น้ำหนักลูก: เด็กหนักน้อยไปหรือเปล่า
เมื่อลูกมีน้ำหนักน้อย คุณพ่อคุณแม่ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องน้ำหนักตัวของลูกน้อย คงจะกังวลกันไม่น้อย แต่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เรามีคำแนะนำสำหรับเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ
น้ำหนักลูกน้อย มักมีสาเหตุมาจากอะไร?
การเลี้ยงดู ลูกทานอาหารน้อย ไม่พอกับความต้องการของร่างกายหรือทานไม่ถูกต้องทั้งปริมาณและคุณค่าของอาหารมีภาวะเจ็บป่วยของร่างกาย อาจมีโรคเรื้อรังหรือปัญหาของความพิการแต่กำเนิด ทำให้การเจริญเติบโตช้า เช่น โรคหัวใจนอนหลับไม่เพียงพอหรือนอนดึก ในระยะแรกน้ำหนักจะต่ำกว่าเกณฑ์ ยังไม่มีผลต่อความสูง แต่ถ้าต่ำอยู่ระยะหนึ่งแล้วจะมีผลต่อความสูง ลูกจะไม่ค่อยสูงเท่าเด็กปกติความเข้าใจผิดว่าเด็กอ้วนเป็นเด็กแข็งแรง คุณพ่อคุณแม่จำนวนมากมีค่านิยมที่ผิด มองว่าเด็กอ้วนเป็นเด็กแข็งแรงและน่ารัก ทำให้มองลูกตัวเองที่น้ำหนักปกติว่าเป็นเด็กผอมเกินไปและพยายามให้ลูกทานอาหารมากขึ้น และเข้าใจผิดว่าลูกน้ำหนักน้อยเกินไปทั้งๆ ที่น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่นในชั้นเดียวกันที่มีน้ำหนักเกิน
หลักเกณฑ์การวัดว่าลูกมีน้ำหนักปกติหรือไม่...
แรกเกิด : ประมาณ 3 กิโลกรัม4-5 เดือน : 4-5 กิโลกรัม1 ปี : เพิ่มขึ้น 3 เท่าจากน้ำหนักแรกเกิดหรือประมาณ 9 กิโลกรัม2 ปี : เพิ่มขึ้น 4 เท่าจากน้ำหนักแรกเกิดหรือประมาณ 12 กิโลกรัม2-5 ปี : เพิ่มประมาณ 2.3-2.5 กิโลกรัม/ปี
คำแนะนำสำหรับเรื่องลูกน้ำหนักน้อย
ปรับการกิน
1. หากลูกคุณยังเป็นทารกควรให้ดื่นนมแม่เป็นหลัก สังเกตได้ถ้าลูกปัสสาวะประมาณ 6 ครั้งต่อวัน แสดงว่าเขาได้ดื่มนมในปริมาณที่เพียงพอแล้วค่ะ และหากลูกอายุเกิน 1 ปีไม่ควรให้นมมากเกินไป เพราะควรทานข้าวเป็นอาหารหลักวันละ 3 มื้อ ส่วนนมจะเป็นอาหารเสริมเท่านั้น จึงต้องลดปริมาณลงเหลือวันละ 3-4 มื้อ ควรให้นมหลังอาหารเท่านั้นค่ะ และให้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในแต่ละมื้อควรประกอบด้วย
ข้าวเนื้อสัตว์ หรือไข่ 1 ฟองปลาไขมันสูง เช่น ปลาอินทรี ปลาดุก สำหรับคุณแม่ลูกเล็กแนะนำว่าควรให้ลูกทานปลาอินทรี เพราะเป็นปลาที่ค่อนข้างเอาก้างออกง่ายผัก ควรเลือกผักที่มีแป้งมากและให้พลังงานสูงสลับกับผักใบเขียวผลไม้ เช่น ส้ม 1 ผล หรือกล้วย 1 ผล นมให้ครบ 1-3 แก้ว แล้วแต่วัยควรเพิ่มน้ำมันในอาหารทุกมื้อเท่าที่ทำได้ค่ะ
2. แต่ละมื้อหากลูกทานได้น้อยอาจจะต้องแบ่งมื้อย่อยๆ สังเกตชนิดและลักษณะอาหารที่ลูกชอบ ปรุงรสชาติให้ถูกปากเพราะลูกน้อยจะสามารถแยกแยะรสชาติได้ตั้งแต่อายุไม่กี่สัปดาห์เลยค่ะ
3. การที่ลูกทานน้อยจะได้สารอาหารไม่ครบและอาจขาดวิตามิน เกลือแร่บางตัว ซึ่งจะส่งผลให้ลูกน้อยเบื่ออาหารได้ โดยแพทย์จะเสริมยาบำรุงให้ในช่วงแรก เมื่อลูกน้อยได้รับวิตามิน เกลือแร่ที่ขาดแล้วก็จะมีอาการดีขึ้น อาการเบื่ออาหารก็จะลดลงค่ะ
4. ให้ลูกรู้สึกหิวก่อนถึงมื้ออาหาร โดยงดอาหารหรือขนมจุบจิบระหว่างมื้อ เพราะเมื่อลูกอายุเกิน 1 ปี ควรทานข้าวเป็นอาหารหลัก ไม่ควรให้ลูกทานขนมกรุบกรอบ ลูกอมทอฟฟี่ หรือนม ก่อนมื้ออาหาร เพราะจะทำให้ลูกอิ่มและทานอาหารได้น้อย หากจะให้ควรให้หลังอาหารนะคะ
5. ขณะมื้ออาหารไม่ดูโทรทัศน์หรือเล่นของเล่นไปด้วยค่ะ เพราจะทำให้ลูกน้อยไม่สนใจเรื่องทานอาหาร ทำให้ทานช้า อมข้าวและอาจอิ่มเร็วโดยที่ยังทานได้น้อย
6. ให้ลูกมีส่วนร่วมในการเตรียมอาหารและฝึกให้ทานอาหารให้เป็นเวลา สม่ำเสมอ และควรทานพร้อมๆ กันทั้งครอบครัว เพื่อเป็นแบบอย่างและสร้างบรรยากาศการทานอาหารให้ลูกน้อยได้ค่ะ
7. ปรับเปลี่ยนเมนูอาหารให้แตกต่าง ไม่ควรทานเมนูซ้ำๆ บ่อยๆ เพราะลูกน้อยอาจเบื่อและทำให้ปฏิเสธอาหารได้ค่ะ
8. ให้ลูกนอนแต่หัวค่ำ ไม่ควรนอนเกินสามทุ่ม ในวัยเรียนควรได้นอนหลับพักผ่อนวันละ 8-10 ชั่วโมง การนอนดึกจะทำให้การเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ และในช่วงเวลาการนอนตั้งแต่เวลา 22.00-02.00 น. เป็นช่วงที่ร่างกายมีการหลั่ง growth hormone ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตของลูกน้อยค่ะ
9. ไม่ใช้วิธีผิดๆ เพื่อให้ลูกทานอาหารมากขึ้น เช่น การตี ดุ หรือบังคับ ใช้อารมณ์กับลูกหรือการตามใจ ต่อรอง หรือให้รางวัลเกินความจำเป็นค่ะ