mombieclub
mombieclub
@mombieclub

เลือกซื้อคาร์ซีท (Car Seat) อย่างไรดี? ให้เหมาะกับลูกน้อย

เลือกซื้อคาร์ซีท (Car Seat) อย่างไรดี? ให้เหมาะกับลูกน้อย
เลือกซื้อคาร์ซีท (Car Seat) อย่างไรดี? ให้เหมาะกับลูกน้อย

อย่างที่คุณพ่อคุณแม่ได้ทราบกันแล้วว่า ในวันที่ 5 กันยายน 2565 เป็นต้นไป จะเริ่มมีการบังคับใช้กฎหมายคาร์ซีท ซึ่งในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้นะคะ เราต้องคำนึกถึงหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะคุณภาพ ความปลอดภัย และราคา คาร์ซีทในท้องตลาดนั้นมีให้เลือกมากมาย สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่ไม่รู้ว่าจะต้องเลือกซื้อคาร์ซีทแบบไหนให้เหมาะสม รวมทั้งต้องมีความปลอดภัยสูงสุดต่อลูกน้อย วันนี้เรามีคำแนะนำถึงวิธีการเลือกคาร์ซีท (Car Seat) มาเตรียมพร้อมไปกับเรากันค่ะ

ประเมินคุณภาพของคาร์ซีท (Car Seat)

นอกจากเรื่องว่าคาร์ซีทแบรนด์นั้นๆ มีมาตรฐานแค่ไหน สามารถเชื่อใจได้ไหม สิ่งที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมเพื่อให้ได้คาร์ซีทที่มีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุดมีดังนี้

ป้ายรับรองมาตรฐาน

อย่าเห็นว่าแบรนด์ดูพอมีชื่อเสียงก็เลือกๆ แบบขอไปที ให้ตรวจเช็คให้แน่ใจว่าคาร์ซีทรุ่นนั้นได้ผ่านการทดสอบมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นผ่านมาตรฐานที่ชื่อว่า ECE R44 และ UNr 129

ความแตกต่างของมาตรฐานการทดสอบทั้งสองแบบก็คือ ECE R44 จะเป็นมาตรฐานที่ทดสอบการกระแทกด้านหน้าและด้านหลังของตัวคาร์ซีท ในขณะที่ UNr 129 จะเป็นการทดสอบการกระแทกจากด้านข้าง

ระบบเข็มขัดรัด 5 จุด (5-points harness)

แน่นอนว่าการใช้สายรัดแบบห้าจุดจะรัดกุมมากกว่า และสามารถปกป้องลูกน้อยของคุณดีกว่าสายรัดสามจุด หรือเข็มขัดนิรภัยธรรมดา ระบบเข็มขัดรัด 5 จุดที่ว่าก็คือจะมีรัดไหล่ 2 เส้นของแต่ละข้าง รัดเอว 2 เส้น และผ่านระหว่างขาอีก 1 เส้น ทั้งหมดจะมาเจอกันที่จัดรัดที่อยู่ตรงกลางบอดี้ของเด็ก

รีวิวและความนิยม

อันนี้ก็คล้ายๆ กับการเลือกซื้อสิ่งของทั่วไปที่ทุกคนก็เป็นกัน นั่นก็คือต้องหารีวิวหรือดูเรทติ้งของสินค้าชิ้นนั้นๆ ก่อน ถ้าสินค้าชิ้นนั้นดูไม่ค่อยมีคนรีวิวหรือให้คะแนน แสดงว่าอาจจะยังไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก เวลามีปัญหาเรื่องการใช้งาน อาจจะทำให้หารีวิวหรือคู่มือดูตัวอย่างยาก

ความใหม่ - เก่าของคาร์ซีท

คาร์ซีทใหม่นั้น แม้ว่าคุณภาพจะมั่นใจได้แน่นอน เพราะออกมาจากโรงงานผลิตโดยตรง แต่ก็มีราคาที่สูง ส่วนคาร์ซีทมือสองนั้น อาจจะมีราคาถูกกว่ามือหนึ่ง แต่ก็ควรจะตรวจเช็คคุณภาพให้ดี ดังนั้นเพื่อความมั่นใจสูงสุด ควรตรวจสอบวันเดือนปีที่ผลิตให้ละเอียด เพราะโดยปรกติแล้วคาร์ซีทจะมีอายุการใช้งานอยู่ที่ 6 ปี นับจากวันที่ผลิต

2. คาร์ซีทต้องเข้ากันกับช่วงอายุและส่วนสูงของลูก

คาร์ซีทสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ แต่ละประเภทจะเหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงอายุและส่วนสูงที่ไม่เหมือนกัน

แบบที่ 1 คาร์ซีทเด็กแรกเกิด (Baby Car Seat)

คาร์ซีทกลุ่มนี้เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิดถึงอายุประมาณ 12 เดือนบวกหรือลบไม่กี่เดือนขึ้นอยู่กับส่วนสูงของบอดี้ของลูก เมื่อเด็กสามารถตั้งศีรษะได้อย่างมั่นคง และถึงส่วนสูงสูงสุดที่คาร์ซีทประเภทนี้รับได้แล้วก็ต้องเปลี่ยนไปเป็นคาร์ซีทประเภทถัดไป

แบบที่ 2 คาร์ซีทสำหรับเด็กเล็ก (Car Seat for toddlers)

ต่อไปคือคาร์ซีทสำหรับเด็กเล็ก ตามข้อบังคับมาตรฐานความปลอดภัย UNr 129 เด็กเล็กที่แม้จะอายุครบ 2 ขวบแล้วควรนั่งในคาร์ซีทในแบบที่หันหน้าไปทางด้านหลัง (Rear-facing car seat) ต่ออย่างน้อย 15 เดือน (หรือจริงๆ ควรนานกว่านั้น) คาร์ซีทในกลุ่มนี้บางส่วนจะสามารถกลับให้หันไปข้างหน้าหรือหันไปข้างหลังก็ได้ในคาร์ซีทรุ่นเดียวกัน ทำให้ไม่ต้องซื้อใหม่แยก แล้วแต่การจัดวางให้เข้ากับลูกน้อย

เราจะรู้ว่าลูกของเราต้องเปลี่ยนคาร์ซีทแล้วก็ต่อเมื่อศีรษะลูกถึงส่วนวางศีรษะบนสุดของคาร์ซีท และที่รัดแขนไม่สามารถจะปรับไปมากกว่านั้นได้แล้ว ก็ให้เปลี่ยนไปเป็นคาร์ซีทแบบต่อไป

แบบที่ 3 บูสเตอร์ซีท (Booster Seat)

คาร์ซีทแบบบูสเตอร์ซีทจะเป็นคาร์ซีทสำหรับเด็กโตขึ้นมาหน่อย แน่นอนว่าจะเป็นคาร์ซีทที่ลูกน้อยได้ใช้นานที่สุดด้วยคือ อาจใช้ได้ตั้งแต่ 4-12 ขวบเลยทีเดียว หรือตามคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญคือ ควรนั่งจนถึงลูกส่วนสูงถึง 140 ซม. จึงเปลี่ยนมานั่งเบาะธรรมดาและคาด Seat Belt แบบผู้ใหญ่

3. สามารถติดตั้งง่ายและปลอดภัย

ก่อนซื้อคาร์ซีทต้องคำนึงถึงการติดตั้งด้วย โดยให้ตรวจสอบว่าคุณมี ISOfix อยู่ในรถหรือไม่ ISOfix เป็นวงแหวนโลหะขนาดเล็กที่ด้านหลังส่วนล่างของเบาะที่นั่งรถยนต์เพื่อเชื่อมต่อที่คาร์ซีทกับเบาะรถยนต์ การติดตั้งด้วย ISOfix เป็นการติดตั้งที่ง่าย สะดวก รวดเร็วที่สุด

4. มีการป้องกันแรงกระแทกด้านข้าง

ในอุบัติเหตุทางรถยนต์นั้น มากกว่า 25-30% จะเป็นการชนกระแทกที่เกิดขึ้นจากทางด้านข้าง เพื่อการป้องกันสูงสุด เราจึงต้องให้ความสำคัญกับการกันกระแทกด้านข้างด้วย แต่ในความเป็นจริงๆ วงการคาร์ซีทจะเน้นสร้างมาตรฐานการทดสอบการกระแทกด้านหน้าด้านหลังมากกว่า

ดังนั้น เมื่อเทียบกับมาตรฐานกันกระแทกด้านหน้ากับด้านหลังแล้ว มาตรฐานการกันกระแทกจากด้านข้างจะยังไม่ค่อยถูกพัฒนามากนัก นอกเหนือจากมาตรฐานแบบ UNr 129 ซึ่งเป็นมาตรฐานการทดสอบแบบใหม่ที่เราได้กล่าวถึงไปแล้วข้างต้น ก็จะยังไม่มีมาตรฐานอื่นๆ มารองรับในส่วนนี้

5. เหมาะกับสรีระที่กำลังเจริญเติบโตของลูก

เวลาเลือกควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าคาร์ซีทที่เราเลือกจะช่วยให้ลูกมีความปลอดภัยและความสะดวกสบายมากที่สุดตลอดระยะเวลาการใช้งานที่ยาวนานทั้ง 3 ช่วงเวลา (ตามแบบคาร์ซีทที่เราแบ่งประเภทไป 3 ประเภทข้างต้น) เมื่อเลือกคาร์ซีทอาจจะต้องเลือกเผื่อลูกโตไป 2-3 สเต็ป (แต่ก็ไม่ต้องเผื่อมากจนความรัดกุมหละหลวม)

6. วัสดุสามารถทำความสะอาดง่าย

คาร์ซีทที่ทำจากวัสดุหรือเส้นใยผ้าที่กันน้ำจะสามารถเช็ดทำความสะอาดได้ง่ายกว่า วัสดุที่ซึมซับน้ำ ดังนั้นตอนเลือกต้องอย่าลืมคิดถึงตอนทำความสะอาดด้วย เพราะคาร์ซีทจะอยู่คู่กับรถคุณไปอีกนานกว่าลูกจะโต

บทความที่เกี่ยวข้อง
วิธีติดตั้งคาร์ซีท: 5 วิธีติดตั้ง คาร์ซีทให้ปลอดภัย
วิธีติดตั้งคาร์ซีท: 5 วิธีติดตั้ง คาร์ซีทให้ปลอดภัย
01 มิถุนายน 2022 04:56
คาร์ซีทสำคัญแค่ไหนกับชีวิตลูก หลายๆ ข่าวตามที่เราเคยเห็นกันมา มีการเกิดอุบัติเหตุทางถนนมากมายทั้งรุนแรงและไม่รุนแรง การคาดเข็มขัดนิรภัย อาจจะไม่พอสำหร
พาลูกเที่ยว: ไปนอกบ้านดีต่อพัฒนาการลูกอย่างไร
พาลูกเที่ยว: ไปนอกบ้านดีต่อพัฒนาการลูกอย่างไร
12 กรกฎาคม 2022 02:53
เริ่มเข้าใกล้วันหยุดยาวแล้ว คุณพ่อคุณแม่คนไหนที่กำลังคิดว่าจะพาลูก หลาน ออกไปเที่ยว ได้โอกาศที่ดีเลยค่ะ ถึงแม้วันหยุดยาวบ้างครอบครัวคุณผู้ปกครองอาจจะไ
กฎหมายคาร์ซีท: สำคัญกับพ่อแม่อย่างไร?
กฎหมายคาร์ซีท: สำคัญกับพ่อแม่อย่างไร?
25 กรกฎาคม 2022 03:26
เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2565 เว็ปไซต์ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ พระราชบัญญัติ จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 ว่าด้วยการบังคับใช้คาร์ซีทสำหรับเด็กที่อายุน
ปวดท้องตรงกลาง: สาเหตุและวิธีการรักษา
ปวดท้องตรงกลาง: สาเหตุและวิธีการรักษา
06 กรกฎาคม 2023 04:39
ปวดท้องตรงกลางเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยทั่วไป แต่ก็มีอีกหลายสาเหตุ และความเป็นไปได้ของการปวดท้องตรงกลาง วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับอาการนี้กัน
ท้องนอกมดลูก: สาเหตุ อาการ และการดูแลรักษา
ท้องนอกมดลูก: สาเหตุ อาการ และการดูแลรักษา
25 มิถุนายน 2023 17:57
ท้องนอกมดลูก เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อท้องของหญิงตั้งครรภ์ไม่อยู่ภายในมดลูก เราจะพาไปทำความรู้จักสาเหตุ และวิธีการดูแล