Mombiestreet
Mombiestreet
@mombiestreet

เก็บรักษาน้ำนมแม่ให้คงคุณค่าเสมือนดื่มจากเต้า

เก็บรักษาน้ำนมแม่ให้คงคุณค่าเสมือนดื่มจากเต้า

การปั๊มน้ำนมเก็บไว้ให้ลูกดื่มได้เลยทันทีตามเวลาที่ลูกต้องการ เป็นอีกหนึ่งความสะดวกของคุณแม่ ยิ่งคุณแม่มีธุระการงานออกไปข้างนอกบ้านบ่อยๆ หรือไม่ค่อยมีเวลาอยู่กับลูกมากนัก การปั๊มน้ำนมเก็บไว้ทำให้การเลี้ยงลูกของคุณแม่ 2019 ง่ายไวแบบ 5 G เลยละ 

 

แต่มีคำถามตามมาว่า น้ำนมที่ปั๊มออกจากเต้ามาเก็บใส่ถุง ใส่ขวด แช่ตู้เย็นไว้ จะมีคุณภาพดีเหมือนให้ลูกดื่มสดๆ จากเต้าของแม่หรือไหม?

 ตอบ... ไม่เทียบเท่า แต่คุณภาพไม่ได้ลดลงมากเท่าไรหนัก ยังมีคุณสมบัติที่ดีและมีประโยชน์มากกว่านมผงที่ชงใหม่ๆ เพราะในน้ำนมแม่ยังคงอุดมไปด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาว สารภูมิคุ้มกัน เอ็นไซม์ ฮอร์โมน สารต้านมะเร็ง ที่ยังสมบูรณ์ มีสารอาหารและสารสำคัญต่างๆ มากกว่า 200 ชนิด แม้จะลดลงไปบ้างตามระยะเวลาที่เก็บ นานสุดคือเก็บไว้ 1 ปี ยังมีสารสำคัญต่างๆ เหลืออยู่เกือบครึ่ง

 

หากสิ่งที่ต้องระวังให้มาก คือ เรื่องของความสะอาด ตั้งแต่การใช้เครื่องปั๊มนม ภาชนะบรรจุ การจัดเก็บ 

 

 แล้วน้ำนมสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 1 ปี แต่ขึ้นอยู่กับการจัดเก็บด้วย ที่เก็บได้นาน ต้องแช่แข็ง มีตู้เย็นที่มีช่องแช่แข็งโดยเฉพาะ ตู้เย็นต้องไม่เปิดปิดบ่อย หรือมีข้าวของอื่นๆ ปนเปื้อนสารเคมีบรรจุร่วมในตู้นั้น

 ถ้าอยากให้ลูกได้ดื่มนมคุณภาพเทียบเท่าจากดื่มนมจากเต้า ก็ต้องระมัดระวังตั้งแต่ขั้นตอนการจัดเก็บ ไปจนถึงระยะเวลาเก็บ และการนำออกมาให้ลูกดื่ม 

 

1.เริ่มต้นที่ภาชนะเก็บน้ำนม ถ้าใช้เป็นถุงเก็บน้ำนม ให้รูดซิปปิดให้สนิทโดยเหลือที่เผื่อสำหรับอากาศในถุงด้วย เพราะเมื่อนำน้ำนมไปแช่แข็งแล้วจะทำให้เกิดการขยายตัว หรือใช้ขวดแก้วที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนแล้ว ให้เหลือที่ว่างในขวดไว้ประมาณครึ่งนิ้ว ปิดฝาขวดให้สนิท 

 

2.ควรเก็บน้ำนมต่อถุงในปริมาณที่เพียงพอให้ลูกกินในแต่ละมื้อ และไม่เก็บสต๊อกไว้นานจนเกินไป หากไม่มีความจำเป็นอันควร

 

3.การเก็บน้ำนมแม่นั้นสามารถเก็บไว้ได้ ทั้งในอุณภูมิห้อง มีอายุการใช้งานได้ถึง 4-6 ชั่วโมง (อากาศร้อนมีผลต่อการเก็บรักษา อากาศยิ่งร้อนระยะเวลาในการเก็บน้ำนมก็จะสั้นลง) ในตู้เย็น เก็บไว้ได้ 8 วัน ห้องแช่แข็งตู้เย็นปกติ เก็บได้ 2 สัปดาห์ กระติกน้ำแข็ง เก็บได้ 1 วัน กระเป๋าเก็บความเย็น  เก็บได้ 12 ชั่วโมง ช่องแช่แข็งของตู้เย็นแยกประตู เก็บได้นาน -3 เดือน ขึ้นกับการเปิดปิดบ่อยหรือไม่ ตู้แช่แข็งอุณหภูมิ ลบ 20 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 1 ปี

 

4.หากเก็บน้ำนมไว้ระยะหนึ่ง เมื่อนำมาใช้แล้วเห็นว่าน้ำนมแยกตัวออกจากกัน คือเป็นส่วนของน้ำ และไขมันที่ลอยอยู่ด้านบน ไม่ต้องตกใจไป เพียงเขย่าน้ำนมให้เข้ากัน ก็สามารถนำมาใช้ได้ตามปกติ

 

5.หากจะนำน้ำนมแช่แข็งออกมาใช้ ให้นำลงมาแช่ไว้ในช่องเย็นธรรมดา ล่วงหน้า 1 คืน เพื่อให้น้ำนมค่อยๆ ละลาย เมื่อจะให้ลูกดื่ม ค่อยนำออกมาวางไว้นอกตู้เย็น ทิ้งไว้ให้หายเย็น โดยน้ำนมที่วางไว้นอกตู้เย็น อยู่ได้ประมาณ 4 – 6 ชั่วโมง หรือถ้าต้องการให้น้ำนมละลายเร็ว นำไปแกว่งในน้ำเพื่อให้หายเย็น ห้ามใช้น้ำร้อนหรือไมโครเวฟเด็ดขาด เพราะความร้อนจะทำให้สารอาหารที่มีประโยชน์ในน้ำนมสูญเสียไป

 

6.น้ำนมที่นำมาใช้แล้ว หากเหลือห้ามนำกลับไปแช่แข็งอีก ทิ้งไปเลยค่ะ

 

7.ควรจดเลขวันที่เดือนที่แช่น้ำนมด้วย เวลาหยิบมาใช้ ให้นำน้ำนมเก่ามาละลายให้ลูกดื่นก่อน ตามลำดับ หรือ นำน้ำนมใหม่สุดครึ่งหนึ่ง และนมเก่าสุดครึ่งหนึ่ง ผสมกันก็ได้ เพื่อให้ลูกได้รับวิตามินและสารอาหารที่ดีที่สุด แต่ไม่ต้องกังวลว่า นมเก่าคุณค่าของสารอาหารจะน้อยนะคะ เพราะอย่างไร นมเก่าก็มีประโยชน์มากกว่านมผงแน่นอนค่ะ

 

8. ถ้าเก็บน้ำนมไว้นานเกินระยะเวลาที่สามารถคงคุณค่าสารอาหารของน้ำนมได้ ให้ทิ้งทันที ไม่ควรนำไปบริจาค หรือดัดแปลงใช้ทำอย่างอื่น

 

แนะนำอ่านเพิ่มเติม เทคนิคการปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้า 

บทความที่เกี่ยวข้อง
สอนลูกให้รู้ เรื่องความฉลาดทางอารมณ์ ได้อย่างไร และต้องเริ่มที่ตรงไหน
สอนลูกให้รู้ เรื่องความฉลาดทางอารมณ์ ได้อย่างไร และต้องเริ่มที่ตรงไหน
23 พฤศจิกายน 2023 08:33
คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจกำลังสนใจเรื่องการฝึกความฉลาดทางอารมณ์  หรือ EQ ไม่ใช่เรื่องไม่ยาก เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่ใส่ใจต่อพัฒนาการของลูกในแต่ละช่วงวัย และ ทำความเข้าใจกับธรรมชาติของลูกในแต่ละช่วงวัย
ลูกติดจอนาน เสี่ยงกระจกตาอักเสบ จริงไหม ?
ลูกติดจอนาน เสี่ยงกระจกตาอักเสบ จริงไหม ?
16 สิงหาคม 2023 03:23
จริง ใช่ว่าการใช้จอคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ต่อเวลานานอาจเสี่ยงต่อปัญหาต่างๆ เช่น กระจกตาอักเสบ อาการเหนื่อยตา และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพตาได้ โดยเฉพาะเมื่อใช้จอในระยะเวลานานๆ
ฝึกพูด: ฝึกลูกพูดอย่างไร ให้มีพัฒนาการสมวัย
ฝึกพูด: ฝึกลูกพูดอย่างไร ให้มีพัฒนาการสมวัย
14 มิถุนายน 2022 04:14
ลูกน้อยในช่วง 1-12 เดือน จะมีพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไป ในช่วง 3-6 เดือน จะสามารถทำเสียงอ้อแอ้ (Babbling) เมื่อมีความพึงพอใจหรือไม่พอใจได้ ช่วง 6-9 เด

เตรียมความพร้อม สำหรับมื้อแรกของลูกรัก
เตรียมความพร้อม สำหรับมื้อแรกของลูกรัก
14 มิถุนายน 2022 04:16
วันนี้จะมาแนะนำอุปกรณ์สำหรับคุณแม่มือใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่เจ้าตัวเล็กจะทานมื้อแรก นอกจาก นมแม่ กันค่ะ