คุณแม่มือใหม่: เคล็ดลับดูแลครรภ์
คุณแม่มือใหม่ที่เพิ่ง ตรวจครรภ์ แล้วรู้ว่าตัวเองนั้นกำลังตั้งครรภ์ จะต้องมีความกังวลใจเกี่ยวกับการดูแลครรภ์แน่นอนใช่ไหมคะ เพราะกว่าเจ้าตัวเล็กจะลืมตาออกมาดูโลกต้องอยู่ในท้องของคุณแม่ถึง 9 เดือนเลย แต่ไม่ต้องห่วงวันนี้ Mombieclub เรามีวิธีดีๆ มาแบ่งปันเพื่อช่วยให้คุณแม่ป้ายแดงทุกคน สามารถใส่ใจการดูแลครรภ์ได้เป็นอย่างดี และเต็มประสิทธิภาพ "การใส่ใจดูแลครรภ์อย่างถูกวิธีคือสิ่งสำคัญ" ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจและร่วมมือกันเพื่อให้เจ้าตัวเล็กคลอดออกมาอย่างสมบูรณ์และแข็งแรงนะคะ เราจะดูแลครรภ์ให้ถูกวิธีได้อย่างไรบ้าง?
ฝากครรภ์เป็นเรื่องสำคัญที่สุด
การฝากครรภ์ เป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอันดับแรก เพราะจะสามารถช่วยในเรื่องต่างๆ อันได้แก่
- ดูแลรักษาสุขภาพของแม่และทารกในครรภ์ให้ดำเนินไปได้ด้วยดีตลอดการตั้งครรภ์และการคลอด
- ช่วยให้คลอดบุตรที่มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์<br>
- ลดอัตราเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนของแม่และเด็ก<br>
รับประทานอาหารที่เหมาะสม
เพราะหลังจากที่คุณแม่เริ่มตั้งครรภ์คุณก็ไม่ใช่ตัวคนเดียวอีกต่อไป การกินจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากไม่แพ้เรื่องอื่นเลย แต่ละสิ่งที่จะหยิบเข้าปาก ถ้าไม่นับของที่ไม่สามารถทานได้อันเนื่องมาจาก อาการแพ้ท้อง จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงลูกน้อยทุกครั้ง โดยอาหารที่แนะนำจะมีดังต่อไปนี้
- อาหารที่ช่วยเพิ่มโปรตีน แร่ธาตุ และวิตามินให้แก่ร่างกาย
- เน้นรับประทานเนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว ผัก และผลไม้<br>
- จะต้องมีแคลอรี่ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20<br>
- งดทานอาหารรสจัด เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และยาเสพติด
ควรใช้ชีวิตให้ถูกสุขลักษณะ
การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตก็ถือเป็นอีกข้อที่คุณแม่จะต้องทำให้ได้ เพราะส่วนใหญ่มักจะส่งผลโดยตรงต่อทั้งคุณแม่เอง และเจ้าตัวน้อย โดยเรามีข้อแนะนำดังนี้
- ใส่เสื้อผ้าให้หลวมสบาย
- พักผ่อนนอนหลับวันละ 8 – 14 ชั่วโมง<br>
- ดูแลรักษาฟัน ขูดหินปูน<br>
- ดูแลหน้าท้อง ทรวงอก ระบบขับถ่าย<br>
- รักษาความสะอาด<br>
- ไม่ใส่รองเท้าส้นสูง<br>
- มีเพศสัมพันธ์ด้วยท่าที่เหมาะสม ในกรณีที่ไม่มีข้อห้าม (ควรทำตามคำแนะนำของแพทย์)<br>
- ไม่ควรสูบบุหรี่<br>
ทำงานและออกกำลังกายในแบบที่พอดีและพอควร
- ไม่ควรทำงานหนัก
- ไม่ควรออกกำลังกายจนเหนื่อย<br>
- ปฏิบัติงานประจำวันตามปกติ<br>
- ออกกำลังกายควรเริ่มหลังจากที่ตั้งครรภ์ได้ 4 เดือน<br>
อาการที่คุณแม่ต้องระวัง
สิ่งที่คุณแม่ต้องระวังเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นอาการต่างๆ ประกอบไปด้วย
- น้ำหนักขึ้นมากกว่าปกติ
- ปวดศีรษะตรงหน้าผากและขมับข้างขวา<br>
- เปลือกตาบวม<br>
- ตาพร่า<br>
- ปัสสาวะไม่ออก<br>
- เลือดออกผิดปกติ<br>
หากมีอาการต่อไปนี้ควรรีบมาพบแพทย์ทันที เพราะอาจเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษนะคะ