mombieclub
mombieclub
@mombieclub

ผื่นกุหลาบ: โรคผิวหนังที่ควรระวังในหน้าฝน

ผื่นกุหลาบ
ผื่นกุหลาบ

“ผื่นกุหลาบ” เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก และยังเป็นหนึ่งใน โรคหน้าฝน แต่อย่าเพิ่งเป็นกังวลไปนะคะ โรคผื่นกุหลาบไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่คิด เพราะสามารถหายเองได้ค่ะ ใครเป็นคุณพ่อ คุณแม่มือใหม่ควรทำความรู้จักและเตรียมรับมือไปกับโรคนี้กันนะคะ

ผื่นกุหลาบ คืออะไร?

ผื่นกุหลาบ (Pityriasis Rosea) หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อว่า ส่าไข้ เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่มักพบได้บ่อยในเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี และเด็กเล็กเกือบทุกคนจะต้องเคยเป็นโรคนี้ค่ะ

สาเหตุของการเกิด "ผื่นกุหลาบ"

  • เกิดจากการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนเฮอร์ปีส์ชนิดที่ 6 และชนิดที่ 7 (Human Herpesvirus Type 6,7) ที่อยู่ในน้ำลาย และเสมหะ แพร่กระจายโดยการไอ จาม รวมถึงสัมผัสทางตรงและทางอ้อม เช่น เล่นของเล่นที่มีเชื้อไวรัสติดอยู่ แล้วเอามือมาขยี้ตา จับจมูก หรือเอามือเข้าปากก็สามารถติดเชื้อได้
  • เกิดจากการทำความสะอาดของเล่นเด็กไม่สะอาด เพราะเด็กเล็กมักจะชอบกัดสิ่งของ ทำให้มีเชื้อโรค และไวรัสอาจติดมาได้ หากไม่ทำความสะอาดหลังจากที่ลูกเล่นเสร็จ อาจทำให้มีเชื้อโรคสะสมอยู่ และก่อให้เกิดเป็นผื่นกุหลาบได้ค่ะ

อาการของ ผื่นกุหลาบ

  • ไข้สูงเฉียบพลัน ระยะก่อนผื่นขึ้นจะพบไข้สูงประมาณ 39.5-40.5 องศาเซลเซียส
  • มีผื่นขึ้นกระจายตามแขน ขา ใบหน้า และลำตัว มีขนาด 1-3 มิลลิเมตร
  • ผื่นกุหลาบจะมีลักษณะเป็นวงรี มีสีชมพูอมแดง สีชมพู หรือสีออกส้ม คล้ายกับดอกกุหลาบ ตรงกลางมีลักษณะย่น
  • ผื่นกุหลาบจะอยู่ไม่กี่ชั่วโมง หรือนาน 2-3 วัน แล้วจะหายไป
  • อาจพบจุดแดงเล็กๆ ที่เพดานอ่อนและลิ้นไก่
  • อาจมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต บริเวณหลังหู ท้ายทอย หนังตาบวมเล็กน้อย เยื่อบุตาแดง
  • ช่วงที่ไข้ลดลงแล้วอาจพบผื่นราบสีแดงขนาดประมาณ 2-5 มิลลิเมตร บริเวณลำตัวและแขน โดยผื่นบางจุดอาจมีลักษณะนูนเล็กน้อย หรืออาจมีวงสีแดงจางๆ อยู่รอบผื่น

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดของผื่นกุหลาบ

  • เมื่อเป็นไข้ อาจทำให้เกิดอาการชัก ประมาณ 2-3 นาที ซึ่งเป็นภาวะแซกซ้อนที่พบได้ประมาณ 6-15% ของผู้ป่วย โดยเฉพาะในเด็กอายุ 12-15 เดือน
  • สำหรับเด็กที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ อาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ ตับอักเสบ ไขกระดูกไม่ทำงาน
  • อาจมีอาการสมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ตับอักเสบ หรือภาวะเกร็ดเลือดต่ำแทรกซ้อน แต่พบได้น้อยมาก

สิ่งที่ต้องระวังในโรคผื่นกุหลาบที่พบกับเด็กเล็ก คือ เด็กจะมีอาการปกติดีทุกอย่าง แต่จะมีไข้สูงเฉียบพลัน อาจทำให้พ่อแม่ไม่ทันระวังจนทำให้เกิดไข้ขึ้นสูง และตามมาด้วยอาการที่รุนแรงขึ้นนั่นเองค่ะ

ซึ่งโรคผื่นกุหลาบนี้ยังไม่มียารักษาเฉพาะตัวและวัคซีนป้องกัน เนื่องจากสามารถจางหายไปได้เอง ภายในเวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์

วิธีดูแลรักษาอาการโรค ผื่นกุหลาบ

  1. เมื่อเด็กมีไข้ ให้หมั่นเช็ดตัวบ่อยๆ หรือหากจำเป็นให้ทานยาลดไข้ (แต่ห้ามให้ลูกกินยาแอสไพรินเด็ดขาด) ไม่ให้มีไข้สูง เพื่อป้องกันอาการชัก และควรสวมเสื้อผ้าสบายตัว เพื่อระบายความร้อนในร่างกาย
  2. ดื่มน้ำมากๆ จิบทีละน้อย แต่จิบให้บ่อยขึ้น โดยอาจเป็นน้ำ นม หรือน้ำหวานก็ได้ ช่วยลดความร้อนในร่างกาย
  3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้เกิดการซ่อมแซมและฟื้นตัวอย่างเต็มที่
  4. หากลูกมีอาการระคายเคืองผิวที่บริเวณผื่น พยายามอย่าให้ลูกเกา ควรทาแป้งเพื่อป้องกันอาการคันมากกว่าค่ะ
  5. พาอุ้มเดินเล่น ตบหลังเบาๆ เพื่อปลอบประโลมลูกไม่ให้งอแง
  6. หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นให้ลูก เพราะอาจไปกระตุ้นให้ผื่นขึ้นมากกว่าเดิม
  7. โรคผื่นกุหลาบไม่ต้องให้ยาต้านไวรัส เพราะสามารถหายเองได้
  8. หากมีไข้สูงก่อนที่ผื่นกุหลาบจะขึ้น จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เพื่อหาสาเหตุของอาการ
  9. หากเด็กมีอาการชัก ควรรีบพาไปพบแพทย์ เผื่อกรณีบางรายอาจต้องมีการเจาะเลือด เพื่อหาสาเหตุของอาการชักว่ามาจากโรคอื่นหรือไม่
บทความที่เกี่ยวข้อง
ลูกร้องกลั้นจนหน้าเขียว สาเหตุเกิดมาจากอะไร?
ลูกร้องกลั้นจนหน้าเขียว สาเหตุเกิดมาจากอะไร?
23 ธันวาคม 2022 08:13
ภาวะกลั้นหายใจในเด็ก หรือ Breath holding spells พบได้ 2-5% ในเด็กเล็ก ตั้งแต่ช่วงอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี และพบได้บ่อยในเด็กอายุ 1 ถึง 3 ปี เพราะเด็กมักมี
เคล็ดลับสอนลูกน้อยสร้างเพื่อนในแบบง่ายๆ (เชิงจิตวิทยา)
เคล็ดลับสอนลูกน้อยสร้างเพื่อนในแบบง่ายๆ (เชิงจิตวิทยา)
28 ธันวาคม 2022 04:43
การเข้าหาคนอื่นนั้นถือเป็นเรื่องง่ายสำหรับเด็กบางคน แต่ก็มีบางกลุ่มที่ต้องใช้เวลาในการปรับตัวเมื่อเจอกับสถานการณ์ใหม่ๆ หรือบุคคลใหม่ๆ ซึ่งสำหรับเด็กใน
น้ำนมแม่ไม่มี!! หรือเธอแค่ยังไม่มา…??
น้ำนมแม่ไม่มี!! หรือเธอแค่ยังไม่มา…??
28 ธันวาคม 2022 10:09
“น้ำนมฉันจะมีเพียงพอสำหรับลูกของฉันไหม??” เป็นคำถามที่คุณพยาบาลได้ยินบ่อยที่สุดจากคุณแม่ๆ หลายท่าน วันนี้เราทำความรู้จักจุดกำเนิดของน้ำนมแม่ และปริมาณที่พอเพียงสำหรับลูกรักในระยะสัปดาห์แรกหลังคลอดกันค
สอนลูกรับมือกับการสูญเสียคนสำคัญ และความเศร้าโศก
สอนลูกรับมือกับการสูญเสียคนสำคัญ และความเศร้าโศก
27 ธันวาคม 2022 05:08
การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไม่ว่าจะเป็นสมาชิกในครอบครัว เพื่อนสนิท หรือคนรัก ล้วนเป็นสิ่งที่ยากจะเผชิญซึ่งอาจทำให้รู้สึกเจ็บปวด และเศร้าโศกเป็นอย่างม