กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
Share Post Report this post
กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดลงทะเบียน “เงินอุดหนุนบุตร 600 บาท” ผ่านแอป "เงินเด็ก" เริ่มวันที่ 16 กันยายน 2565 เพิ่มความสะดวก รวดเร็วในการเข้าถึงสิทธิ์และการบริการของรัฐ
โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เป็นนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นให้เด็กแรกเกิดได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพและมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย เพื่อเติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพในอนาคต รัฐบาลจะให้เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด จนถึงอายุ 6 ปี อยู่ในครอบครัวที่มีรายได้น้อยกว่า 100,000 บาท ต่อคน/ปี ในอัตรา 600 บาท ต่อคน/เดือน เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน นับเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่รัฐบาลส่งผ่านบิดา มารดา หรือผู้ปกครองไปยังเด็กแรกเกิด
เช็ค "เงินอุดหนุนบุตร" เข้าวันไหน? เข้าที่ไหน?
เงินอุดหนุนบุตรทางภาครัฐ จะจ่ายให้ทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน ซึ่งหากวันที่ 10 ของเดือนนั้นตรงกับวันหยุด รัฐจะเลื่อนเวลาการจ่ายเงิน สามารถกดเป็นเงินสดมาใช้ได้เลยจากธนาคารกรุงไทย
เกณฑ์การได้รับ "เงินอุดหนุนบุตร 600 บาท"
1. เด็กต้องมีสัญชาติไทย พ่อแม่ต้องเด็กมีสัญชาติไทย
2. เด็กไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน
3. เด็กอยู่ในครอบครัวที่มีรายได้เฉลี่ยต่อคน ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
ผู้ปกครองที่มีสิทธิในการลงทะเบียน "เงินอุดหนุนบุตร"
1. มีสัญชาติไทย
2. เป็นบุคคลที่รับเด็กแรกเกิดไว้ในความอุปการะ
3. เด็กแรกเกิดต้องอาศัยรวมอยู่ด้วย
4. อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย สมาชิกครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคน/ปี
5. มารดาอยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ยังไม่ต้องมายื่นคําร้องขอลงทะเบียนรับสิทธิเงินอุดหนุนเด็ก
วิธีลงทะเบียน "เงินอุดหนุนบุตร 600 บาท" สามารถลงทะเบียนได้ 2 วิธี
1. แอปพลิเคชัน "เงินเด็ก" สามารถลงทะเบียนได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยผู้ปกครองที่จะลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชันเงินเด็กจะต้องยืนยันตัวตนผ่าน D.DOPA ของกรมการปกครอง ได้ ณ สถานที่
・กรุงเทพมหานคร : ลงทะเบียนที่สํานักงานเขต
・เมืองพัทยา : ลงทะเบียนที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา
・ส่วนภูมิภาค : ที่ว่าการอำเภอ
2. ลงทะเบียนได้ในเทศบาล/ตำบล/เขต ที่เด็กแรกเกิด และผู้ปกครองอาศัยอยู่จริง
・กรุงเทพมหานคร : ลงทะเบียนที่สํานักงานเขต
・เมืองพัทยา : ลงทะเบียนที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา
・ส่วนภูมิภาค : ลงทะเบียนที่องค์การบริหารส่วนตําบล หรือเทศบาล
การลงทะเบียน "เงินอุดหนุนบุตร" ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?
1. แบบคำร้องขอลงทะเบียน (ดร.01)
2. แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02)
3. สูติบัตรเด็กแรกเกิด
4. บัตรประจำตัวประชาชนแบบ Smart Card ของผู้ปกครอง
5. กรณีที่ผู้ยื่นคําร้องขอลงทะเบียนและสมาชิกในครัวเรือนของผู้ยื่นคําร้องขอลงทะเบียน เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานบริษัท ต้องมีเอกสาร ใบรับรองเงินเดือน หรือหนังสือรับรองรายได้ของทุกคนที่มีรายได้ประจํา (สลิปเงินเดือน หรือเอกสารหลักฐานที่นายจ้างลงนาม)
6. สําเนาเอกสาร หรือบัตรข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ บัตรแสดงสถานะหรือตําแหน่ง หรือเอกสารอื่นใดที่แสดงตนของผู้รับรองคนที่ 1 และผู้รับรองคนที่ 2
7. สมุดบัญชีเงินฝากของผู้ปกครอง (บัญชีออมทรัพย์ธนาคารกรุงไทย บัญชีเงินฝากเผื่อเรียกธนาคารออมสิน หรือบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น)
8. สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก เฉพาะหน้าที่ 1 ที่มีชื่อของหญิงตั้งครรภ์ (ในกรณีที่สมุดสูญหายให้ใช้เฉพาะสําเนาหน้าที่ 1 พร้อมให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขบันทึกข้อมูลและรับรองสําเนา)
แนะนำให้ผู้ที่ได้รับสิทธิ หมั่นตรวจสอบข้อมูลในระบบตรวจสอบสิทธิอยู่เป็นประจำ หากมีการเปลี่ยนแปลง ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ให้แก้ไขข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน และหมั่นตรวจสอบบัญชีธนาคารที่ใช้รับเงินอุดหนุนว่า ยังสามารถใช้งานได้ปกติหรือไม่
*สามารถตรวจสอบ "สิทธิเงินอุดหนุนบุตร เช็คเงินอุดหนุนบุตร" ล่าสุด ได้ที่
https://csgcheck.dcy.go.th/public/eq/popSubsidy.do
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อผ่านช่องทาง
・สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดทุกจังหวัด
・ศูนย์ช่วยเหลือสังคมกระทรวง พม. โทร. 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง
・กรมกิจการเด็กและเยาวชน โทร. 02-6516902, 02-6516920, 082-0379767, 083-4313533, 065-7313199 หรือ 082-0917245 (ในวันเวลาราชการ จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 17.00 น.)
โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เป็นนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นให้เด็กแรกเกิดได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพและมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย เพื่อเติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพในอนาคต รัฐบาลจะให้เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด จนถึงอายุ 6 ปี อยู่ในครอบครัวที่มีรายได้น้อยกว่า 100,000 บาท ต่อคน/ปี ในอัตรา 600 บาท ต่อคน/เดือน เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน นับเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่รัฐบาลส่งผ่านบิดา มารดา หรือผู้ปกครองไปยังเด็กแรกเกิด
เช็ค "เงินอุดหนุนบุตร" เข้าวันไหน? เข้าที่ไหน?
เงินอุดหนุนบุตรทางภาครัฐ จะจ่ายให้ทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน ซึ่งหากวันที่ 10 ของเดือนนั้นตรงกับวันหยุด รัฐจะเลื่อนเวลาการจ่ายเงิน สามารถกดเป็นเงินสดมาใช้ได้เลยจากธนาคารกรุงไทย
เกณฑ์การได้รับ "เงินอุดหนุนบุตร 600 บาท"
1. เด็กต้องมีสัญชาติไทย พ่อแม่ต้องเด็กมีสัญชาติไทย
2. เด็กไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน
3. เด็กอยู่ในครอบครัวที่มีรายได้เฉลี่ยต่อคน ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
ผู้ปกครองที่มีสิทธิในการลงทะเบียน "เงินอุดหนุนบุตร"
1. มีสัญชาติไทย
2. เป็นบุคคลที่รับเด็กแรกเกิดไว้ในความอุปการะ
3. เด็กแรกเกิดต้องอาศัยรวมอยู่ด้วย
4. อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย สมาชิกครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคน/ปี
5. มารดาอยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ยังไม่ต้องมายื่นคําร้องขอลงทะเบียนรับสิทธิเงินอุดหนุนเด็ก
วิธีลงทะเบียน "เงินอุดหนุนบุตร 600 บาท" สามารถลงทะเบียนได้ 2 วิธี
1. แอปพลิเคชัน "เงินเด็ก" สามารถลงทะเบียนได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยผู้ปกครองที่จะลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชันเงินเด็กจะต้องยืนยันตัวตนผ่าน D.DOPA ของกรมการปกครอง ได้ ณ สถานที่
・กรุงเทพมหานคร : ลงทะเบียนที่สํานักงานเขต
・เมืองพัทยา : ลงทะเบียนที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา
・ส่วนภูมิภาค : ที่ว่าการอำเภอ
2. ลงทะเบียนได้ในเทศบาล/ตำบล/เขต ที่เด็กแรกเกิด และผู้ปกครองอาศัยอยู่จริง
・กรุงเทพมหานคร : ลงทะเบียนที่สํานักงานเขต
・เมืองพัทยา : ลงทะเบียนที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา
・ส่วนภูมิภาค : ลงทะเบียนที่องค์การบริหารส่วนตําบล หรือเทศบาล
การลงทะเบียน "เงินอุดหนุนบุตร" ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?
1. แบบคำร้องขอลงทะเบียน (ดร.01)
2. แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02)
3. สูติบัตรเด็กแรกเกิด
4. บัตรประจำตัวประชาชนแบบ Smart Card ของผู้ปกครอง
5. กรณีที่ผู้ยื่นคําร้องขอลงทะเบียนและสมาชิกในครัวเรือนของผู้ยื่นคําร้องขอลงทะเบียน เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานบริษัท ต้องมีเอกสาร ใบรับรองเงินเดือน หรือหนังสือรับรองรายได้ของทุกคนที่มีรายได้ประจํา (สลิปเงินเดือน หรือเอกสารหลักฐานที่นายจ้างลงนาม)
6. สําเนาเอกสาร หรือบัตรข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ บัตรแสดงสถานะหรือตําแหน่ง หรือเอกสารอื่นใดที่แสดงตนของผู้รับรองคนที่ 1 และผู้รับรองคนที่ 2
7. สมุดบัญชีเงินฝากของผู้ปกครอง (บัญชีออมทรัพย์ธนาคารกรุงไทย บัญชีเงินฝากเผื่อเรียกธนาคารออมสิน หรือบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น)
8. สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก เฉพาะหน้าที่ 1 ที่มีชื่อของหญิงตั้งครรภ์ (ในกรณีที่สมุดสูญหายให้ใช้เฉพาะสําเนาหน้าที่ 1 พร้อมให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขบันทึกข้อมูลและรับรองสําเนา)
แนะนำให้ผู้ที่ได้รับสิทธิ หมั่นตรวจสอบข้อมูลในระบบตรวจสอบสิทธิอยู่เป็นประจำ หากมีการเปลี่ยนแปลง ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ให้แก้ไขข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน และหมั่นตรวจสอบบัญชีธนาคารที่ใช้รับเงินอุดหนุนว่า ยังสามารถใช้งานได้ปกติหรือไม่
*สามารถตรวจสอบ "สิทธิเงินอุดหนุนบุตร เช็คเงินอุดหนุนบุตร" ล่าสุด ได้ที่
https://csgcheck.dcy.go.th/public/eq/popSubsidy.do
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อผ่านช่องทาง
・สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดทุกจังหวัด
・ศูนย์ช่วยเหลือสังคมกระทรวง พม. โทร. 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง
・กรมกิจการเด็กและเยาวชน โทร. 02-6516902, 02-6516920, 082-0379767, 083-4313533, 065-7313199 หรือ 082-0917245 (ในวันเวลาราชการ จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 17.00 น.)