ลูกยังตัวเล็กอยู่เลย เล่นอะไรกับลูกได้บ้างน้า

ลูกยังตัวเล็กอยู่เลย เล่นอะไรกับลูกได้บ้างน้า
ลูกยังตัวเล็กอยู่เลย เล่นอะไรกับลูกได้บ้างน้า

คุณแม่เคยสงสัยไหมคะ ลูกเพิ่งเกิดได้ไม่นาน คอยังไม่แข็งเลย เราเล่นกับลูกได้ไหม

คุณแม่หลายท่านอาจจะมีคำถามว่า เราจะเริ่มเล่นกับลูกได้เมื่อไหร่ จริงๆ แล้วเราสามารถเล่นกับลูกได้ตั้งแต่แรกเกิดเลย แต่วิธีการเล่นกับลูกอาจจะเปลี่ยนไปตามช่วงอายุของลูก 

สังเกตได้ว่า ลูกของเราเมื่อแรกเกิด จะนอนเป็นส่วนใหญ่ ตื่นมากินนมทุก 2-3 ชั่วโมง แล้วหลับต่อ แต่สังเกตไหมคะว่า หลังลูกกินนมเสร็จ บางครั้งลูกยังไม่หลับเลย ตายังแป๋วอยู่เลย ตอนนั้นค่ะ เป็นโอกาสทองของคุณแม่ที่เล่นกับลูก 

ถ้าอย่างนั้นเราเริ่มเล่นอะไรกับลูกดีน้า

คุณแม่หลายท่านคงจะแปลกใจว่า ลูกยังเล็กทำไมถึงให้เล่านิทานให้ลูกฟัง ลูกไม่น่าจะฟังรู้เรื่อง จริงๆ การเล่านิทานอาจจะไม่ใช่การอ่านนิทานให้ลูกฟัง แต่เป็นการเล่าเรื่องที่คุณแม่จำได้ ด้วยน้ำเสียงขึ้นลง ให้มีทั้งจังหวะเร็วและช้า เสียงคุณแม่เป็นเสียงที่เค้าคุ้นเคยอยู่แล้ว ฟังทีไร ก็มีความสุข เวลาคุณแม่เล่าไปเรื่อยๆ เค้าจะตั้งใจฟัง สิ่งที่จะเพิ่มเข้าไปอีกอย่าง คือ สบตาเค้าค่ะ การจ้องตาเค้า ทำให้เค้ามีจุดโฟกัสที่ลูกตาคุณแม่ การเคลื่อนไหวหน้าของคุณแม่ ทำให้เค้ามองตาม ระยะมองที่เหมาะสมของลูก น่าจะไม่เกิน 8 นิ้วค่ะ เพราะลูกยังมองไกลไม่ได้มากนักเพราะฉะนั้น ให้คุณแม่เอาหน้าไปอยู่ใกล้ๆ ลูกหน่อย ตอนเล็กๆ ลูกเราจะมองไม่เห็นสีนะคะ แต่เค้าจะเห็นเป็นขาวและดำ พอเค้าเริ่มโตขึ้น ภาพของเค้าจะคมชัดขึ้น สีสันจะมาเพิ่มขึ้นเองค่ะ

นอกจากเล่านิทานให้ลูกฟัง แล้วเล่นอะไรได้อีกบ้างน้า

คุณแม่หลายท่านอาจเลือกเปิด YouTube ให้ลูกดู ABC เพราะลูกจะได้ให้ลูกคุ้นเคยกับตัวอักษรภาษาอังกฤษตั้งแต่ยังเล็ก แต่คุณแม่รู้ไหมคะ สมาคมกุมารแพทย์แห่งอเมริกา (AAP) หรือ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาบอกว่า เด็กแรกเกิดจนถึง 2 ปี ไม่ควรให้ดูสื่อจอใส (โทรศัพท์ iPad หรือ แม้กระทั่งโทรทัศน์) เลย มีงานวิจัยที่ชี้ชัดว่า เด็กที่ดูสื่อจอใสก่อนอายุ 2 ปี มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมแสดงออกที่ไม่เหมาะสม หรือมีพัฒนาการด้านสติปัญญาและสังคมที่ไม่สมวัย ถ้าคุณแม่ไม่อยากเสี่ยงให้ลูกมีพัฒนาการที่ไม่สมวัย คุณแม่ลองหาวิธีเล่นกับลูกวิธีอื่นดีไหมคะ

ถ้าอย่างนั้น ทำไมเล่นจ๊ะเอ๋ยังไม่ได้ล่ะ การเล่นจ๊ะเอ๋ อาจจะยังไม่เหมาะกับลูกที่ยังเล็ก หรือยังจำหน้าเราไม่ได้ เด็กที่เข้าใจการเล่นจ๊ะเอ๋ จะเป็นเด็กที่เริ่มมีความคิดที่ซับซ้อนขึ้น เข้าใจแล้วว่า วัตถุที่มีตรงนี้ หายไป และลองมองหาว่า แล้วจะอยู่ที่ไหนได้บ้าง ส่วนใหญ่เริ่มเล่นเมื่อเด็กอายุประมาณ 9 เดือนขึ้นไป

แล้วเล่นนวดตัวเล่นยังไงน้า การเล่นนวดตัว ไม่ได้มีกติกาที่ซับซ้อนเลยค่ะ เพียงแค่สัมผัสร่างกายเค้าด้วยเค้าอ่อนโยน นุ่มนวล ทำให้เค้ารู้สึกผ่อนคลาย การนวดลูก สามารถนวดได้ทุกส่วนในร่างกาย แค่เบามือ แต่คุณแม่จะสังเกตได้เองนะคะ บางจุดในร่างกายเค้า พอเบามือ เค้าอาจจะบิดตัวหนี เราอาจเรียกได้ว่า เค้าจักกะจี้ เพราะฉะนั้นรักแร้ ขา คุณแม่อาจลงน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้นิดหน่อย ส่วนตรงท้อง ถ้าคุณแม่จะนวดต้องไม่นวดหลังจากที่น้องอิ่มนมนะคะ อาจจะเป็นหลังจากอาบน้ำเสร็จ แต่ที่สำคัญเลยค่ะ การสบตา พูดคุยกับลูก ขณะที่นวดยังต้องทำอยู่นะคะ คราวนี้เค้าจะเพลินเลยค่ะ มีคนนวดให้สบายตัว แถมได้ยินเสียงคุ้นเคยอยู่ข้างๆด้วย

เห็นไหมคะ การเล่นกับลูกเล็กๆ ทำได้ตั้งหลายแบบ แต่สังเกตไหมคะ ตัวคุณแม่เป็นของเล่นชิ้นสำคัญเลยค่ะ ความรัก ความอบอุ่นจากคุณแม่ เป็นของเล่นชิ้นที่พิเศษที่สุด อย่าพลาดเวลาที่ได้เล่นกับเค้านะคะ

สำหรับคุณแม่ที่มีลูกโตกว่านี้ จะเล่นอะไรได้อีกบ้างน้า ติดตามตอนต่อไปนะคะ

รศ.ดร.สมสิริ รุ่งอมรรัตน์ (อ.ส้ม)

Related Articles
ประโยชน์ของนมแม่:ประโยชน์ของการให้นมลูกของ "คุณแม่"
ประโยชน์ของนมแม่:ประโยชน์ของการให้นมลูกของ "คุณแม่"
30 พฤษภาคม 2023 18:37
ทราบหรือไม่ว่าการให้นมลูกน้อย มีประโยชน์กับตัวคุณแม่เป็นอย่างมาก แต่จะมากแค่ไหนต้องไปชมกัน
น้ำนมแม่: คืออะไร?
น้ำนมแม่: คืออะไร?
30 พฤษภาคม 2023 19:33
เชื่อว่าไม่มีใครไม่รู้จัก น้ำนมแม่ อย่างแน่นอน แต่วันนี้เราจะพาไปเจาะให้ลึกขึ้น ว่า น้ำนมแม่ คืออะไร?
เคล็ดลับ! "เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย" รับมืออากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย
เคล็ดลับ! "เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย" รับมืออากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย
14 ตุลาคม 2022 02:55
อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยเกินไปแล้วใช่ไหมคะแม่ๆ ฤดูฝนแบบนี้อากาศจะเย็นและชื้นขึ้นเป็นเรื่องปกติ ซึ่งอากาศแบบนี้จะทำให้ลูกน้อยของเราเป็นไข้หวัดได้ง่ายกว่าปก
How to สอนลูกให้เริ่มแต่งตัวด้วยตัวเองอย่างไรดี
How to สอนลูกให้เริ่มแต่งตัวด้วยตัวเองอย่างไรดี
11 ตุลาคม 2022 03:34
เมื่อเด็กๆเริ่มโตขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มที่จะฝึกเขาให้ช่วยเหลือตนเองได้ โดยเฉพาะการใช้ชีวิตประจำวันที่เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเมื่อถึงวัยที่ลูกต้องเข้า
พัฒนาการของลูกน้อยวัย 3 ขวบ
พัฒนาการของลูกน้อยวัย 3 ขวบ
08 ตุลาคม 2022 02:27
เพราะลูกน้อยวัย 3 ขวบเป็นวัยกำลังเรียนรู้ พูดตาม ทำตาม เหล่าคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลาย ควรคอยสังเกตลูกน้อยถึงการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ทั้งร่างกาย ทั้งคำพูด