#เล่นยังไง_ให้ลูกไม่ตีกัน

#เล่นยังไง_ให้ลูกไม่ตีกัน
หลายบ้าน พี่น้องชอบเล่นแหย่กัน ตอนแรกก็สนุกดี แต่สักพักก็ลงเอยด้วยการทะเลาะกัน ตัวอย่างเช่น พี่ชอบเข้าไปจักจี๋น้อง ทั้งๆที่รู้ว่าน้องไม่ชอบ หรือ เอารถน้องไปซ่อน หรือ แกล้งหยิบของเล่นแล้ววิ่งหนีฯ... พฤติกรรมเหล่านี้ ทำให้พ่อแม่ดุเขาบ่อยๆ
พวกเราสงสัยมั้ย เด็กที่แหย่คนอื่น แล้วโดนดุประจำ ทำไมถึงยังทำอยู่?
.
1.เด็กรู้สึกอิจฉาน้อง/พี่
เด็กที่โดนดุ โดนบ่นบ่อยๆ ไม่ว่าจากเรื่องอะไร จะรู้สึกว่าตนเองไม่เป็นที่ยอมรับของคนในบ้าน ยิ่งถ้าพี่/น้องไม่ค่อยโดน ก็ยิ่งชัดเจนขึ้นไปอีกว่า ฉันไม่สำคัญเท่าอีกคน.... ทำให้อิจฉาน้อง และเกิดพฤติกรรมแหย่หรือแกล้ง (เพราะลึกๆแล้ว ก็อยากให้คนนั้นรู้สึกเจ็บปวดบ้าง)
การดุเด็กที่ไปแกล้งคนอื่น จึงไม่ใช่ทางออกที่ดี (ซ้ำร้ายอาจทำให้รู้สึกแย่มากขึ้นไปอีก) หากไม่แก้ไขความรู้สึก #ฉันไม่เป็นที่ยอมรับ ของคนในบ้าน
พ่อแม่จึงควรลดคำดุ, ด่า, บ่น ที่ไม่จำเป็นออกไป พยายามมองหาพฤติกรรมที่ดีและชื่นชม หรือที่เรียกว่า จับถูกให้มากกว่าจับผิด บางทีเราอาจต้องชงให้เกิดขึ้น เช่น ให้พี่ช่วยสอนน้องตักข้าว, สอนไขกุญแจประตูบ้าน ฯ สร้างสถานการณ์ให้พี่เป็นคนสำคัญ ได้รับคำชม และเกิดสัมพันธภาพที่ดีได้ด้วย #เมื่อเด็กได้รับการตอบสนองเชิงบวก รู้สึกตนเองมีคุณค่าและมีความหมายแล้ว ความรู้สึกหมั่นใส้น้องจะลดลง
.
2.เด็กขาดทักษะการเล่นกับคนอื่น
บ่อยครั้งที่เด็กเคยชินกับการเล่นแบบแหย่ โดยนึกไม่ออกว่าเล่นกันดีๆเป็นยังไง พ่อแม่จะต้องเข้ามาดูแลในช่วงที่พี่น้องเล่นกัน (เฉพาะช่วงแรกๆ ที่จะสอนทักษะการเล่น) นอกจากสอนแล้ว ก็ต้องคอยสังเกตด้วยว่า ลูกริเริ่มหรือเข้าหาอีกคนยังไง ใช้วิธีแบบไหน เช่น ถ้าแหย่ ก็สอนวิธีใหม่เลย... การสอนตรงหน้างานทันทีจะดีที่สุด เพราะพฤติกรรมใหม่จะเกิดขึ้นได้ทันที
.
เช่น พี่กำลังบังคับให้น้องเล่นตามกติกาของตัวเอง พอน้องไม่ทำตาม พี่ก็เริ่มแกล้งน้อง คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าไปสอนพี่ ไม่ใช่ดุพี่ให้หยุดแกล้งน้องเท่านั้น บอกพี่ให้รู้ว่าการบังคับน้องมากเกินไป จะทำให้น้องอึดอัด ไม่อยากเล่นด้วย ถ้าหากต้องการสนุกจริงๆ จะต้องลดการบังคับน้อง ควรจะฟังน้องหรือตามใจน้องด้วย
ส่วนทักษะการเล่นด้วยกันนั้น พ่อแม่จะต้องลงไปเล่นด้วย หมอขออธิบายรายละเอียดในวันจันทร์ที่ 22 สิงหาคมนี้ ที่ Facebook Live รายการ #มันส์เดย์กับมัมบี้ 📢 Ep.2 : เล่นยังไง? ให้ลูกไม่ตีกัน ที่เพจมัมบี้ และเพจหมอเสาวภา เลี้ยงลูกเชิงบวก
.
3.เด็กขาดทักษะการแก้ปัญหาข้อขัดแย้ง
ลองอ่าน 5 ขั้นตอน สอนให้ลูกมีทักษะการแก้ปัญหา
https://www.facebook.com/.../a.23716189.../2602471963210369/
.
4.เด็กมีปัญหาทางอารมณ์มีความโกรธแค้นอยู่ในใจ
ในทางการแพทย์เราจะมีโรคดื้อต่อต้าน (ODD) ซึ่งหมายถึงภาวะดื้อที่มากเกินกว่าปกติ การแกล้งหรือแหย่คนอื่น เด็กมีเป้าหมายก่อกวนให้เกิดความวุ่นวายมากกว่าเพียงแค่สนุก
ODD(Oppositional Defiant Disorder) ประกอบด้วยอาการแสดงออกหลายอย่าง ดังนี้ ระเบิดอารมณ์ เกรี้ยวกราดบ่อยๆ, เถียงผู้ใหญ่บ่อยๆ, มักมีความสงสัยต่อกฎเกณฑ์ที่มี, จงใจที่จะต่อต้านและปฏิเสธที่จะเชื่อฟัง เมื่อผู้ใหญ่บอกให้ทำตามกฎ, ตั้งใจและพยายามในการทำให้คนอื่น รำคาญหรืออารมณ์ไม่ดี, โทษคนอื่นเมื่อเป็นความผิดของตน, อารมณ์ไม่ดีง่ายหรือรำคาญคนอื่นบ่อยๆ, โมโหและโกรธเคืองบ่อยๆ เวลาอารมณ์ไม่ดีจะพูดอย่างมีอารมณ์ เกลียดชัง, มีความคิดอาฆาตและหาทางแก้แค้น
โดยเด็กจะมีอาการดังกล่าวได้ทุกสถานที่ค่ะ ถ้าใครสงสัย หมอแนะนำให้พบแพทย์นะคะ
.
5.เด็กเป็นโรคสมาธิสั้น
ความหุนหันพลันแล่นมักจะทำให้เด็กสมาธิสั้นมีปัญหาในการเข้าสังคม ทั้งๆที่ตัวเด็กไม่ได้มีเจตนาร้าย พบบ่อยมากเวลามาพบแพทย์เรื่องแหย่เพื่อนแล้วพบว่าเป็นโรคสมาธิสั้้น
.
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ก็อยากแนะนำให้มาฟังรายละเอียดเพิ่มเติมในวันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม
📢 Ep.2 : เล่นยังไง? ให้ลูกไม่ตีกัน ที่เพจมัมบี้ และเพจหมอเสาวภา เลี้ยงลูกเชิงบวก
ฝากคำถามเกี่ยวกับหัวข้อนี้ไว้ใต้โพสต์ได้เลย และอย่าลืมติด #มันส์เดย์กับมัมบี้ คำถามของคุณอาจได้รับคำปรึกษาออกอากาศ เย้ๆ

🎁 ของแจกเพียบๆ ดีๆเช่นเคยค่ะ

แล้วพบกันค่าาาา 🥰
#มันเดย์กับมัมบี้
#หมอเสาวภาเลี้ยงลูกเชิงบวก
#คลับเลี้ยงลูกเชิงบวก
#มัมบี้คลับ #มัมบี้
#เล่นยังไงให้ลูกไม่ตีกัน
0


Please Login to CommentLog In