mombieclub
mombieclub
@mombieclub

ลูกตัวเหลือง: ทำไมลูกน้อยของเราถึง ตัวเหลือง?

ลูกตัวเหลือง
ลูกตัวเหลือง

ผ่านเวลาอันยาวนานจนมาถึงวันที่น่ายินดีที่สุดในชีวิตของคุณพ่อ คุณแม่ ก็คือ วันที่เจ้าตัวน้อยได้ลืมตาออกมาดูโลก เป็นวินาทีที่คุณพ่อ คุณแม่นั้นมีความสุขที่สุด และคงอยากจะพาเจ้าตัวน้อยกลับไปชื่นชมบ้านเต็มที แต่แล้วแพทย์ได้แจ้งว่าลูกน้อยจะต้องอยู่โรงพยาบาลต่อเนื่องจาก "ภาวะตัวเหลือง" คงทำให้พ่อแม่เป็นกังวลใจกันไม่น้อยใช่ไหมคะ เรามาทำความเข้าใจและรู้จักเกี่ยวกับภาวะตัวเหลือง เพื่อคลายความกังวลกันดีกว่าค่ะ

ภาวะตัวเหลือง (Jaundice) คืออะไร?

ภาวะตัวเหลือง เกิดจากการที่ร่างกายมีสารสีเหลืองที่ทางการแพทย์ เรียกว่า บิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งมีในกระแสเลือดมากกว่าปกติ บิลิรูบินเกิดจากการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงผ่านกระบวนการที่ตับและขับออกจากร่างกายผ่านทางอุจจาระและปัสสาวะ

โดยทั่วไปทารกจะมีอาการตัวเหลืองในวันที่ 2-3 หลังคลอด ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์จะมองเห็นว่าเด็กตัวเหลือง และพิจารณาส่งตรวจค่าบิลิรูบินเพื่อดูระดับความเหลืองและให้การรักษาต่อไปค่ะ

สาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยตัวเหลือง?

1. ภาวะตัวเหลืองปกติ (Physiologic Jaundice)

เกิดจากทารกที่อยู่ในท้องคุณแม่มีความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงมากกว่า และเม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าของผู้ใหญ่ เมื่อเม็ดเลือดแดงของทารกแตกสลาย เปลี่ยนแปลงไปเป็นบิลิรูบินมากกว่าปกติจนเกินความสามารถในการกำจัดของร่างกาย

เนื่องจากตับของทารกยังทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้การกำจัดบิลิรูบินด้วยตับยังไม่สมบูรณ์ เกิดการสะสมของสารบิลิรูบินขึ้นในร่างกาย หากทารกไม่มีความผิดปกติอื่นร่วมด้วยจะสามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์

2. ภาวะตัวเหลืองผิดปกติเนื่องจากมีพยาธิสภาพ (Pathologic Jaundice) มีหลายสาเหตุ เช่น

ทารกที่มีความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง หรือภาวะเม็ดเลือดแดงขาดเอ็มไซม์ G6PD ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปกติทารกมีเม็ดเลือดแดงจำนวนมากกว่าปกติ โดยเฉพาะทารกที่คลอดจากแม่ที่เป็นเบาหวานภาวะหมู่เลือดแม่กับลูกไม่เข้ากัน พบในแม่ที่มีหมู่เลือดโอกับลูกที่มีหมู่เลือดเอหรือบี หรือแม่ที่มีหมู่เลือด Rh ลบ และลูกมี Rh บวกสัมพันธ์กับการกิน นมแม่ พบในทารกที่กินนมแม่เพียงอย่างเดียว มักเกิดกับทารกที่ได้รับนมไม่เพียงพอ สาเหตุที่พบบ่อยคือ ท่าอุ้มให้ลูกดูดนมแม่ไม่ถูกต้อง หรือเกิดจากปัจจัยของลูก เช่น ลูกเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดน้อย หรือมีภาวะลิ้นติด ทำให้ดูดนมแม่ได้ไม่ดีสาเหตุอื่นๆ เช่น ภาวะตับอักเสบ โรคท่อน้ำดีตีบ ซึ่งทารกจะมีอาการตัวเหลืองร่วมกับอุจจาระสีซีด ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน การติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น

แล้วภาวะตัวเหลืองมีความรุนแรงมากแค่ไหน?

หากระดับบิลิรูบินมากเกินไปจะผ่านเข้าสู่สมองไปจับที่เนื้อสมอง ทำให้สมองผิดปกติเรียกว่า เคอร์นิกเทอรัส (Kernicterus) 

ระยะแรกจะมีอาการซึม ตัวอ่อน และดูดนมไม่ดีระยะต่อมาทารกจะซึมลง ตัวอ่อนมากขึ้น มีอาการกระสับกระส่าย มีไข้ ร้องเสียงแหลม ตัวเกร็ง คอแอ่นไปด้านหลัง หลังแอ่น

*ระยะแรกๆ นี้หากได้รับการเปลี่ยนถ่ายเลือดโดยเร็วที่สุด อาจทําให้สมองไม่ถูกทําลายโดยถาวร ลดความรุนแรงของความพิการทางสมอง แต่หากไม่ได้รับการรักษาก็จะมีอาการจะรุนแรงขึ้น คอและหลังเกร็งแอ่นมากขึ้น ไม่ดูดนม ชัก หยุดหายใจ โคม่า และอาจเสียชีวิตได้ค่ะ

โดยปกติแล้วทารกที่คลอดครบกําหนดและมีสุขภาพแข็งแรง ประมาณ 80% จะมีภาวะตัวเหลืองจางๆ เมื่ออายุ 3-4 วัน และจะหายจากอาการตัวเหลืองไปเอง แต่หากทารกมีอาการตัวเหลืองผิดปกติ ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก โดยทั่วไปจะพบน้อย กว่า 1% คือ มีระดับสารสีเหลืองสูงกว่าปกติ หากคุณพ่อ คุณแม่สังเกตเห็นลูกมีอาการดังต่อไปนี้ต้องระวัง!

เหลืองเร็ว คือเหลืองให้เห็นภายในอายุ 1-2 วันแรกเหลืองจัด คือเหลืองเข้ม ฝ่ามือฝ่าเท้าเหลืองชัดเจนเหลืองนาน แม้อายุจะเกิน 7 วันแล้ว แต่ยังมีอาการเหลืองอยู่อุจจาระมีสีซีด ปัสสาวะมีสีเข้มกว่าปกติเหลืองร่วมกับอาการเจ็บป่วยอย่างอื่น เช่น มีใช้ ซึม อาเจียน ถ่ายเหลว *หากพบว่าลูกมีอาการดังกล่าว ควรรีบพาลูกไปพบกุมารแพทย์นะคะ เพราะมีค่าบิลิรูบินมากเกินไป อาจจะไปเกาะในเซลล์สมองทําให้เกิดความผิดปกติทางสมอง และอาจถึงขั้นเกิดภาวะปัญญาอ่อนได้ ถ้ารักษาไม่ทันเวลาค่ะ

วิธีสังเกตง่ายๆ หากลูกน้อยตัวเหลือง

สังเกตอย่างไรว่า ลูกตัวเหลือง โดยถ้าอยู่ในห้องที่มีแสงสว่างพอสังเกตสี ปกติจะเห็นเป็นสีขาวแต่ถ้าเห็นเป็นสีเหลือง โดยเฉพาะถ้าเหลืองถึงท้องควรรีบพบแพทย์นะคะใช้นิ้วมือกดลงบนผิวหนังเด็ก หรือใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้กดที่ผิวหนังพร้อมกับแยกออกจากกันเพื่อรีดเลือดออกจากหลอดเลือดฝอยบริเวณที่จะตรวจ

ภาวะตัวเหลืองสามารถรักษาได้...

ในกรณีที่เจ้าตัวน้อยมีค่าบิลิรูบินไม่สูงมาก ลูกตัวเหลือง ไม่มาก จะสามารถขับบิลิรูบินออกมาได้เองโดยไม่ต้องรักษาค่ะ  การส่องไฟ โดยใช้หลอดไฟชนิดพิเศษให้แสงสีฟ้าที่มีความยาวคลื่นแสงที่เหมาะสมเท่านั้น ขณะส่องไฟ จะต้องถอดเสื้อผ้าทารก ปิดตา และแพทย์จะตรวจเลือดดูระดับบิลิรูบินเป็นระยะจนลดลงอยู่ในระดับที่ปลอดภัย ผลเสียของการส่องไฟคือ อาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ น้ำหนักตัวลดลง เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำเพิ่มขึ้นจากการส่องไฟการเปลี่ยนถ่ายเลือด คือ การเอาเลือดทารกที่มีบิลิรูบินสูงออกจากตัวเด็กและเติมเลือดอื่นเข้าไปทดแทน จะทำในกรณีที่ระดับบิลิรูบินสูงมากหรือทารกเริ่มมีอาการแสดงทางสมองเพื่อลดระดับบิลิรูบินอย่างรวดเร็วแก้ไขสาเหตุของภาวะตัวเหลือง จากสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง
ลูกหิวนมหรืออิ่ม เรียนรู้สัญญาณที่แม่มือใหม่ต้องรู้
ลูกหิวนมหรืออิ่ม เรียนรู้สัญญาณที่แม่มือใหม่ต้องรู้
31 พฤษภาคม 2022 04:47
"หนูหิวนมแล้วนะแม่จ๋า หนูอิ่มแล้วนะแม่จ๋า" คุณแม่มือใหม่ หลายๆ ท่านอาจจะกำลังประสบปัญหาไม่รู้ว่าลูกน้อยหิว นมแม่ หรืออิ่มเมื่อไหร่ใช่ไหมคะ?
เมนูอาหารสำหรับเด็ก: สำหรับเด็กที่คุณแม่ทำได้ง่ายๆ
เมนูอาหารสำหรับเด็ก: สำหรับเด็กที่คุณแม่ทำได้ง่ายๆ
31 พฤษภาคม 2022 04:58
คุณพ่อคุณแม่คนไหนกำลังหมดไอเดียในการทำอาหารให้เจ้าตัวเล็ก วันนี้มัมบี้มี 5 ไอเดียเมนูอาหารสําหรับเด็ก วัย 1 ขวบขึ้นไปมาแนะนำกันค่ะ
ท่าให้นม : 6 ท่าสำหรับแม่มือใหม่
ท่าให้นม : 6 ท่าสำหรับแม่มือใหม่
31 พฤษภาคม 2022 05:20
การให้ นมแม่ ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่มีคุณค่ามาก ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ของแม่ และลูกน้อยนั้นแน่นแฟ้นกันมากยื่งขึ้น ซึ่งท่าของการอุ้มให้นมลูกนั