mombieclub
mombieclub
@mombieclub

ปัญหาการได้ยิน: ลูกน้อยกำลังมีปัญหาหรือเปล่า?

ปัญหาการได้ยิน
ปัญหาการได้ยิน

เด็กเล็กๆ หรือทารกแรกเกิด เขายังไม่สามารถบอกเราได้ว่าเขาได้ยินที่เราพูดปกติหรือไม่ คุณพ่อ คุณแม่จึงต้องสังเกตถึงความผิดปกติทางการได้ยินของลูกน้อย เมื่อเรียกชื่อลูกแล้วไม่หันอาจทำให้เสียโอกาสในการพัฒนาทางภาษาและการพูด

โดยพบว่าทารกแรกเกิด 1,000 คน จะมี 1.7 คนที่เกิดมาพร้อมกับความพิการทางการได้ยิน ทารกแรกเกิดทุกคนจึงควรได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยิน ภายใน 14 เดือน เพื่อป้องกันปัญหาพัฒนาการทางภาษา และปัญหาสติปัญญาล่าช้า

ปัญหาการได้ยิน "การได้ยินบกพร่อง"

การได้ยินเป็นส่วนที่สำคัญของการพูด ซึ่งผู้ที่มีปัญหาการได้ยินบกพร่อง อาจจะมีอาการหูอื้อหูตึง (ได้ยินไม่ชัดเจน หรือฟังไม่รู้เรื่อง) หูหนวก (ไม่ได้ยินเสียงเลย) ในเด็กเล็กหากมีการได้ยินผิดปกติ จะทำให้มีพัฒนาการทางภาษาพูดที่ล่าช้า ไม่เหมาะสมกับวัยมีผลกระทบต่อความสามารถในการเรียนรู้ ความจำ พฤติกรรมและพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมต่อไป

เด็กที่มีการได้ยินปกติจะมีพัฒนาการอย่างไร?

นอกจากการพาลูกไปตรวจคัดกรองการได้ยินแล้ว คุณพ่อ คุณแม่สามารถสังเกตการตอบสนองต่อเสียงของลูกในช่วงอายุต่างๆ ได้โดย

สังเกตการตอบสนองต่อเสียงของลูกในช่วงอายุต่างๆ
สังเกตการตอบสนองต่อเสียงของลูกในช่วงอายุต่างๆ

แรกเกิด - 3 เดือน
สะดุ้ง ตื่น ร้องไห้ ลืมตาโต หยุดดูดนม เมื่อได้ยินเสียงดังหันหาเสียงดัง หยุดนิ่งฟังอายุ 3 - 6 เดือน
เงียบ ยิ้ม ตอบสนองต่อเสียงที่คุ้นเคย หันหน้า กรอกตามองหาเมื่อได้ยินเสียงพูดอายุ 6 - 12 เดือน
หันไปหาเสียงพูดที่คุ้นเคยทันที แสดงท่าทาง ทำตามคำสั่งง่ายๆ เข้าใจคำว่า “บ๊าย บาย” มองหาเมื่อได้ยินเสียงแปลกๆ ชี้หรือหยิบของได้เมื่อท่านบอกอายุ 1 - 1 ขวบครึ่ง
เริ่มคำพูดง่ายๆ ได้ พูดเป็นคำ 1 พยางค์อายุ 2 ขวบ
ทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้ พูดคำ 2 พยางค์

ตรวจคัดกรองการได้ยินได้อย่างไร?

ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าไปมาก ทำให้สามารถตรวจการได้ยินในเด็กแรกเกิดได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และผลการตรวจเชื่อถือได้พอควร จึงทำให้มีการตรวจการได้ยินในทารกแรกเกิดกันอย่างแพร่หลาย เพื่อช่วยในการรักษาตั้งแต่ระยะแรกเริ่มซึ่งเครื่องมือที่นิยมใช้ได้แก่

1. การตรวจวัดเสียงสะท้อนจากเซลล์ขนในหูชั้นใน (Otoacoustic Emissions (OAEs))

การตรวจวัดเสียงสะท้อนจากเซลล์ขนในหูชั้นใน (Otoacoustic Emissions (OAEs))
การตรวจวัดเสียงสะท้อนจากเซลล์ขนในหูชั้นใน (Otoacoustic Emissions (OAEs))

การตรวจวัดเสียงสะท้อนจากเซลล์ขนในหูชั้นใน (Otoacoustic Emissions (OAEs)) เป็นการตรวจการทำงานของปลายประสาทรับเสียงในหูชั้นใน ทำโดยใส่เสียงเข้าไปในหูขณะเด็กอยู่นิ่งๆ และวัดเสียงที่เกิดขึ้นจากการทำงานของหูชั้นใน เครื่องจะบันทึกการตอบสนองโดยอัตโนมัติ ทำง่าย ใช้เวลาน้อย ไม่เจ็บปวด สามารถทราบผลทันที และผลมีความเชื่อถือได้มากกว่า 95%

ถ้าผลตรวจแสดงค่าผ่าน (PASS) แสดงว่าการทำงานของหูชั้นกลางและประสาทรับฟังเสียงในหูชั้นในปกติถ้าผลตรวจแสดงค่าส่งต่อเพื่อทำการตรวจซ้ำ (REFER) แสดงว่าอาจเกิดจากภาวะที่เด็กมีสิ่งอุดกั้นต่างๆ ในช่องหู เช่น น้ำคร่ำ ขี้หู ไข ทำให้ไปขัดขวางการตรวจวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน หรือเกิดจากการทำงานของหูชั้นกลางหรือหูชั้นในผิดปกติ ถ้าเป็นอย่างนี้จะต้องตรวจซ้ำเพื่อยืนยันผล ถ้าตรวจซ้ำครั้งที่ 2 และ 3 ยังคงแสดงค่าส่งต่อเพื่อทำการตรวจซ้ำ (REFER) จะต้องทำการตรวจวิธีอื่นเพิ่มเพื่อวินิจฉัยต่อไปค่ะ

หากมีผลตรวจคัดกรองการได้ยินแสดงค่าผ่าน (PASS) ในหูทั้ง 2 ข้างเป็นการแสดงถึง ภาวการณ์ทำงานในหูชั้นในที่ปกติขณะนั้น แต่เด็กอาจมีความผิดปกติของการได้ยินที่เกิดขึ้นภายหลังจากสาเหตุต่างๆ ได้แก่ การติดเชื้อหัด คางทูม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การได้รับยาที่มีพิษต่อหู การฟังเสียงอึกทึก การอักเสบของหูชั้นกลาง ประสาทหูเสื่อมจากกรรมพันธุ์ที่มีอาการภายหลังได้ค่ะ

2. การตรวจการได้ยินระดับการสมอง (Auditory Brainstem Response (ABR))

การตรวจการได้ยินระดับการสมอง (Auditory Brainstem Response (ABR)) เป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของการได้ยินในเด็กเล็ก ทำโดยการติดสื่อนำสัญญาณ (Electrode) เพื่อวัดคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในระบบประสาทหูชั้นในส่วนลึก เมื่อปล่อยเสียงเข้าไปตรวจในหู เด็กต้องหลับสนิท ใช้เวลาในการตรวจประมาณครึ่งชั่วโมง ผลมีความแม่นยำมากกว่า 98%

การตรวจการได้ยินระดับการสมอง (Auditory Brainstem Response (ABR))
การตรวจการได้ยินระดับการสมอง (Auditory Brainstem Response (ABR))

เมื่อไหร่ที่ควรพาลูกน้อยไปตรวจคัดกรองการได้ยิน

คุณพ่อ คุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหู คอ จมูก ทันทีที่สงสัยว่าเด็กมีการได้ยินผิดปกติ หรือมีพัฒนาการทางภาษาล่าช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อปัญหาการได้ยิน ดังต่อไปนี้

มารดาดื่มสุรา สูบบุหรี่ ติดยาเสพติด หรือสารระเหย ระหว่างตั้งครรภ์เด็กมีภาวการณ์เจ็บป่วยหรือจำเป็นต้องได้รับการรักษาในหออภิบาลวิกฤตทารกแรกเกิด (ไอ ซี ยูเด็ก) นานเกิน 48 ชั่วโมงเด็กมีประวัติเจ็บป่วยที่สำคัญในช่วงแรกคลอดจนถึงอายุ 28 วัน เช่น ตัวเหลืองจนได้รับการเปลี่ยนถ่ายเลือด หรือมีปัญหาการหายใจจนต้องได้รับการใส่เครื่องช่วยหายใจเด็กมีความผิดปกติของใบหน้า โดยเฉพาะการผิดปกติการผิดรูปของใบหู และช่องหูเด็กมีประวัติได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะเด็กมีประวัติการติดเชื้อที่ทำให้หูหนวกได้ เช่น หัด คางทูม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และไข้สมองอักเสบเด็กมีประวัติเจ็บป่วยด้วยโรคหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลันบ่อยๆ หรือมีน้ำในหูชั้นกลางติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือนเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือนไม่สะดุ้งตกใจเวลามีเสียงดัง ไม่หันหาเสียง ไม่หยุดร้องเมื่อได้ยินเสียงปลอบไม่เล่นน้ำลายหรือส่งเสียงอืออาเด็กอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 1 ปี แต่ไม่ตอบสนองต่อเสียง เรียกชื่อ ไม่เข้าใจคำสั่งง่ายๆเด็กอายุระหว่าง 1-2 ปี แต่ยังไม่สามารถพูดคำที่มีความหมาย หรือพูดได้น้อยกว่า 20 คำ ไม่ตอบสนองต่อเสียงแม่มีประวัติการติดเชื้อหัดเยอรมัน ซิฟิลิส ไข้สุกใสตั้งแต่ตั้งครรภ์มีประวัติครอบครัวหรือเครือญาติที่มีเด็กหูหนวก หรือเป็นใบ้ตั้งแต่กำเนิด

สามารถรักษาได้หรือไม่?

การรักษาให้หายขึ้นอยู่กับสาเหตุ หากเกิดจากโรคของหูชั้นนอก และหูชั้นกลางสามารถรักษาได้ด้วยยาหรือการผ่าตัด แต่หากเกิดจากโรคของหูชั้นใน หรือประสาทหู มี 2 ทางเลือกให้รักษา คือ

สามารถรักษาได้หรือไม่?
สามารถรักษาได้หรือไม่?

การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมการฟื้นฟูสมรรถภาพ การได้ยินด้วยเครื่องช่วยฟังซึ่งจะทำหน้าที่ในการขยายเสียงที่เข้าสู่หูให้มีความดังมากพอที่จะได้ยิน เครื่องช่วยฟังเป็นอุปกรณ์ขยายเสียงที่มีประสิทธิภาพสูง และมีกลไกที่สามารถปรับแต่งคุณภาพเสียง ให้เหมาะกับการได้ยินของแต่ละบุคคลได้ การใช้เครื่องช่วยฟังจะไม่ทำให้ประสาทหูเสื่อมเพิ่มขึ้น

เมื่อใส่เครื่องช่วยฟังคุณพ่อ คุณแม่ ควรเรียนรู้วิธีการดูแลรักษาเครื่อง เพื่อกระตุ้นให้ลูกใส่เครื่องช่วยฟังตลอดเวลาที่ตื่น ทำให้คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมที่มีเสียง นอกจากนี้จำเป็นจะต้องพาลูกมารับการฝึกจำแนกเสียงและฝึกพูดเป็นระยะๆ ตามลำดับด้วยนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง
ของเล่น: เลือกให้ลูกอย่างไรดี
ของเล่น: เลือกให้ลูกอย่างไรดี
02 สิงหาคม 2022 09:14
ของเล่นเด็ก ของเจ้าตัวน้อยไม่ใช่แค่การเล่นเฉยๆ เท่านั้น แต่ควรจะมาคู่กับการเสริมสร้างพัฒนาการให้เจ้าตัวน้อย คุณพ่อคุณแม่มือใหม่คงสงสัยกันแล้วว่าจะเลือ
ความมั่นใจ: ลูกขาดความมั่นใจ
ความมั่นใจ: ลูกขาดความมั่นใจ
09 สิงหาคม 2022 03:07
เมื่อลูกน้อยเป็นเด็กที่ไม่มีความมั่นใจ ไม่มีความนับถือในตัวเอง พ่อแม่หลายคนคงไม่อยากเห็นลูกเป็นแบบนี้แน่นอน เมื่อคุณเห็นว่าลูกขาดความมั่นใจ คุณต้องหาว
ทำความเข้าใจ และรับมือกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
ทำความเข้าใจ และรับมือกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
16 สิงหาคม 2022 03:01
ในช่วงเวลาหลังคลอด จะเป็นช่วงเวลาแห่งความภูมิใจของคุณแม่ ความตื่นเต้น และน่ายินดี แต่กลับไม่น่าเชื่อว่าคุณแม่หลังคลอดจำนวนมาก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับ