Mombiestreet
Mombiestreet
@mombiestreet

เคล็ดลับทานอาหารอย่างไร? ให้สุขภาพดี สมวัย

เคล็ดลับทานอาหารอย่างไร? ให้สุขภาพดี สมวัย
เคล็ดลับทานอาหารอย่างไร? ให้สุขภาพดี สมวัย

🥗 เคล็ดลับทานอาหารอย่างไร? ให้สุขภาพดี สมวัย

สำหรับเด็กๆ แล้วการดูแลใส่ใจเรื่องอาหารให้ถูกต้องในแต่ละช่วงวัยเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะหากเด็กๆ ขาดสารอาหาร อาจส่งผลต่อการพัฒนาการทางสมองและร่างกายของเด็ก รวมไปถึงสุขภาพในระยะยาว คุณพ่อคุณแม่จึงต้องรู้จักเลือกอาหารตามวัยเพื่อให้เด็กๆ มีสุขภาพที่ดีด้วย เรามีเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ เพื่อการเตรียมอาหารตามวัยและทำอาหารที่อุดมประโยชน์ มาดูกันค่ะ

1. ดื่มนมเสริมแคลเซียม

แคลเซียมมีหน้าที่ส่งผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของเด็กๆ ให้สูงสมวัย เพราะเพิ่มในเรื่องความหนาแน่นมวลกระดูกและการขยายตัวของกระดูก ที่ส่งผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของเด็กๆ ให้สูงสมวัยค่ะ

คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้เด็กๆ ดื่มนม UHT 2 – 4 กล่องต่อวัน เพราะว่านมหนึ่งกล่องปริมาณ 250 มิลลิลิตร จะมีแคลเซียมอยู่ที่ประมาณ 240 มิลลิกรัม และยังมีสารอาหารอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตและช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น เช่น แลคโตสและวิตามินดี เป็นต้น

2. ทานให้หลายหลาย ทานผักและผลไม้

การทานอาหารที่หลากหลายจะช่วยให้เด็กๆ ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน และยังช่วยให้เด็กๆ รู้สึกแปลกใหม่กับการได้ลองชิมอาหารหลายๆ แบบ คุณพ่อคุณแม่สามารถอธิบายเรื่องวัตถุดิบที่นำมาใช้ทำอาหารได้อีกด้วยนะคะ

ควรหลีกเลี่ยงผักผลไม้ในรูปแบบน้ำกระป๋อง หรือน้ำผลไม้แบบกล่อง เพราะสารอาหารในบางส่วนหายไป ไม่มีใยอาหารเหมือนที่ทานจากผักผลไม้โดยตรง และส่วนใหญ่จะมีปริมาณน้ำตาลสูงอีกด้วยนะคะ

3. ลดอาหารที่มีความหวาน มัน และเค็ม

หากคุณพ่อคุณแม่ให้เด็กๆ ทานน้ำตาลมากเกินไป พลังงานที่ใช้ไม่หมดจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในร่างกายทำให้ลูกน้ำหนักเกิน และยังเสี่ยงเกิดโรคในอนาคต เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และโรคอื่นๆ ตามมมาได้ค่ะ

  • ควรเน้นการทำอาหารประเภทต้ม นึ่ง อบ หรือยำ
  • หลีกเลี่ยงการทานขนมหวานและขนมกรุบกรอบ เช่น มันฝรั่งทอด เป็นต้น
  • เลือกใช้เนื้อสัตว์ที่มีไขมันน้อย ไม่ติดมัน เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ และเนื้อหมูสันใน

4. เลือกสัดส่วนอาหารให้เหมาะสม

คุณพ่อคุณแม่สามารถจัดอาหารตามวัย เพื่อให้ลูกได้สารอาหารตามหลักโภชนาการ ในปริมาณที่เหมาะสม โดยใช้สูตร 2:1:1 ได้นะคะ แบ่งเป็น

  • 2 ส่วน : ผักและผลไม้ (ครึ่งหนึ่งของจาน) ควรสลับเปลี่ยนผักผลไม้ในทุกวัน เพื่อให้ลูกได้ทานผักหลากหลาย หรือหากเขาทานผักยาก อาจให้ผลไม้เพิ่มหลังมื้ออาหาร โดยเลือกผลไม้ที่หวานน้อย เช่น ฝรั่ง แอปเปิลเขียว เป็นต้น
  • 1 ส่วน : ข้าวหรือแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) ที่ได้มาจากข้าว เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นพาสต้า หรือพืชหัว เช่น เผือก มัน หรือธัญพืชต่างๆ ช่วยให้ลูกได้วิตามิน และใยอาหารเพิ่มมากขึ้น
  • 1 ส่วน : เนื้อสัตว์ (โปรตีน) ควรเลือกโปรตีนที่ย่อยง่าย ไขมันต่ำ เช่น ปลากะพง ปลาแซลมอน เนื้อหมูไม่ติดมัน และเนื้อไก่ไม่เอาหนัง เป็นต้น

ใช้การกะสัดส่วนง่ายๆ ไม่ต้องเป๊ะมากก็ได้นะคะ เช่น

  • เด็กก่อนวัยเรียน ให้ทานผัก 1 ทัพพี : ข้าวครึ่งทัพพี : เนื้อสัตว์ครึ่งทัพพี
  • เด็กวัยเรียน ให้ทานผัก 2 ทัพพี : ข้าว 1 ทัพพี : เนื้อสัตว์ 1 ทัพพี

การดูแลให้ลูกมีน้ำหนักส่วนสูงสมวัย เริ่มต้นได้จากการปลูกฝังพฤติกรรมการทานที่ดี จัดอาหารให้เหมาะสมกับวัยตั้งแต่เด็ก จะช่วยส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถออกไปได้เรียนรู้และมีพัฒนาการที่ดี ลดความเสี่ยงเป็นโรคกลุ่ม NCDs ในอนาคตอีกด้วยค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง
ลูกน้อยกินโยเกิร์ตได้ไหม? สงสัยหรือไม่?
ลูกน้อยกินโยเกิร์ตได้ไหม? สงสัยหรือไม่?
05 มกราคม 2023 04:20
ปกติแล้วเด็กแรกเกิดถึงอายุ 6 เดือน แพทย์จะแนะนำให้ดื่ม นมแม่ เป็นอาหารหลัก เพราะมีสารอาหารครบถ้วนต่อความต้องการของลูก และเมื่อลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไปจึง
ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD โรคทางพันธุกรรม ที่แม่มือใหม่ต้องรู้!?
ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD โรคทางพันธุกรรม ที่แม่มือใหม่ต้องรู้!?
25 มกราคม 2023 03:34
“G6PD” (Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase) เป็นเอนไซม์ในเม็ดเลือดแดงมีหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยในการให้เซลล์เม็ดเลือดแดงทำงานได
ตั้งไข่: ฝึกลูกตั้งไข่คืออะไร? มีผลต่อการพัฒนาสมองจริงไหม?!
ตั้งไข่: ฝึกลูกตั้งไข่คืออะไร? มีผลต่อการพัฒนาสมองจริงไหม?!
03 มกราคม 2023 08:11
เมื่อลูกน้อยสุดที่รักของคุณหัดคลานได้คล่องแล้ว หลังจากนั้นพัฒนาการต่อมาเมื่อเข้าสู่ช่วงวัย 8-12 เดือน คุณพ่อคุณแม่จะเห็นได้ชัดเลยว่าลูกของคุณเริ่มที่จ