Articles

8 สัญญาณเตือนว่าลูกอาจเผชิญเรื่องรุนแรงในโรงเรียน

Article Thumbnail

8 สัญญาณเตือนว่าลูกอาจเผชิญเรื่องรุนแรงในโรงเรียน

พร้อมวิธีการรับมือ

ใจจะขาดนะคะเมื่อเห็นข่าวเด็กๆ ที่เจอความรุนแรงที่โรงเรียน คนเป็นแม่ดูแลด้วยความรักเลือกโรงเรียนที่เชื่อว่าดี สุดท้ายโรงเรียนกลับกลายเป็นสถานที่ไร้หัวใจ เด็กถูกกระทำรุนแรงจนยากจะให้อภัยได้ สิ่งร้ายที่สุดคือ ความรุนแรงนี้จะเกาะติดอยู่ในจิตใต้สำนึกมีผลต่อชีวิตของเขาเมื่อโตขึ้น

 

ดีที่สุดคือเราต้องสังเกตกันมากขึ้นกว่าที่เคยนะคะ วันนี้แม่มัมบี้มีวิธีการสังเกตลูกมาฝากกันค่ะ

 

เสื้อผ้าและอุปกรณ์การเรียนมีร่องรอยฉีกขาด

มองหาร่องรอยขาด รอยยับผิดปกติกับเสื้อผ้า ดูที่กระดุม ดูแขนเสื้อ ชายเสื้อกระโปรงกางเกง และลองตรวจเช็กในกระเป๋าลูกดูบ้าง ดูสมุดหนังสือ หน้ากระดาษถูกฉีกถูกขยี้หรือไม่ อุปกรณ์มีอะไรแตกหักไหม

 

ร่างกายมีแผลหรือรอยฟกช้ำ

ดูง่ายที่สุดคือตอนอาบน้ำ ตอนเช้าแม่ควรสังเกตกันก่อน พอถึงตอนเย็นก็ตรวจเช็กกันอีกที และในจุดที่เสื้อผ้าปกปิดคือจุดสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเลย บางทีร่องรอยไม่ได้เกิดชัดแต่พอเราจับหรือลองจิ้มๆ เด็กจะสะดุ้งร้องหากเขาถูกกระทำรุนแรงจนช้ำในจุดนั้น

 

พอถามถึงเรื่องที่โรงเรียนแล้วไม่พูดไม่ตอบ

เชื่อว่าแม่ทุกคนคุยกับลูกบ่อยๆ ถามบ่อยๆ เรื่องที่โรงเรียนเป็นไง วันอื่นเคยตอบบ้างพูดบ้าง จู่ๆ วันนี้เขาไม่ตอบ ไม่พูด หรือบ่ายเบี่ยง ก็เป็นอันต้องสงสัยไว้ก่อนว่าอาจมีอะไรเกิดขึ้นที่โรงเรียน

 

เมื่อเอ่ยชื่อใครบางคนแล้วมีอาการกลัว

เมื่อเราพูดถึงชื่อครู ชื่อเพื่อนบางคน แล้วเด็กเกิดอาการกลัว เสียงสั่น ไม่พูดอะไรต่อ เราก็ต้องค่อยๆ ตะล่อมถามต่อเพื่อหาคำตอบว่ามีอะไรเกิดขึ้น

 

เริ่มไม่อยากไปโรงเรียน

เช้ามาวันนี้งอแงร้องไห้ไม่ยอมไป หรือ พอถึงหน้าโรงเรียนก็โยเยไม่ลงจากรถแบบผิดรูปแบบจากที่เคยเป็นทุกวัน ต้องรีบถามหาสาเหตุกันก่อนจะส่งเข้าโรงเรียนนะคะ

 

เหม่อลอย ซึม ไม่กระตือรือร้น ผลการเรียนตก

พฤติกรรมลูกคนเป็นแม่รู้ดีที่สุด เขาหงอย ซึม แปลกไปแค่ไหน เหล่านี้เป็นเหตุสังเกตได้ง่าย เพียงคุณแม่ต้องตั้งสติแยกให้ออกว่าเขาป่วย เขางอน หรือโกรธอะไรกับเรากับพี่น้องหรือเปล่า ถ้าไม่ก็อาจจะมีเหตุจากที่โรงเรียน

 

ผวา ฝันร้าย กลัวการอยู่คนเดียว

บางทีการฝันร้าย ผวา อาจเกิดจากการเล่นของเขาในวันนั้น หรือสิ่งที่ดูจากมือถืออาจมีสิ่งน่ากลัว อาการนี้จึงจำเป็นต้องพิจารณาจากข้ออื่นๆ มาประกอบกันด้วย

 

มีพฤติกรรมใช้ความรุนแรง

จุดสังเกตง่ายที่สุดคือคำพูด หากเขาตะโกนคำที่เราไม่เคยได้ยิน คำแปลกๆ หู ต่อมาคือการกระทำ เขวี้ยงของ จิกดึงแขน กระชากเสื้อเรา ตีเราตีตัวเอง เรื่องนี้ละเอียดอ่อนเพราะบางทีพฤติกรรมเหล่านี้อาจไม่ได้มาจากโรงเรียนเสียทีเดียว เด็กอาจจะเห็นมาจากมือถือจากทีวีหรือจากตัวพ่อแม่เองที่พลั้งเผลอ

 

แล้วจะรับมืออย่างไรต่อหากสงสัยว่าลูกโดนกระทำรุนแรงที่โรงเรียน

อย่างแรกคอต้องค่อยๆ ถาม และทำให้เขารู้สึกปลอดภัยที่จะพูด เพราะคนที่ทำรุนแรงมักจะขู่ให้เขากลัวจนไม่กล้าเอ่ยปากกับใคร หลักการคือ ต้องหาวิธีพูดให้เขารู้ว่าเราปกป้องเขาได้ ต้องพยายามให้เขาพูดจนครบจบก่อน ไม่ควรพูดบอกว่า ไม่เป็นไรใครมาแกล้งมากระทำอย่าสนใจ คำที่มีความหมายแบบนี้จะทำให้เด็กไม่มั่นใจในตัวเรา ไม่มั่นใจว่าเราจะช่วยเขาได้ซึ่งยิ่งทำให้เขาไม่อยากจะเล่า

 

ต่อมาคือการสืบข้อมูล หาพยานที่ร่วมเห็นเหตุการณ์ ซึ่งก็คือเด็กๆ ที่อยู่ในห้องเดียวกันนี่แหละเข้าไปกรุ๊ปผู้ปกครองค่ะตั้งสติก่อนแล้วค่อยเข้าไปถามไถ่กัน อีกสิ่งที่ต้องทำคู่กันคือการเก็บหลักฐานภาพถ่ายต่างๆ ถ่ายเอาไว้ให้ครบ และรีบติดต่อครูประจำชั้น แจ้งโรงเรียนทันที สอบถาม ขอดูวิดีโอในห้องเรียนและหากเรื่องที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงมากให้แจ้งตำรวจไว้ด้วยเลยค่ะ

 

ส่วนในด้านจิตใจคนแรกที่เยียวยาได้ดีที่สุดก็คือคนเป็นพ่อแม่ ต้องทำให้เขาอุ่นใจรู้สึกปลอดภัยไม่ต้องกลัวอะไรอีก และควรปรึกษาคุณหมอด้วย หากเรื่องที่เกิดขึ้นมีความรุนแรง และมีผลต่อพฤติกรรมของเขา

 

Please login to comment. Login
Related Articles
ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD โรคทางพันธุกรรม ที่แม่มือใหม่ต้องรู้!?
25 January 2023 03:34
“G6PD” (Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase) เป็นเอนไซม์ในเม็ดเลือดแดงมีหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยในการให้เซลล์เม็ดเลือดแดงทำงานได
ฝึกลูกตั้งไข่คืออะไร? มีผลต่อการพัฒนาสมองจริงไหม?!
3 January 2023 08:11
เมื่อลูกน้อยสุดที่รักของคุณหัดคลานได้คล่องแล้ว หลังจากนั้นพัฒนาการต่อมาเมื่อเข้าสู่ช่วงวัย 8-12 เดือน คุณพ่อคุณแม่จะเห็นได้ชัดเลยว่าลูกของคุณเริ่มที่จ
เคล็ดลับ…..(ที่ไม่ลับ) ในการจัดการ “อารมณ์ทางลบ”
7 February 2023 03:15
มันขุ่นใจ หมองใจ อึดอัดใจ โดยหาสาเหตุไม่ได้ หรืออาจเกิดจากความผิดหวังที่ไม่เป็นไปตามที่หวัง เช่น คุณพ่อบ้านมัวแต่เล่นมือถือ ไม่ช่วยเลี้ยงลูก น้ำนมไหลไ
เศร้า…..หลังคลอด???
1 February 2023 03:25
รู้สึกเศร้า หดหู่ น้อยใจ ทุกข์ใจ ท้อแท้ เหนื่อยหน่าย นอนไม่หลับ ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล เป็นต้น
ลูกน้อยกินโยเกิร์ตได้ไหม? สงสัยหรือไม่?
5 January 2023 04:20
ปกติแล้วเด็กแรกเกิดถึงอายุ 6 เดือน แพทย์จะแนะนำให้ดื่มนมแม่เป็นอาหารหลัก เพราะมีสารอาหารครบถ้วนต่อความต้องการของลูก และเมื่อลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไปจึงเร