Tiger 2022
ลูกน้อยในช่วง 1-12 เดือน จะมีพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไป ในช่วง 3-6 เดือน จะสามารถทำเสียงอ้อแอ้ (Babbling) เมื่อมีความพึงพอใจหรือไม่พอใจได้ ช่วง 6-9 เดือน จะเริ่มรับรู้ชื่อตัวเองได้ และในเด็กบางคนการแสดงออกถึงพัฒนาการเหล่านี้อาจไม่เท่ากัน บางคนมีพัฒนาการที่ช้า บางคนมีพัฒนาการไว

การเตรียมพร้อมก่อนสอนลูกน้อยพูดจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ทราบว่าลูกพร้อมที่จะเรียนรู้หรือไม่ หากลูกน้อยอยู่ในช่วงที่หงุดหงิด หรือร้องไห้หนัก แสดงว่าน้องยังไม่พร้อมที่จะเรียนรู้ ซึ่งเรามีวิธีกระตุ้นการพูดกับลูกน้อยมาฝากกันค่ะ

คุยกับลูกบ่อยๆ
คุณพ่อคุณแม่จะต้องขยันพูดคุยกับลูกน้อยให้มากๆ ใช้น้ำเสียงที่เน้นคำพร้อมกับทำกิจกรรมไปด้วย เช่น เวลากินข้าว “อาจพูดว่า วันนี้หนูกินข้าวต้มกับไข่ตุ๋นและแครอทนะคะ อร่อยไหมคะ หรือไปอาบน้ำกันไหมคะคนเก่ง หรือแอปเปิ้ลอยู่ไหนเอ่ย

สอนพูดเป็นคำๆ
คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มต้นจากคำง่ายๆ เช่น ปลา ปู แม่ ม้า หรือเลือกคำที่อยู่ใกล้ตัวใช้ในชีวิตประจำวันได้ จะช่วยให้ลูกน้อยสามารถจดจำคำๆนั้นได้

ออกเสียงให้ชัด
คุณพ่อคุณแม่จะต้องพยายามพูดเน้นคำ ออกเสียงให้ชัดเจน พร้อมกับพูดช้าๆ ลูกจะได้พูดตามได้ หากลูกน้อยพูดเสียงสูงหรือต่ำก็ควรพูดไปกับลูกด้วย

เล่นแบบมีปฏิสัมพันธ์
เช่น เล่นจ๊ะเอ๋กับลูก เล่นของเล่นกับลูก เล่านิทาน หรือร้องเพลง จะช่วยฝึกฝนพัฒนาการทางด้านการพูดและการสื่อสารได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังฝึกเรื่องการเรียนรู้ การฝึกทักษะ การแก้ปัญหาได้อีกด้วย

สบตากับลูกน้อย
เมื่อคุณพ่อคุณแม่สอนลูกให้รู้จักคำใหม่ๆ จำเป็นจะต้องมองใบหน้าของลูกน้อย เพราะจะได้สบตา และอ่านรูปปากของคุณพ่อคุณแม่ได้

ชื่นชมลูก
คุณพ่อคุณแม่ควรชมเชยหรือให้รางวัลแก่ลูกน้อย เช่น การปรบมือ ยิ้มแย้ม เมื่อลูกน้อยพูด หรือทำได้สำเร็จ เพราะคำชมจะเป็นกำลังใจที่เป็นแรงผลักดันให้ลูกน้อยอยากทำอะไรก็ตามให้สำเร็จอีกด้วยค่ะ
0


Please Login to CommentLog In