Mombiestreet
Mombiestreet
@mombiestreet

5 ทริคง่ายๆ เลือก เครื่องปั๊มนม

5 ทริคง่ายๆ เลือก เครื่องปั๊มนม
5 ทริคง่ายๆ เลือก เครื่องปั๊มนม

อีกหนึ่งไอเทมสำคัญสำหรับคุณแม่ยุคใหม่ คือ เครื่องปั๊มนม ตัวช่วยหลักในการเก็บสต็อกน้ำนมแม่ ให้ลูกได้กินอิ่มนอนหลับยามแม่ต้องกลับไปทำงานหลังคลอดหรือติดธุระไม่สามารถกระเตงลูกน้อยออกไปด้วยได้

หากแต่ปัญหาที่ตามมาจนทำให้คุณแม่ต้องคิดหนักเลยก็คือ จะเลือกเครื่องปั๊มนมแบบไหนดี เพราะปัจจุบันมีเครื่องปั๊มนมให้เลือกหลายแบบมากราคา แล้วแบบไหนล่ะจะคุ้มค่าเงินและตอบโจทย์ของคุณแม่ที่สุด เพราะถ้าเราพลาดไปซื้อเครื่องปั๊มคุณภาพไม่ดี ไม่ใช่แค่ทำให้ปั๊มนมไม่ออกเท่านั้น แต่อาจทำให้เต้านมบาดเจ็บและสร้างปัญหาตามมาได้อีกมากมาย เช่น เต้านมอักเสบ ทำให้หัวนมแตก

MombieStreetจึงไปหาข้อมูลของเครื่องปั๊มนมแต่ละแบบ บวกกับไปสำรวจเดินดูของจริงและสอบถามแม่ๆ ผู้มีประสบการณ์ เพื่อช่วยเฟ้นหาเครื่องปั๊มนมที่ตรงใจมาฝากกันค่ะ

เครื่องปั๊มนมที่มีขายอยู่บนท้องตลาด ส่วนใหญ่มี 2 แบบด้วยกัน คือ เครื่องปั๊มแบบมือ (Manual) ข้อดี ราคาถูก ประหยัด สามารถปั๊มได้ทุกที่เพราะไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ข้อเสีย คือ ปั๊มได้ทีละข้างและคุณแม่อาจจะเมื่อยมือก่อนนมครบออนซ์ อีกแบบ คือ เครื่องปั๊มนมแบบไฟฟ้า ข้อดี ประหยัดเวลา เพราะสามารถปั๊มได้สองเต้าพร้อมกัน มีระบบนวดกระตุ้นน้ำนม ทำให้คุณแม่สามารถปั๊มน้ำนมได้อย่างง่ายดาย และไม่เจ็บเต้านมเวลาปั๊ม

5 ทริคในการเลือกเครื่องปั๊มนม

1. ขนาดกรวย

ขนาดกรวยควรซื้อเครื่องปั๊มนมเตรียมไว้ตั้งแต่ก่อนคลอดเล็กน้อย เพราะจะช่วยให้คุณแม่สามารถกะขนาดกรวยให้ตรงกับสรีระเต้านมได้ ให้วัดขนาดหัวนมแล้วบวกเพิ่มไปอีกด้านละ 2 มิลมิเมตร รู้สึกสบายขณะใช้ ไม่ทำให้ผิวหนังข้างหัวนมเสียดสีกับกรวยจนทำให้เจ็บหัวนม และที่สำคัญขนาดที่ถูกต้องจะทำให้ปั๊มแล้วน้ำนมออกมาเกลี้ยงเต้า ซึ่งจะช่วยทำให้ร่างกายคุณแม่สามารถผลิตน้ำนมได้ปริมาณมากขึ้นเพียงพอตามความต้องการของลูก

ถ้าเลือกรุ่นที่กรวยสโลปมากหน่อยคุณแม่จะสามารถนอนเอนปั๊มน้ำนมได้ด้วย ไม่ต้องนั่งตรงๆ คุณแม่จะรู้สึกสบายมากกว่า และช่วยให้น้ำนมไหลออกมาได้ง่าย โดยก่อนซื้อคุณแม่สามารถขอทดลองใช้เครื่องปั๊มนมเพื่อเช็คความชัวร์ หากขนาดกรวยไม่พอดีกับเต้า ใส่แล้วรู้สึกเสียดสี ควรเปลี่ยนกรวย ไม่ควรทนใช้ตามที่ร้านให้มา เพราะขนาดของหัวนมแต่ละคนไม่เท่ากัน

2. แรงดูดและรอบดูด

ประสิทธิภาพของแรงดูดและรอบดูด มีหมวดดูดกระตุ้น โดยเครื่องปั๊มนมที่ดีต้องมีแรงดูดอย่างน้อย 200 มม.ปรอทและมีจังหวะในการดูดอย่างน้อย 40 - 60 รอบต่อนาที จึงจะใกล้เคียงการดูดของทารกในช่วง 6 - 12 สัปดาห์ แต่ถ้าต้องการให้นมแม่นานกว่า 4 เดือนขึ้นไป ควรเลือกเครื่องปั๊มนมที่มีรอบดูดมากกว่า 40 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป จะทำให้ปั๊มนมออกเกลี้ยงเต้าได้มากกว่า สามารถดึงน้ำนมส่วนหลังออกมา และคุ้มค่าที่สุดค่ะ

3. น้ำหนักตัวเครื่องและแบตเตอรี่

น้ำหนักเบา มีแบตเตอรี่ ชิ้นส่วนน้อยประกอบง่าย ถ้าคุณแม่มีความจำเป็นต้องขนย้ายเครื่องปั๊มนมบ่อยๆ เช่น พกไปปั๊มนมที่ทำงาน หรือเดินทางบ่อย ควรหาเครื่องที่มีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา พกพาสะดวกและสามารถใช้ได้ทั้งกับไฟบ้าน ถ่านแบตเตอรี่ ชาร์จในรถยนต์ หรือเพาเวอร์แบงก์ได้ด้วย ตอนนี้ในท้องตลาดมีจำหน่ายเครื่องปั๊มนมที่มีน้ำหนักสุด ประมาณ 0.4 กิโลกรัม สามารถใส่กระเป๋าถือใบเล็กของคุณแม่ได้เลย

4. เสียง

เสียงของเครื่องปั๊มน้ำนมต้องเบา เพื่อไม่ให้เสียงรบกวนการนอนของลูก หรือมีไฟ จะได้เปิดแค่ที่เครื่องปั้มนมแทนไฟในห้องได้เลยไม่ต้องเปิดไปอีกดวง

5. งบในกระเป๋า

งบประมาณในกระเป๋า ข้อนี้สำคัญมากในการเลือกซื้อสินค้า คุณแม่ควรเลือกที่เหมาะกับการใช้งานของตัวเองมากที่สุด เพื่อที่จะได้ไม่ต้องซื้อใหม่ให้เปลือง โดยการเลือกให้เหมาะสมตั้งแต่แรก

นอกจาก5 ทริคนี้ สิ่งที่คุณแม่ต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจลงทุนซื้อเครื่องปั๊มน้ำนมก็คือ สามารถทำความสะอาดได้ง่าย และมีวิธีการใช้งานที่ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ประกอบง่าย เป็นHospital Gradeชุดอุปกรณ์เป็นระบบปิดBPA Freeมั่นใจในคุณภาพและความสะอาด มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสากล

บทความที่เกี่ยวข้อง
เล่านิทาน: สิ่งมหัศจรรย์ก่อนนอน
เล่านิทาน: สิ่งมหัศจรรย์ก่อนนอน
27 พฤษภาคม 2022 06:44
"การเล่านิทานให้ลูกฟังก่อนนอนคือสิ่งมหัศจรรย์" เป็นช่วงเวลาที่ทุกๆ ครอบครัวควรปลูกฝังให้ลูกน้อยนะคะ โดยเฉพาะในช่วงปฐมวัยเป็นวัยแห่งการเริ่มต้นเรียนรู้
สอนเด็ก: เคล็บลับ สอนเด็กใจเย็นและรู้จักการรอคอย
สอนเด็ก: เคล็บลับ สอนเด็กใจเย็นและรู้จักการรอคอย
27 พฤษภาคม 2022 06:51
ในปัจจุบันนี้การใช้ชีวิตมักจะเร่งรีบและรวดเร็วอยู่ตลอด คือ ยิ่งทำอะไรเร็วก็ยิ่งดี ยิ่งเก่ง เลยทำให้ผู้คน หรือเราๆ ที่เป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ จะต้องคิด
ลูกหิวนมหรืออิ่ม เรียนรู้สัญญาณที่แม่มือใหม่ต้องรู้
ลูกหิวนมหรืออิ่ม เรียนรู้สัญญาณที่แม่มือใหม่ต้องรู้
31 พฤษภาคม 2022 04:47
"หนูหิวนมแล้วนะแม่จ๋า หนูอิ่มแล้วนะแม่จ๋า" คุณแม่มือใหม่ หลายๆ ท่านอาจจะกำลังประสบปัญหาไม่รู้ว่าลูกน้อยหิว นมแม่ หรืออิ่มเมื่อไหร่ใช่ไหมคะ?