Articles

ลูกติดขวดไม่เอาเต้า ลูกติดเต้าไม่เอาขวด

Article Thumbnail

 

เจ้าตัวน้อยของคุณแม่เป็นแบบไหนกันจ๊ะ

จริงๆ ทั้งสองกรณีนี้จะไม่ใช่ปัญหาถ้าเป็นคุณแม่แบบ FULL TIME จะพอใจกับการที่ลูกติดเต้าไม่เอาขวด ขณะเดียวกันถ้าเป็นคุณแม่ที่ต้อง WORKING ก็ต้องพอใจกับการที่ลูกติดขวดไม่เอาเต้า แต่ปัญหาอยู่ที่การติดอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไปนี่แหละ อย่างคุณแม่ที่อยู่บ้านเลี้ยงลูกมีเวลาดูแลลูกรักทั้งวันจับเข้าเต้ากันได้ตลอด แต่เมื่อแม่มีธุระต้องออกนอกบ้านกลับฝากลูกไว้กับคนอื่นไม่ได้เพราะจะงอแงเอาเต้าท่าเดียวไม่เอาขวด ส่วนคุณแม่ที่ต้องทำงานส่วนใหญ่แล้วก็จะให้ลูกกินขวดตั้งแต่ไม่กี่เดือนแรกเลย ใช้เครื่องปั๊มเก็บน้ำนมไว้ให้ลูกดูดในช่วงที่ต้องทำงานจนลูกติดใจการกินขวดเพราะน้ำนมออกง่ายไหลแรงต่างจากเต้าแม่ที่ต้องออกแรง พอเป็นแบบนี้ลูกไม่ได้ดูดกระตุ้นน้ำนมพาลให้คุณแม่มีน้ำนมน้อยเป็นปัญหากลัดกลุ้มที่พบบ่อยในแม่หลายคน

 

ลูกติดขวดมากไปทำอย่างไรดี? ลูกติดเต้ามากไปทำอย่างไรดี? สองกรณีนี้เรามีวิธีมาแนะนำแก้ปัญหาเวลาที่ลูกติดอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป

Mother kissing a baby who is drinking from a bottle Free Photo

5 วิธีให้ลูกไม่ติดเต้า

1. ฝึกให้ดูดจุกยาง โดยสลับกับการป้อนนมจากเต้า ลองสลับกันไปหลายครั้งระหว่างให้นม

2. เลือกจุกนมที่คล้ายจุกนมของแม่ หาที่มีความยืดหยุ่นนุ่มนิ่ม แนะนำเป็นแบบที่ทำจากยางธรรมชาติค่ะ

3. เปลี่ยนท่าป้อน คุณแม่อาจจะลองป้อนด้วยท่านั่งลำตัวตั้งตรง แล้วค่อยๆ ประคองลูกน้อยนั่งบนตัก โดยให้ศีรษะของเค้าพิงอยู่กับอกเราและขณะป้อนควรให้นมไหลช้าๆ

4. ใช้วิธีป้อนแบบอื่น ให้ลูกจิบนมจากถ้วยหรือช้อน ถ้าเด็กโตหน่อยก็ฝึกให้ดูดจากหลอด แต่ถ้าลูกไม่ยอมกินนมสต๊อกเพราะรสชาติไม่ดีเท่านมจากเต้า ให้คุณแม่ผสมนมเก่ากับนมใหม่ในปริมาณ 10:90 แล้วค่อยๆ เพิ่มสัดส่วนไปเรื่อยๆ และที่สำคัญนมที่สต๊อกต้องอุ่นนะ

5. ลองให้คนอื่นป้อนนมแทนคุณแม่ ในช่วงแรกลูกจะร้องไห้งอแงคุณแม่ควรอดทนไว้ เมื่อเค้าหิวแล้วรู้ว่าไม่มีนมจากอกแม่เค้าจะยอมดูดนมจากขวดเอง

 

A young mother breastfeeds a baby. Premium Photo

5 วิธีให้ลูกไม่ติดขวด

1. อย่าพยายามจับเข้าเต้าตอนหิวจัด รอให้อารมณ์ดีหรือตอนง่วงนอนแล้วค่อยเอาเข้าเต้า ใช้เวลานะไม่ได้สำเร็จในครั้งแรกหรอก

2. ปล่อยให้เป็นเรื่องของแม่กับลูก ไม่ควรมีคนอื่นมารุมล้อมวุ่นวาย คุณแม่ต้องสร้างบรรยากาศความสุขระหว่างแม่กับลูก ให้อกและอ้อมแขนแม่ที่อบอุ่นสัมผัสร่างกายเขามากที่สุด เมื่อเขาดูดขวดเพลินๆ มีความสุขคุณแม่ลองหาจังหวะเปลี่ยนมาเข้าเต้าดู

3. เลือกจุกนมที่คล้ายจุกนมของแม่ บางทีจุกที่ใช้เป็นแบบรูใหญ่น้ำนมไหลแรงเด็กติดใจ ลองเปลี่ยนแบบให้กลับมาคล้ายจุกของเต้าคุณแม่ที่ทำจากยางธรรมชาติจนเคยชิน แล้วการจับเข้าเต้าอาจง่ายขึ้น

4. ปั้มนมออกจากเต้าก่อนเล็กน้อย เพราะบางกรณีคุณแม่ที่มีนมมากน้ำนมจะไหลแรงเกินไป พอจับลูกเข้าเต้าก็สำลัก

5. ตื้อและตื้อเท่านั้นค่ะ ข้อนี้ไม่อธิบายอะไรมาก นอกจากจะให้กำลังใจคุณแม่ค่ะ เพราะหลายปัญหาต้องใช้ความรัก เวลา ความพยายาม จึงจะแก้ปัญหานั้นได้

0
Please login to comment. Login
Related Articles
เศร้า…..หลังคลอด???
1 February 2023 03:25
รู้สึกเศร้า หดหู่ น้อยใจ ทุกข์ใจ ท้อแท้ เหนื่อยหน่าย นอนไม่หลับ ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล เป็นต้น
ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD โรคทางพันธุกรรม ที่แม่มือใหม่ต้องรู้!?
25 January 2023 03:34
“G6PD” (Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase) เป็นเอนไซม์ในเม็ดเลือดแดงมีหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยในการให้เซลล์เม็ดเลือดแดงทำงานได
8 เคล็ดลับบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับคุณแม่
24 March 2023 06:29
แม่ยุคนี้ส่วนใหญ่เป็น Working Mom คนเก่งที่นอกจากเลี้ยงลูกก็ยังต้องทำงาน ไหนจะเรื่องดูแลกันในบ้าน และอะไรอีกหลายอย่างเลย แม้จะมีคุณพ่อช่วยก็ตามทีแต่เว
วิธีรับมือและป้องกัน เมื่อลูกน้อยหกล้ม!!
24 March 2023 05:50
การหกล้มของลูกน้อยวัยซน เป็นอุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ยิ่งกับเด็กวัยหัดเดินขึ้นไป ซึ่งอาจทำให้ลูกน้อยได้รับบาดเจ็บที่ไม่ร้ายแรง ไปจนถึงขั
เคล็ดลับ…..(ที่ไม่ลับ) ในการจัดการ “อารมณ์ทางลบ”
7 February 2023 03:15
มันขุ่นใจ หมองใจ อึดอัดใจ โดยหาสาเหตุไม่ได้ หรืออาจเกิดจากความผิดหวังที่ไม่เป็นไปตามที่หวัง เช่น คุณพ่อบ้านมัวแต่เล่นมือถือ ไม่ช่วยเลี้ยงลูก น้ำนมไหลไ
Street
Articles
Club
Noti
Me