ปานแดงในเด็กเล็ก หรือเนื้องอกหลอดเลือดในเด็กเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุ

mombieclub
ปานแดงในเด็กเล็ก หรือเนื้องอกหลอดเลือดในเด็กเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตอย่างใกล้ชิด แม้ไม่พัฒนาไปเป็นเนื้อร้าย แต่อาจทำให้เกิดความผิดปกติของผิวหนังได้นะคะ

"ปานแดงในเด็ก" คืออะไร?

ปานแดงในเด็ก หรือเนื้องอกหลอดเลือด (Infantile Hemangioma) เป็นโรคเนื้องอกหลอดเลือดชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด และเด็กเล็ก ไม่ใช่โรคติดต่อ และไม่ใช่เนื้อร้าย

ในช่วงแรกจะสังเกตเห็นจุดแดงหลอดเลือดฝอยคล้ายรอยจากแมลงกัด หรือผื่นสีแดงราบ อาจมีสีจางกว่าผิวหนัง และมีรอยช้ำ ขนาดจะขยายอย่างรวดเร็วในช่วง 4 สัปดาห์แรก มีขนาดใหญ่ที่สุดในช่วง 9 - 12 เดือน จากนั้นขนาดก้อนจะเริ่มคงที่ในช่วงสั้นๆ แล้วเล็กลง จางลงหลังอายุ 1 - 2 ปีเป็นต้นไป โดยขนาดจะค่อยๆ เล็กลงอย่างช้าๆ

แม้ปานแดงจะสามารถยุบลงได้เอง แต่อาจเกิดรอยที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น รอยเส้นเลือดฝอย ก้อนพังผืดไขมันใต้ผิวหนัง รอยโรคจากการเสียดสีในบริเวณต่างๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดแผล หรือนูนไม่สวยงาม และทำให้ลูกน้อยสูญเสียความมั่นใจได้ค่ะ

ลักษณะของ "ปานแดงในเด็ก"

1. พบบ่อยที่สุดบริเวณศีรษะและลำคอ ลำตัว แขนและขา
2. รูปร่างจะแตกต่างตามความลึกของรอยโรค
3. รอยส่วนบนจะเป็นก้อนนูนสีแดงสด ผิวเรียบ หรือขรุขระ รอยส่วนล่างจะเป็นก้อนนูน ขอบเขตไม่ชัดเจน สีเดียวกับผิว หรือสีเขียวอมฟ้า หรือพบร่วมกัน
4. ส่วนใหญ่พบรอยเดียว แต่อาจพบกระจายหลายๆ อันได้ในบางกรณี

ปัจจัยเสี่ยงที่เด็กทารกจะมีความเสี่ยงในการเป็น "ปานแดง" นี้มากขึ้น

1.ทารกเพศหญิง
2.ทารกน้ำหนักน้อย
3.ทารกคลอดก่อนกำหนด
4.มารดาอายุมากกว่า 30 ปี
5.มารดาคลอดบุตรมาแล้วหลายคน

รักษา "ปานแดงในเด็ก" ได้อย่างไร?

การรักษาปานแดงในเด็กขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งชนิด ขนาด ตำแหน่ง ความลึก ภาวะแทรกซ้อน ในการรักษาที่พบมากก็คือ รอยบนใบหน้า และรอยที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน อย่างเช่น รอบดวงตา ทางเดินหายใจ ปาก และที่อวัยวะเพศ แต่หากมีรอยเดียว และไม่มีภาวะแทรกซ้อน อาจปล่อยให้หายได้เอง โดยมีวิธีการรักษา ดังนี้

• รับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำ
• ทายาในกรณีที่รอยโรคบาง
• ใช้เลเซอร์ในกรณีที่เป็นแผลหรือรอยแดงหลังจากก้อนยุบลง
• ผ่าตัดในกรณีที่ก้อนขอบเขตชัดเจน ไม่ใหญ่ หรือมีภาวะแทรกซ้อน

ข้อควรระวัง ภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวังเมื่อเป็น "ปานแดงในเด็ก"

1. การแตกเป็นแผล อาจทำให้เจ็บ เลือดออก และติดเชื้อที่แผลได้
2. ถ้าก้อนอยู่บริเวณรอบดวงตาอาจมองเห็นผิดปกติ เช่น ตาเข ตาเหล่ ตาขี้เกียจ
3. หากก้อนเนื้องอกที่หูปิดกั้นรูหู อาจทำให้เสียการได้ยินได้
4. เมื่อมีก้อนบริเวณคางและคออาจอุดกั้นทางเดินหายใจได้
5. เมื่อมีเนื้องอกหลอดเลือดขนาดเล็กหลายจุดในร่างกายมากกว่า 5 จุด
6. ภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถเกิดขึ้นได้หากมีเนื้องอกขนาดใหญ่ที่ตับ
7. แม้ปานแดงในเด็กจะไม่สามารถป้องกันได้ แต่พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถสังเกตเนื้องอกหรือปานแดงที่เกิดขึ้นบนร่างกายของเจ้าตัวเล็กได้
8. หากพบว่ามีแผลเกิดขึ้นหรือเนื้องอกโตอย่างรวดเร็วควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางทันที
0


Please Login to CommentLog In