โยเกิร์ต เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนม มีโปรตีนสูง มีคาร์โบไฮเดรต และ

mombieclub
โยเกิร์ต เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนม มีโปรตีนสูง มีคาร์โบไฮเดรต และแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม และโพแทสเซียม มีไขมันต่ำ ช่วยในการย่อยอาหารและกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทาน ทำลายแบคทีเรียตัวร้ายในระบบทางเดินอาหารและมีประโยชน์เหมือนนมทั่วไป คือ มีแคลเซียมและโปรตีนสูง แต่สิ่งที่ โยเกิร์ต พิเศษกว่านมและผลิตภัณฑ์นมประเภทอื่นคือ มีจุลินทรีย์ แลคโตบาซิลัส (Lactobacillus) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์สุขภาพที่ช่วยดูแลลำไส้และระบบขับถ่าย

ประโยชน์ของโยเกิร์ตกับลูกน้อย

1. เนื่องจากมีแบคทีเรียที่มีชีวิตอยู่ ได้แก่ Lactobacillus และ Streptococcus ซึ่งแบคทีเรียทั้งสองชนิดนี้ เป็นแบคที่เรียที่พบในลำไส้มนุษย์อยู่แล้ว โดยจะมีส่วนช่วยในการรักษาสมดุลให้ลำไส้ ช่วยให้ระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายดีขึ้น ลดปัญหาท้องผูกของลูกน้อย

2. โยเกิร์ตช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเชียมจากนมได้ดีขึ้น โดยเฉพาะกับเด็กที่มีปัญหาการย่อยและดูดซึมน้ำตาลแลคโตส

3. โยเกิร์ตมี vitamin B2 และ Calcium สูง ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย

เด็กในวัยที่เหมาะจะรับประทาน "โยเกิร์ต"

ปกติแล้วเด็กแรกเกิดถึงอายุ 6 เดือน แพทย์จะแนะนำให้ดื่มนมแม่เป็นอาหารหลัก เพราะมีสารอาหารครบถ้วนต่อความต้องการของลูก และเมื่อลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไปจึงเริ่มอาหารเสริมตามวัย โดยนมยังคงเป็นอาหารหลัก ส่วนการทาน "โยเกิร์ต" ควรให้ลูกเริ่มทานได้เมื่ออายุ 1 ปีขึ้นไป

คำแนะนำสำหรับการให้ลูกน้อยทานโยเกิร์ต

คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกกินโยเกิร์ตแบบธรรมชาติที่ไม่มีการผสมผลไม้ หรือน้ำตาลลงไปในโยเกิร์ต ซึ่งเด็กๆ อาจจะไม่ค่อยชอบโยเกิร์ตรสเปรี้ยวและจืด คุณพ่อคุณแม่สามารถใส่ผลไม้เติมลงไป เพื่อเพิ่มความอร่อยได้ ซึ่งต้องคำนึงถึงเรื่องของน้ำตาล และความหวานด้วยนะคะ เพราะอาจทำให้ลูกติดรสหวาน และอาจเป็นการทำลายฟันของลูกได้ ทุกครั้งก่อนการเลือกซื้อโยเกิร์ต ควรอ่านฉลากผลิตภัณฑ์และตรววจสอบวันหมดอายุอย่างละเอียดด้วยนะคะ

เคล็ด(ไม่)ลับ สำหรับเมนู "โยเกิร์ตนมแม่" ที่มีวิธีทำแสนง่าย
คุณแม่สามารถทำได้ง่ายๆ โดยปั๊มน้ำนมแม่ใส่ขวด แล้วเอาไปแช่ตู้เย็นช่องธรรมดา 2-3 วัน นมแม่ก็จะแยกชั้น เท่านี้ก็จะได้โยเกิร์ตนมแม่ 100% ชั้นบนสุดจะเป็นส่วนของไขมันที่เป็นดีเอชเอ เป็นตัวที่ทำให้น้ำหนักลูกขึ้นดีค่ะ และสำหรับ "โยเกิร์ต" นมแม่สามารถให้ลูก​ทานได้ตั้งแต่แรกเกิดเลยค่ะ เพราะยังไงก็คือนมแม่นะคะ

อ้างอิง : รศ.นพ.พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม
0


Please Login to CommentLog In