสารกับผู้อื่น ทางการพูด หรือการสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด เช่น การใช้ท่าทาง การสบตา ในด้านสังคมก็จะเสียไปด้วย

4. สาเหตุอีกสาเหตุหนึ่ง ส่วนใหญ่มักพบไม่บ่อยนั้น จะพบว่ามีประวัติในครอบครัวมีญาติที่เคยพูดช้า กลุ่มนี้เราเรียกว่า มีความบกพร่อง เฉพาะด้าน เฉพาะการพูดอย่างเดียว กลุ่มนี้การพยากรณ์โดยค่อนข้างดี พอเริ่มพูดได้ก็จะพูดเป็นปกติ

5. เด็กที่พูดช้า แต่ขาดการกระตุ้นที่เหมาะสม เช่น พ่อไม่มีมีเวลา ก็มักจะเปิดโทรทัศน์ไว้ให้เด็กดู แต่ไม่มีติดต่อสื่อสารโต้ตอบ ซึ่งจะเห็นว่าเป็นการสื่อสารเพียงอย่างเดียว ทำให้การพัฒนาทางภาษาของเด็กหยุดงะงัก ซึ่งทางบ้านเราจะได้ประวัติว่ามักจะให้พี่เลี้ยงเลี้ยง ซึ่งอาจจะไม่มีการเล่น หรือพูดคุยกันเลย

เมื่อใดที่ควรพาเด็กมาพบแพทย์

เมื่อใดที่คุณพ่อ คุณแม่เริ่มสังเกตหรือสงสัยในความผิดปกติ ก็ควรจะพาไปพบกุมารแพทย์ หรือ ถ้าอายุประมาณ 2 ขวบ แล้วยังพูดไม่ได้ หรือพูดเป็นคำ ๆ เดียวก็ควรพาลูกไปพบแพทย์ได้เลย

วิธีการตรวจเบื้องต้น และแก้ไขควรทำอย่างไร

นอกจากการพาเด็กไปพบกุมารแพทย์เพื่อประเมิน เรื่องพัฒนาทั่ว ๆ ไปของเด็ก ถ้ามีการสงสัย เราก็จะมีการตรวจการได้ยินเป็นอันดับแรก เพื่อให้แน่ใจว่า การได้ยินของเด็กชัดหรือไม่ หรือเป็นจากสาเหตุอื่น ๆ จากนั้นก็หาสาเหตุต่อไป ถ้ามาจากสาเหตุของการกระตุ้น การรักษาที่แน่นอนที่สุด ก็คือ พ่อแม่จะต้องมีเวลาให้เด็กมากขึ้นในการเล่น พูดคุย โดยส่วนใหญ่เด็กก็จะตอบสนองได้ดี และจะกลับมาพูดเป็นปกติได้ในเวลาที่รวดเร็ว และถ้ายังคงมีปัญหาอยู่เราก็จะมีบริการเรื่องการฝึกพูด โดยมีนักฝึกพูดหรือเรียกทางการว่า วจีบำบัด ซึ่งจะช่วยเหลือในการพูดช้า การออกเสียง เด็กพูดไม่ชัด การออกเสียง เด็กพูดไม่ชัดโดยทั่วไปก็จะต้องรักษาการฝึกพูด ในเบื้องต้นแล้วถ้าคุณพ่อคุณแม่รู้สึกว่าลูกมีความผิดปกติ คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยโดยการพูดกับเด็กให้มากขึ้น แต่ไม่ได้หมายถึง การบังคับให้เด็กพูด แต่ควรพูดกับเด็ก โดยทั่วไปเด็กควรจะเห็นผู้พูดในระดับสายตา พูดช้าๆ ชัด ๆ ก็จะเป็นการสอนลูกไปในตัว

พูดช้า กับ เดินช้า อันไหนแม่กังวลกว่ากัน?
พูดช้า กับ เดินช้า อันไหนแม่กังวลกว่ากัน?

ลูกเดินช้า เมื่อไหร่ต้องกังวล?

ธรรมชาติพัฒนาการของเด็ก ในช่วงอายุ 9 ถึง 15 เดือน เด็กจะเหนี่ยวตัวเองขึ้นยืน และเริ่มตั้งไข่ ก่อนที่จะก้าวเดินออกไปข้างหน้าด้วยตัวเอง พอช่วงอายุ 14 ถึง 15 เดือน เด็กจะเดินได้เองโดยใช้เวลาขวบปีแรกฝึกฝนกล้ามเนื้อและระบบการทรงตัวมาก่อน

สิ่งแวดล้อมรอบตัวลูกก็มีผลต่อพัฒนาการ

พื้นบ้านบริเวณที่ลูกหัดเดิน ควรปูด้วยแผ่นรองคลานเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก กรณีที่ล้มลง

การแต่งกายของลูก แนะนำให้ใส่เสื้อผ้าสบายๆ เปิดโล่งบริเวณฝ่าเท้า ไม่แน่นำให้ใส่ชุดที่คลุมเท้าหรือใส่รองเท้า เพราะเท้าเปล่าจะกระตุ้นให้ลูกทรงตัวและเคลื่อนไหวร่างกายดีกว่า

ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ควรเลือกผ้าอ้อมสำเร็จรูป แผ่นบาง ที่ช่วยซึมซับได้ดี ไม่ควรหนาตุงจนขัดขวางการเคลื่อนไหวของลูก

พ่อแม่ จะฝึกลูกเดินอย่างไรดี?

เปิดโอกาสให้ลูกได้พัฒนากล้ามเนื้อที่สนันสนุนการเดิน และระบบการทรงตัวในช่วงขวบปีแรก คือการปล่อยให้เกาะคอกกั้น ขอบแปล ผนัง เพื่อพยุงตัวลุกยืนด้วยตัวเอง

บริหารร่างกายลูกในท่าที่ช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา เมื่อลูกนอนหงายก็จับขาขึ้นมาขยับวิ่ง และจับแขนขยับไปมา

หากลูกติดขัด พ่อแม่อย่ารีบร้อนเข้าไปอุ้มทันที แต่ควรแสดงให้ลูกเห็นว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร เช่น ลูกเหนี่ยวตัวขึ้นยืนได้แล้ว แต่ติดขัดในช่วงที่จะนั่งลง ส่งเสียงเรียกแม่ คุณแม่ควรจับข้อเข่าของลูกให้งอลงเล็กน้อย เพื่อไม่ให้ลูกก้นจ้ำเบ้า ลูกก็จะย่อลงได้ และให้ลูกลองทำเองในครั้งต่อไป

กระตุ้นให้ลูกยืนตั้งไข่ให้นานมากขึ้น หากลูกปฏิเสธ ให้ดึงความสนใจมายังของเล่นตรงหน้า หรือใช้วิธีร้องเพลงเพื่อให้ลูกจดจ่อกับสีหน้าและรอยยิ้มของพ่อแม่แทนก็ได้

เรามักจะเห็นเด็กเดินได้เองในช่วงอายุ 1 ปี แต่หากบ้านไหนที่ลูกยังไม่เดิน ก็ไม่ต้องกังวลใจ เพราะยังอยู่ในช่วงพัฒนาการปกติ

อย่างไรก็ตาม หากลูกอายุ 15 เดือนขึ้นไปแล้ว และยังไม่ปล่อยมือเดินเอง แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อประเมินพัฒนาการ

ลูกเดินช้า เมื่อไหร่ต้องกังวล?

ธรรมชาติพัฒนาการของเด็ก ในช่วงอายุ 9 ถึง 15 เดือน เด็กจะเหนี่ยวตัวเองขึ้นยืน และเริ่มตั้งไข่ ก่อนที่จะก้าวเดินออกไปข้างหน้าด้วยตัวเอง พอช่วงอายุ 14 ถึง 15 เดือน เด็กจะเดินได้เองโดยใช้เวลาขวบปีแรกฝึกฝนกล้ามเนื้อและระบบการทรงตัวมาก่อน

สิ่งแวดล้อมรอบตัวลูกก็มีผลต่อพัฒนาการ

พื้นบ้านบริเวณที่ลูกหัดเดิน ควรปูด้วยแผ่นรองคลานเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก กรณีที่ล้มลง

การแต่งกายของลูก แนะนำให้ใส่เสื้อผ้าสบายๆ เปิดโล่งบริเวณฝ่าเท้า ไม่แน่นำให้ใส่ชุดที่คลุมเท้าหรือใส่รองเท้า เพราะเท้าเปล่าจะกระตุ้นให้ลูกทรงตัวและเคลื่อนไหวร่างกายดีกว่า

ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ควรเลือกผ้าอ้อมสำเร็จรูป แผ่นบาง ที่ช่วยซึมซับได้ดี ไม่ควรหนาตุงจนขัดขวางการเคลื่อนไหวของลูก

พ่อแม่ จะฝึกลูกเดินอย่างไรดี?

เปิดโอกาสให้ลูกได้พัฒนากล้ามเนื้อที่สนันสนุนการเดิน และระบบการทรงตัวในช่วงขวบปีแรก คือการปล่อยให้เกาะคอกกั้น ขอบแปล ผนัง เพื่อพยุงตัวลุกยืนด้วยตัวเอง

บริหารร่างกายลูกในท่าที่ช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา เมื่อลูกนอนหงายก็จับขาขึ้นมาขยับวิ่ง และจับแขนขยับไปมา

หากลูกติดขัด พ่อแม่อย่ารีบร้อนเข้าไปอุ้มทันที แต่ควรแสดงให้ลูกเห็นว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร เช่น ลูกเหนี่ยวตัวขึ้นยืนได้แล้ว แต่ติดขัดในช่วงที่จะนั่งลง ส่งเสียงเรียกแม่ คุณแม่ควรจับข้อเข่าของลูกให้งอลงเล็กน้อย เพื่อไม่ให้ลูกก้นจ้ำเบ้า ลูกก็จะย่อลงได้ และให้ลูกลองทำเองในครั้งต่อไป

กระตุ้นให้ลูกยืนตั้งไข่ให้นานมากขึ้น หากลูกปฏิเสธ ให้ดึงความสนใจมายังของเล่นตรงหน้า หรือใช้วิธีร้องเพลงเพื่อให้ลูกจดจ่อกับสีหน้าและรอยยิ้มของพ่อแม่แทนก็ได้

เรามักจะเห็นเด็กเดินได้เองในช่วงอายุ 1 ปี แต่หากบ้านไหนที่ลูกยังไม่เดิน ก็ไม่ต้องกังวลใจ เพราะยังอยู่ในช่วงพัฒนาการปกติ

อย่างไรก็ตาม หากลูกอายุ 15 เดือนขึ้นไปแล้ว และยังไม่ปล่อยมือเดินเอง แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อประเมินพัฒนาการ

บทความที่เกี่ยวข้อง
สอนลูกให้รู้ เรื่องความฉลาดทางอารมณ์ ได้อย่างไร และต้องเริ่มที่ตรงไหน
สอนลูกให้รู้ เรื่องความฉลาดทางอารมณ์ ได้อย่างไร และต้องเริ่มที่ตรงไหน
23 พฤศจิกายน 2023 08:33
คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจกำลังสนใจเรื่องการฝึกความฉลาดทางอารมณ์  หรือ EQ ไม่ใช่เรื่องไม่ยาก เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่ใส่ใจต่อพัฒนาการของลูกในแต่ละช่วงวัย และ ทำความเข้าใจกับธรรมชาติของลูกในแต่ละช่วงวัย
ลูกติดจอนาน เสี่ยงกระจกตาอักเสบ จริงไหม ?
ลูกติดจอนาน เสี่ยงกระจกตาอักเสบ จริงไหม ?
16 สิงหาคม 2023 03:23
จริง ใช่ว่าการใช้จอคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ต่อเวลานานอาจเสี่ยงต่อปัญหาต่างๆ เช่น กระจกตาอักเสบ อาการเหนื่อยตา และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพตาได้ โดยเฉพาะเมื่อใช้จอในระยะเวลานานๆ
ปัญหาสายตา: ลูกน้อยมีปัญหาทางสายตาไหม?
ปัญหาสายตา: ลูกน้อยมีปัญหาทางสายตาไหม?
09 กรกฎาคม 2022 09:47
ดวงตา เป็นอวัยวะที่แสนละเอียดอ่อน โดยเฉพาะสำหรับเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่ หรือคุณผู้ปกครองจึงต้องหมั่นสังเกตอย่างใกล้ชิด และต้องหมั่นตรวจคัดกรองโรคตามระยะเวล
พาลูกเที่ยว: ไปนอกบ้านดีต่อพัฒนาการลูกอย่างไร
พาลูกเที่ยว: ไปนอกบ้านดีต่อพัฒนาการลูกอย่างไร
12 กรกฎาคม 2022 02:53
เริ่มเข้าใกล้วันหยุดยาวแล้ว คุณพ่อคุณแม่คนไหนที่กำลังคิดว่าจะพาลูก หลาน ออกไปเที่ยว ได้โอกาศที่ดีเลยค่ะ ถึงแม้วันหยุดยาวบ้างครอบครัวคุณผู้ปกครองอาจจะไ