mombieclub
mombieclub
@mombieclub

ลูกไม่ไปโรงเรียน ผิดปกติหรือไม่! ควรรับมืออย่างไรดี?

ลูกไม่ไปโรงเรียน ผิดปกติหรือไม่! ควรรับมืออย่างไรดี?
ลูกไม่ไปโรงเรียน ผิดปกติหรือไม่! ควรรับมืออย่างไรดี?

หลายๆ ครั้งที่ลูกน้อยรู้สึกงอแงไม่อยากไปโรงเรียน ซึ่งปัญหาอาจเกิดได้หลายๆ สาเหตุด้วยกันค่ะ แต่ปัจจัยโดยทั่วไปอาจมีสาเหตุมาจาก การย้ายไปโรงเรียนแห่งใหม่ หรือโรงเรียนปิดเทอมเป็นเวลานาน แล้วมีการเริ่มการศึกษาใหม่ ความเจ็บป่วย หรือสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก

สาเหตุอาจเกี่ยวข้องกับโรงเรียน หรือที่บ้าน หรืออาจเกิดจากปัจจัยของตัวเด็ก

1. สาเหตุที่เกิดจากโรงเรียน

โดนครูดุ หรือขู่ โดนเพื่อนว่า โดนเพื่อนแกล้งหรือหัวเราะเยาะ หรืออาจกลัวสถานที่ เช่น เพื่อนบอกว่าตรงนั้นตรงนี้มีผี มีแมงมุม

2. สาเหตุที่เกิดจากครอบครัว

พ่อแม่ทะเลาะกัน หรือมีเรื่องราวอะไรเกิดขึ้นที่บ้าน ทำให้ลูกเกิดความวิตกกังวล เช่น กลัวพ่อแม่เลิกกัน กลัวพ่อแม่ทะเลาะกัน กลัวพ่อแม่หายไป หรือในกรณีที่พ่อแม่เลี้ยงลูกแบบใกล้ชิดเกินไป ลูกอาจไม่อยากห่างพ่อแม่ จึงไม่อยากไปโรงเรียนได้ค่ะ

3. สาเหตุที่เกิดจากตัวเด็กเอง

ลูกนอนไม่เต็มอิ่มแล้วถูกปลุกขึ้นมาเพื่อเตรียมตัวไปโรงเรียน ทำให้รู้สึกหงุดหงิด และรู้สึกโดนบังคับ

คุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ปกครองอาจสงสัยว่าพฤติกรรมเหล่านี้ของลูกนั้นผิดปกติหรือไม่? แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกไม่อยากไปโรงเรียนเป็นแค่เรื่องธรรมดาทั่วไปของเด็ก หรือเป็นเรื่องที่ร้ายแรงกว่านั้น อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติที่เกิดกับลูกน้อย

สังเกตอาการผิดปกติที่ทำให้ลูกไม่อยากไปโรงเรียน

1. สังเกตอารมณ์ของลูก

หงุดหงิดง่าย อาละวาดมากขึ้น ร้องไห้บ่อย หวาดกลัว ขี้กังวลกับสิ่งต่างๆ มากจนผิดปกติ

2. สังเกตร่างกายของลูก

มีรอยฟกช้ำ รอยเล็บ แผลต่างๆ บนร่างกายหรือไม่ เรื่องความสะอาดของเสื้อผ้าว่ามีส่วนที่เลอะหรือเปรอะเปื้อนหรือไม่

3. สังเกตพฤติกรรมของลูก

ก้าวร้าวมากผิดปกติ เล่นรุนแรงซ้ำๆ ฝันร้ายบ่อย ซ่อนของใช้ที่ต้องนำไปโรงเรียน มีอาการเจ็บปวด เช่น ปวดท้อง ปวดหัว โดยหาสาเหตุไม่ได้ ไม่กระตือรือร้น พูดคุยหรือเล่นน้อยลง

4. สังเกตพัฒนาการของลูก

มีภาวะถดถอย อั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้ ทั้งที่เคยทำได้มาก่อน เคยเขียนอ่านได้ก็ไม่ทำหรือทำได้น้อยลง การนอนเปลี่ยนแปลงไป การทานอาหารผิดปกติ

วิธีป้องกัน และช่วยเหลือหากลูกน้อยไม่ยอมไปโรงเรียน

  1. คุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ปกครองจะต้องสังเกตอาการ และความผิดปกติต่างๆ ของลูกให้ได้ก่อนเป็นอันดับแรก
  2. ลดความกังวลของคุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ปกครองลง แล้วลองพูดคุยสอบถามกับลูก อาจลองใช้7 คำถาม ที่ควรถามลูกหลังกลับจากโรงเรียน
  3. นึกถึงสาเหตุที่อาจเป็นไปได้ หรือเหตการณ์ที่อาจเกิดกับลูกได้
  4. ขอความช่วยเหลือจากคุณครู วางแผนเพื่อช่วยเหลือร่วมกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง
โรคร้าย! ในเด็กวัยทารกแรกเกิด
โรคร้าย! ในเด็กวัยทารกแรกเกิด
02 เมษายน 2022 06:51
เด็กๆ วัยทารกแรกเกิดนั้น มีโรคและอาการที่เกิดแตกต่างจากผู้ใหญ่อย่างเราๆ เพราะอวัยวะภายในร่างกายของเด็กยังต้องเจริญเติบโตตามช่วงวัยเรื่อยๆ ภูมิคุ้มกันโ
เคล็ดลับทานอาหารอย่างไร? ให้สุขภาพดี สมวัย
เคล็ดลับทานอาหารอย่างไร? ให้สุขภาพดี สมวัย
29 มีนาคม 2022 07:41
สำหรับเด็กๆ แล้วการดูแลใส่ใจเรื่องอาหารให้ถูกต้องในแต่ละช่วงวัยเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะหากเด็กๆ ขาดสารอาหาร อาจส่งผลต่อการพัฒนาการทางสมองและร่างกายของ
เช็คอาการโคลิคของลูกน้อย (BABY COLIC)
เช็คอาการโคลิคของลูกน้อย (BABY COLIC)
29 มีนาคม 2022 07:38
เมื่อลูกร้องไห้เป็นเวลานานทำอย่างไรดี? "อาการโคลิค" หรือเปล่า แล้วมันคืออะไรล่ะ อาการโคลิค คืออะไร? อาการโคลิค คือ อาการร้องไห้อย่างหนักโดยไม่ทราบส
คุณแม่มือใหม่: เคล็ดลับดูแลครรภ์
คุณแม่มือใหม่: เคล็ดลับดูแลครรภ์
23 มีนาคม 2022 09:26
คุณแม่มือใหม่ที่เพิ่ง ตรวจครรภ์ แล้วรู้ว่าตัวเองนั้นกำลังตั้งครรภ์ จะต้องมีความกังวลใจเกี่ยวกับการดูแลครรภ์แน่นอนใช่ไหมคะ เพราะกว่าเจ้าตัวเล็กจะลืมตาอ
เมื่อลูกไม่ยอมทานข้าว ทำอย่างไรดี?
เมื่อลูกไม่ยอมทานข้าว ทำอย่างไรดี?
30 มีนาคม 2022 07:24
ในวัยนี้เมื่อลูกน้อยอายุครบ 1 ปี จะเริ่มเรียนรู้ในเรื่องของการปฏิเสธหรือคายอาหาร เนื่องจากมีการพัฒนาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งในวัยนี้สามารถหา