หมอเสาวภา เลี้ยงลูกเชิงบวก
หมอเสาวภา เลี้ยงลูกเชิงบวก
@drsaowapa Experts

Achievements

Expert
Description
กุมารแพทย์พัฒนาการและพฤติกรรม โรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์ เพจที่สอนการเลี้ยงลูกเชิงบวก และการเป็นพ่อแม่ที่มีความรู้คู่ความสุข เพจนี้เชื่อถือได้ และมั่นใจได้ว่า นี่คือ ของจริงค่ะ
TimelineInteractions

"3 ข้อต้องทำ เล่นยังไง? ไม่ให้พี่น้องตีกัน"

ปัญหาสุดคลาสสิคอย่างเรื่องพี่น้องตีกันเวลาเล่นของเล่น

วันนี้ คุณหมอเสาวภามีหลักการคิดดีๆ 3 ข้อ ที่จะทำให้พี่น้องเลิกตีกันได้อย่างอยู่หมัด มาฝากคุณพ่อคุณแม่

ติดตามชมคลิป ได้ที่ https://youtu.be/gUlVhtzcatA

จะเล่นยังไงที่จะไม่น้องตีกันนะคะ

หมอมีคอนเซปหรือมีหลักที่อยู่ 3 ข้อนะคะเดี๋ยวจะขออธิบายที่

ก็คือว่าคุณพ่อคุณแม่ จะต้องเข้าไปเล่นด้วยเข้าไปเล่นด้วยเนี่ย คือเราต้องเข้าไปเล่นโดยที่เราก็ต้องคิด ว่าเราจะเล่นอะไรอันแรกนะ

อันที่สองก็คือว่าเราจะต้องเป็นคนจ่ายงาน จ่ายงานผ่านกัน แล้วก็คือแบบ อุ้ยแม่อยากจะได้ขนมปังทาแยม โอ๊ยแม่อยากจะกินไข่จะเอาด้วยอ่ะลูก การจ่ายงานก็คือการชวนลูกมามีปฏิสัมพันธ์โดยจ่ายงานตามปริมาณลูกนะคะ สมมติว่าลูกสองคนก็โอ้แม่อยากกินขนมปังทาแยมเลยค่ะ น้องพิมน้องพิมแม่อยากกินอะไข่ดาวค่ะ สมมติมีลูกอีกคนนึง อ๋อตัวเล็กสุดอาจจะสองขวบ โอ้คุณแม่อยากได้ผ้าเช็ดมือนะค่ะลูก อย่างเนี้ยค่ะคือมันทำให้เกิดการ Engage คือการปฏิสัมพันธ์ร่วม

อันที่หนึ่งแม่ลงเล่น
อันที่สองแม่จ่ายงานนะคะ

อันที่สามก็คือเรามีท่าทีตอบรับ เวลาลูกเสิร์ฟหรือเอาอะไรมาให้เรา เราก็มีหน้าที่ตอบรับนะ

อันแรกก่อนนะคะ
เวลาเราเข้าไปเล่นเนี่ยเรา ต้องมีธีมนะคะ คืออันนี้จริงเนี่ย ก็เจอเยอะมากเลยที่หมอเจอก็คือบางทีเราไม่รู้จะเล่นอะไร หมดมุกค่ะ ของคุณแพร์เนี่ยยังอยู่ในวงการ ยังพอมีมุกเนาะ แต่เห็นใจพ่อแม่หลายคนคือแบบซื้อมาก็แบบหนูอะหนูทำอะไรอ่ะลูก หนูจะทำหนูทำอะไรอยู่ลูก อ่าๆใช่ หนูกำลังขนมปังเหรอ คือเหมือนเขาก็ไม่รู้ว่าเขาจะเล่นอะไรเนาะ อันนี้หายใจลึกๆนะคะ เล่นจินตนาการว่าเราเล่นอยู่เพราะว่า เดี๋ยวเราต้องจ่ายงานเนาะไม่งั้นมันจะแบบ ลำบากในการจ่ายงาน อะ สมมุติว่าหมอเจออันนี้ ปุ๊บ มีครัวมีซิงค์ล้างมือด้วยแล้วก็มีเครื่องปรุงด้วยอ่ะ แล้วก็มีตะหลิวด้วยอะ โอ๋ เออ

ทำไมหมอต้องบรรยาย เล่นกับลูกหมอก็บรรยายอย่างนี้นะคะ เพราะว่าเด็กก็ต้องการ คำศัพท์อะ คำศัพท์ ตะหลิวกระทะ แล้วเวลาเราเล่นเนี่ยเด็กก็จะได้คำศัพท์ไปโดยอัตโนมัติ แล้วก็เวลาเรา อุ้ย มีอันนี้ๆ มันทำให้เด็กลากตาไปมองทั่วๆ ด้วยอะค่ะ

เสร็จแล้วเราก็ โอ๊ยวันนี้นะแม่จะมาทำอาหารดีกว่า โอเค แม่อยากทำไข่ดาว แม่ทำไข่ดาวแล้ว เราก็ใส่น้ำมันนิดนึงนะเพราะว่าไม่อยากเจอน้ำมันเยอะเลยอะ ใส่น้ำมัน น้ำมันๆๆ โอเคนี้น้ำมัน ชู่ หูย คุณลูกนี่รู้ใจมากเลยนะคะฮ่าๆ จริงๆแล้วลูกอ่ะ อาจจะยังไม่ได้ทำแบบนี้ เราก็ น้ำมันๆ เดี๋ยวแม่จะเอาน้ำมัน ลูกอาจจะอึ้งๆอยู่ ว่าแม่กำลังทำอะไร แล้วเราก็อาจจะบอกว่า อืม น้ำมันอยู่ไหนนะ อันไหนเป็นน้ำมันดีนะ อันนี้รึเปล่าคะ ลูกเข้ามามีส่วนแล้ว ลูกเข้ามามีส่วนแล้ว

เมื่อกี้คือเราลงเล่นลูกเข้ามามีส่วนแล้วเราก็ชื่นชม สมมติอันนี้หรือเปล่าคะ สมมติลูกบอกว่าอันนี้ค่ะอ๋อหนูอยากใช้ทัพพีทำทำได้ เดี๋ยวแม่เอาทัพพีอ่ะมากวนไข่ก็ได้นะคะ ขอบคุณนะคะลูก ชื่นชม ไม่ใช่น้ำมันนี่น่า อ่ะใช่ไม่ใช่น้ำมันแต่เรายอมรับไปก่อน เรายอมรับไปก่อน ไม่ใช่บอกว่า ไม่ นั่นไม่ใช่น้ำมันลูก อันนี้เราเล่นอยู่นะคะ เราไม่ได้สอน ย้ำนะคะ เล่นไม่เท่ากับสอน

เออใช่ๆเล่นแล้วอย่าลืมเวลาเล่นเราสร้าง relationship(ความสัมพันธ์) เส้นที่เชื่อมระหว่างกันเราโฟกัสอันนี้ที่สุดเรา อยู่ในเรื่องว่าลูกแย่งของเล่น ลูกแย่งของเล่นเพราะลูกอ่ะไปมีเส้นกับ object สิ่งของอะ ยึดมันเยอะ แต่เส้นระหว่างเรากับลูกมันไม่ได้แน่นเราอยากจะสร้างเส้นเนี้ย มันมองไม่เห็นนะคะแต่ว่ามันเป็นสิ่งที่ลูกกำลังโฟกัสหรือว่าดื่มด่ำเข้าไป engage เข้าไปอะค่ะ เราอยากให้เส้นนี้ มันหนาขึ้นมันแน่นขึ้น เพราะงั้นพอลูกบอกว่า เอาอันนี้เราก็บอก โอ้ได้นะอันนี้แม่ว่าก็ทำได้นะ

ก็คือเราอยากได้รู้ว่าเราอ่ะยอมรับเขาเห็นเขาเป็นคนสำคัญ แล้วเวลาเราเล่นอย่างนี้กับลูกอีกหลายๆคนเนี่ยเขาจะเปลี่ยนจากการแย่งของเล่นมาจะทำอะไรดีกับแม่...จะมาเสิร์ฟอะไรแม่ มันก็เลยกลายเป็นว่า เอ่อ สถานการณ์การเล่นกับแม่แล้วแบบ เดิมที่เราแบบ หนูทำอะไรลูก นั่งดู หนูทำอันนี้หรออันนี้ใส่อันนี้หรอคะแล้วอร่อยไหมอ่ะคะ ลูกก็เสิร์ฟแล้วก็อร่อยจังเลย อันนี้หนูจะให้แม่หรอ คืออย่างเงี้ยเด็กจะรู้สึกว่าเขา เอ่อเราไปโฟกัสของ ลูกเลยต้องไปโฟกัสของโดยที่เขาไม่ได้รู้สึกว่าเขามีการคิดตามเรา

มีอันนึงที่อยากให้เกิดขึ้นก็คือ คิดตามที่ว่าแม่ต้องเล่นอ่ะ แม่จะทำไข่ดาวแล้วนะ ลูกก็ให้เนี่ย...โอ้อันนี้ก็ทำได้นะ อันนี้จะเกิดการคิดตามเพราะเดี๋ยวมันจะลากไปในเรื่องของการจ่ายงาน แล้วเดี๋ยวมันจะลากไปเรื่องว่าพอลูกโฟกัสกระบวนการคิดของเรา โฟกัสกระบวนการคิดของเราการที่เขาจะโฟกัสว่า เธอจะไม่แย่งของฉันมันจะลดลง มันจะลดลง เพราะว่าถ้าเราไม่ทำให้สมองเขาโยกมา โฟกัสกระบวนการคิดของเราแล้วเราก็ให้เขาโฟกัสกับของเล่นมุกนี่เจ้าน้องเดินมาปุ๊บ เขาก็จะไม่ๆ แบบจะกันออกไปเลยเพราะว่า เดี๋ยวเธอจะมายุ่งกับตรงนี้เพราะฉันกำลังโฟกัสของอยู่แต่ถ้าบอกโอ้ยแม่อย่างนั้น อย่างนี้เขาโฟกัสเราแม่ก็บอกว่าอันนี้มันก็สามารถจะทำเป็นผัดได้เขาก็จะเห็นกระบวนการคิดของเราเขาก็จะลืมโฟกัสว่าใครจะมาแย่งหรือเปล่าเพราะ Enjoy สนุกกับการที่เขาเล่นกับเราค่ะ

เพราะงั้นโดยสรุปก็คือว่า วิธีเล่นแบบที่จะทำให้เขาไม่ทะเลาะกันน่ะคุณแม่ต้องลงเล่น ธีมสั้นๆ คุณแม่เล่นแค่นี้พอก็ได้ ไม่ต้องแบบคุณแม่จะผัดอันนู้น หมอก็มีเหมือนกันนะ ทีเล่นยาวมากเลยแล้วลูกเข้าไม่ได้ แล้วก็ชวนลูกจ่ายงานลูกก็ผ่านการเล่นก็คือใช้ แม่อยากๆ จะ ไม่อยากสั่งไม่สั่งนะคะเช่น ไม่สั่งเนี่ย เอ่อ หนูเสิร์ฟอันนี้ให้แม่หน่อย หนูไปเอาช้อนมาให้แม่หน่อย คืออย่างนี้เด็กจะรู้สึกว่ามันไม่ค่อยเล่น ไม่สนุกเนาะ ไม่สนุก คือชีวิตจริงนอกเล่นเราสั่งมั้ยคะ วันๆก็สั่งเยอะพอแล้วค่ะ ไปแต่งตัว ไปอาบน้ำ ไปกินข้าว ตอนเล่นยังโดนสั่งอีก ก็เป็นการจ่ายงานแบบไม่สั่งแต่ผ่านการเล่นแล้ว

สุดท้ายพอเขาให้อะไรมาแล้วเราก็ยืดหยุ่น โอ้ขอบคุณนะ โอ้ดีจังเลย อันนี้ก็ใช้ได้นะ ถ้าทำอย่างนี้ลูกก็จะรู้สึกว่า...เห้ย เล่นแล้วสนุก สุดท้ายนะคะพอเราไม่อยู่ เดี๋ยวจะมีคนมาถามหมอ หมอต้องมานั่งเล่นทุกวันตลอดเวลาเหรอ ไม่ บรรยากาศแบบนี้อ่ะ สมองลูกประสบการณ์แบบนี้มันเข้าไปในสมองเขาแล้ว เดี๋ยวพอเราไม่อยู่เค้าก็จะเล่นโทนๆนี้แหละ เดี๋ยวเราจะเห็นว่าบางทีคนพี่ก็ก็อปสไตล์เราหรือไม่ก็คนน้องก็อปสไตล์เราแล้วมันก็จะรันไปได้ด้วยดีน่ะค่ะ

"พี่ชอบพูดให้น้องเสียใจ รับมืออย่างไรดี?”"

บางทีพฤติกรรมที่พี่ชอบแกล้งน้องก็ไม่ได้มาในรูปแบบของการกระทำเพียงอย่างเดียว อาจมาในรูปแบบคำพูดได้ด้วย

บางครั้งคนพี่อาจจะแกล้งน้องหนักเกินไป จนคนน้องทนไม่ไหวเกิดอารมณ์ปรี๊ด! ขี้นมา เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นมาแล้ว คุณแม่จะรับมืออย่างไรดี

ในคลิปนี้คุณหมอเสาวภาจะมาแบ่งปันวิธีการรับมือกับสถานการณ์แบบนี้ได้ง่ายๆ!

https://youtu.be/Znr2S8Gn1dk

#mombie #mombieclub #คุณแม่มือใหม่ #จิตวิทยาเชิงบวก #หมอเสาวภาเลี้ยงลูกเชิงบวก #ปัญหาการเลี้ยงลูก #พี่น้อง #พี่แกล้งน้อง #พี่ว่าน้อง #พี่พูดแรง #พี่น้องทะเลาะกัน

.
พฤติกรรมอะไรที่พี่ทำเป็นประจำหรือว่าแกล้งน้องนี่แหละ ที่ทำให้น้องโกรธหรือเสียใจ อันนี้ง่ายมาก

เชื่อว่าแต่ละบ้านต้องมีอะไรสนุกๆ บางทีไม่ใช่การกระทำแต่เป็นคำพูด อาจจะพูดว่า "ทำไม่ได้หรอก" "ทำไม่เป็นหรอก" "อย่าเล่นเลยไม่ได้หรอก" "ก็พี่แข็งแรงกว่า" "ก็พี่เก่งกว่า" อะไรอย่างนี้

บางที่มันเป็นคำพูดเล็กๆน้อยๆแต่เจ้าน้องจะรู้สึกว่า มันทำให้ไปกดปุ่มปรี๊ดคนน้อง ซึ่งมันเป็นแค่คำพูดอะค่ะว่า "ทำไม่ได้หรอก"

พอเสร็จแม่บอก "เอ้อ เนี่ย หนูบอกน้องแบบนี้ น้องก็จะเสียใจ น้องก็จะโกรธนะคะ เพราะหนูไปบอกน้องแบบนี้ น้องก็จะรู้สึกไม่ดี" พี่ตอบ "ก็มันเป็นความจริง ก็น้องมันทำไม่ได้อะหม่าม้า" คือมันเป็นข้อเท็จจริงถูกมั้ย ก็น้องเขาทำไม่ได้จริงๆ

เราก็จะบอกว่า "อื้ม ที่หนูพูดมันก็ใช่นะคะ แต่ว่า น้องเขาก็ต้องฝึกไงคะ หนูพูดแบบนี้น้องเขาก็เสียใจ" "แต่หม่าม้าเชื่อว่า เวลาฝึกไปแล้วเขาอายุเท่าหนู ถ้าน้องมีอายุเท่าหนู น้องก็ทำได้"

เพราะฉะนั้นเวลาเราคุยกับลูกเรื่องความสัมพันธ์ของพี่น้องอะ เราจะพูดอ้างอิงอายุ "ตอนน้องอายุเท่าหนูอะ น้องทำได้" แล้วก็หันไปบอกน้องว่า "ที่หนูทำไม่ได้ตอนนี้ไม่ใช่หนูไม่เก่งนะลูก เพราะหนูยังอายุ 5 ขวบ" "ถ้าหนูอายุ 7 ขวบเท่าพี่หนูก็จะทำได้" เขาค่อยฟูหน่อยว่า "ฉันมีโอกาสทำได้ไม่ ใช่ว่าฉันไม่เก่ง" อย่าลืมอย่างที่บอกว่า พี่กับน้องอยู่ด้วยกันแค่มองดูก็รู้แล้วว่าพี่เก่งกว่าทุกมิติ!

เพราะฉะนั้นเวลาเขารู้สึกแบบนี้แล้วเขาทำไม่ได้แล้วเขาจะหงุดหงิด โมโหแล้วพี่พูดว่า "ทำไม่ได้หรอก" ปรี๊ดเลยนะมันอยู่ในใจฉันอยู่แล้วอะค่ะ

งั้นเราก็ให้กำลังใจลูกอธิบายให้ลูกว่า "เออ น้องอายุเท่านี้อยู่ น้องยังทำไม่ได้" "แต่หม่ามี้เชื่อว่าอายุเท่าเนี้ยหนูทำได้" ซึ่งพี่จะเถียงไม่ออก คือถ้าสมมุติเราไม่มีอายุนะ "เออเดี๋ยวน้องก็ฝึกๆไปน้องก็ทำได้" พี่ก็จะตอบว่า "ทำไม่ได้หรอก" "ไม่มีทาง" "ฉันเก่งกว่า" แต่พอเราบอก "อายุ 7 ขวบเท่าพี่ก็จะทำได้" เขาก็จะอึ้งไป "เออจริง" มันเหมือนกับตัวพี่ก็ก็จะแบบ ไม่สามารถที่จะไปหาข้อขัดแย้งกับเราได้

ซึ่งจริงๆคนน้องเนี่ยโดยทั้งประสบการณ์ แล้วก็ในทางงานวิจัยก็บอกนะคะว่าคนน้องเนี่ย จะเรียนรู้เร็วกว่าจริงๆแล้ว เพราะว่ามีพี่เป็นแบบอย่างใช่มั้ยคะคุณหมอ ใช่ๆ

SnipTopics.CHILD_CARE_AND_DEVELOPMENT
#เล่นยังไง_ให้ลูกไม่ตีกัน
หลายบ้าน พี่น้องชอบเล่นแหย่กัน ตอนแรกก็สนุกดี แต่สักพักก็ลงเอยด้วยการทะเลาะกัน ตัวอย่างเช่น พี่ชอบเข้าไปจักจี๋น้อง ทั้งๆที่รู้ว่าน้องไม่ชอบ หรือ เอารถน้องไปซ่อน หรือ แกล้งหยิบของเล่นแล้ววิ่งหนีฯ... พฤติกรรมเหล่านี้ ทำให้พ่อแม่ดุเขาบ่อยๆ
พวกเราสงสัยมั้ย เด็กที่แหย่คนอื่น แล้วโดนดุประจำ ทำไมถึงยังทำอยู่?
.
1.เด็กรู้สึกอิจฉาน้อง/พี่
เด็กที่โดนดุ โดนบ่นบ่อยๆ ไม่ว่าจากเรื่องอะไร จะรู้สึกว่าตนเองไม่เป็นที่ยอมรับของคนในบ้าน ยิ่งถ้าพี่/น้องไม่ค่อยโดน ก็ยิ่งชัดเจนขึ้นไปอีกว่า ฉันไม่สำคัญเท่าอีกคน.... ทำให้อิจฉาน้อง และเกิดพฤติกรรมแหย่หรือแกล้ง (เพราะลึกๆแล้ว ก็อยากให้คนนั้นรู้สึกเจ็บปวดบ้าง)
การดุเด็กที่ไปแกล้งคนอื่น จึงไม่ใช่ทางออกที่ดี (ซ้ำร้ายอาจทำให้รู้สึกแย่มากขึ้นไปอีก) หากไม่แก้ไขความรู้สึก #ฉันไม่เป็นที่ยอมรับ ของคนในบ้าน
พ่อแม่จึงควรลดคำดุ, ด่า, บ่น ที่ไม่จำเป็นออกไป พยายามมองหาพฤติกรรมที่ดีและชื่นชม หรือที่เรียกว่า จับถูกให้มากกว่าจับผิด บางทีเราอาจต้องชงให้เกิดขึ้น เช่น ให้พี่ช่วยสอนน้องตักข้าว, สอนไขกุญแจประตูบ้าน ฯ สร้างสถานการณ์ให้พี่เป็นคนสำคัญ ได้รับคำชม และเกิดสัมพันธภาพที่ดีได้ด้วย #เมื่อเด็กได้รับการตอบสนองเชิงบวก รู้สึกตนเองมีคุณค่าและมีความหมายแล้ว ความรู้สึกหมั่นใส้น้องจะลดลง
.
2.เด็กขาดทักษะการเล่นกับคนอื่น
บ่อยครั้งที่เด็กเคยชินกับการเล่นแบบแหย่ โดยนึกไม่ออกว่าเล่นกันดีๆเป็นยังไง พ่อแม่จะต้องเข้ามาดูแลในช่วงที่พี่น้องเล่นกัน (เฉพาะช่วงแรกๆ ที่จะสอนทักษะการเล่น) นอกจากสอนแล้ว ก็ต้องคอยสังเกตด้วยว่า ลูกริเริ่มหรือเข้าหาอีกคนยังไง ใช้วิธีแบบไหน เช่น ถ้าแหย่ ก็สอนวิธีใหม่เลย... การสอนตรงหน้างานทันทีจะดีที่สุด เพราะพฤติกรรมใหม่จะเกิดขึ้นได้ทันที
.
เช่น พี่กำลังบังคับให้น้องเล่นตามกติกาของตัวเอง พอน้องไม่ทำตาม พี่ก็เริ่มแกล้งน้อง คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าไปสอนพี่ ไม่ใช่ดุพี่ให้หยุดแกล้งน้องเท่านั้น บอกพี่ให้รู้ว่าการบังคับน้องมากเกินไป จะทำให้น้องอึดอัด ไม่อยากเล่นด้วย ถ้าหากต้องการสนุกจริงๆ จะต้องลดการบังคับน้อง ควรจะฟังน้องหรือตามใจน้องด้วย
ส่วนทักษะการเล่นด้วยกันนั้น พ่อแม่จะต้องลงไปเล่นด้วย หมอขออธิบายรายละเอียดในวันจันทร์ที่ 22 สิงหาคมนี้ ที่ Facebook Live รายการ #มันส์เดย์กับมัมบี้ 📢 Ep.2 : เล่นยังไง? ให้ลูกไม่ตีกัน ที่เพจมัมบี้ และเพจหมอเสาวภา เลี้ยงลูกเชิงบวก
.
3.เด็กขาดทักษะการแก้ปัญหาข้อขัดแย้ง
ลองอ่าน 5 ขั้นตอน สอนให้ลูกมีทักษะการแก้ปัญหา
https://www.facebook.com/.../a.23716189.../2602471963210369/
.
4.เด็กมีปัญหาทางอารมณ์มีความโกรธแค้นอยู่ในใจ
ในทางการแพทย์เราจะมีโรคดื้อต่อต้าน (ODD) ซึ่งหมายถึงภาวะดื้อที่มากเกินกว่าปกติ การแกล้งหรือแหย่คนอื่น เด็กมีเป้าหมายก่อกวนให้เกิดความวุ่นวายมากกว่าเพียงแค่สนุก
ODD(Oppositional Defiant Disorder) ประกอบด้วยอาการแสดงออกหลายอย่าง ดังนี้ ระเบิดอารมณ์ เกรี้ยวกราดบ่อยๆ, เถียงผู้ใหญ่บ่อยๆ, มักมีความสงสัยต่อกฎเกณฑ์ที่มี, จงใจที่จะต่อต้านและปฏิเสธที่จะเชื่อฟัง เมื่อผู้ใหญ่บอกให้ทำตามกฎ, ตั้งใจและพยายามในการทำให้คนอื่น รำคาญหรืออารมณ์ไม่ดี, โทษคนอื่นเมื่อเป็นความผิดของตน, อารมณ์ไม่ดีง่ายหรือรำคาญคนอื่นบ่อยๆ, โมโหและโกรธเคืองบ่อยๆ เวลาอารมณ์ไม่ดีจะพูดอย่างมีอารมณ์ เกลียดชัง, มีความคิดอาฆาตและหาทางแก้แค้น
โดยเด็กจะมีอาการดังกล่าวได้ทุกสถานที่ค่ะ ถ้าใครสงสัย หมอแนะนำให้พบแพทย์นะคะ
.
5.เด็กเป็นโรคสมาธิสั้น
ความหุนหันพลันแล่นมักจะทำให้เด็กสมาธิสั้นมีปัญหาในการเข้าสังคม ทั้งๆที่ตัวเด็กไม่ได้มีเจตนาร้าย พบบ่อยมากเวลามาพบแพทย์เรื่องแหย่เพื่อนแล้วพบว่าเป็นโรคสมาธิสั้้น
.
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ก็อยากแนะนำให้มาฟังรายละเอียดเพิ่มเติมในวันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม
📢 Ep.2 : เล่นยังไง? ให้ลูกไม่ตีกัน ที่เพจมัมบี้ และเพจหมอเสาวภา เลี้ยงลูกเชิงบวก
ฝากคำถามเกี่ยวกับหัวข้อนี้ไว้ใต้โพสต์ได้เลย และอย่าลืมติด #มันส์เดย์กับมัมบี้ คำถามของคุณอาจได้รับคำปรึกษาออกอากาศ เย้ๆ

🎁 ของแจกเพียบๆ ดีๆเช่นเคยค่ะ

แล้วพบกันค่าาาา 🥰
#มันเดย์กับมัมบี้
#หมอเสาวภาเลี้ยงลูกเชิงบวก
#คลับเลี้ยงลูกเชิงบวก
#มัมบี้คลับ #มัมบี้
#เล่นยังไงให้ลูกไม่ตีกัน
Street
Articles
Club
Noti
Me