Mombiestreet
Mombiestreet
@mombiestreet

โรคร้าย! ในเด็กวัยทารกแรกเกิด

โรคร้าย! ในเด็กวัยทารกแรกเกิด
โรคร้าย! ในเด็กวัยทารกแรกเกิด

เด็กๆ วัยทารกแรกเกิดนั้น มีโรคและอาการที่เกิดแตกต่างจากผู้ใหญ่อย่างเราๆ เพราะอวัยวะภายในร่างกายของเด็กยังต้องเจริญเติบโตตามช่วงวัยเรื่อยๆ ภูมิคุ้มกันโรคนั้นก็มีต่ำกว่า และมักจะมีอาการที่รุนแรงกว่าผู้ใหญ่อีกด้วย ซึ่งถ้าได้รับความเจ็บป่วยและไม่ได้รับการรักษาที่ดีพออาจจะส่งผลต่อการพัฒนาการของเด็กๆ นะคะ

เรามาพูดถึงโรคที่มักเกิดใน "วัยทารกแรกเกิด" กันก่อนนะคะ

1. โรคธาลัสซีเมีย หรือ โลหิตจาง

เป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่มาสู่ลูกได้ หากเกิดกับทารก อาการอาจจะรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตตั้งแต่ภายในครรภ์หรือพึ่งคลอดได้เพียง 1-2 ชั่วโมง ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะมีอาการเพียงเล็กน้อย เมื่อมีไข้จะตัวซีดลง สามารถสังเเกตอาการได้ตั้งแต่อายุ 2-3 เดือนแรกเลยค่ะ และถ้ามีอาการรุนแรงมาก ร่างกายจะอ่อนเพลีย ตาจะเหลือง ตับและม้ามโต กระดูกส่วนใบหน้าเปลี่ยนรูป หากมีอาการดังนี้ จำเป็นต้องรีบปรึกษาแพทย์และเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมนะคะ

2. ดาวน์ซินโดรม

เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในภาวะปัญญาอ่อน ลักษณะทางกายภาพของเด็กดาวน์ซินโดรมก็จะมี ศีรษะค่อนข้างเล็ก แบน ดั้งจมูกแบน ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก ตัวเล็ก ซึ่งอาจเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคลำไส้อุดตันตั้งแต่แรกเกิด จะเกิดขึ้นโดยเฉพาะคุณแม่ที่ตั้งครรภ์วัย 35 ขึ้นไปค่ะ สามารถป้องกันได้โดยการตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้ตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อยๆ คือ ได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ (ประมาณ 2 เดือนครึ่ง) นะคะ

3. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดแบ่งได้ออกเป็น 2 ชนิดค่ะ คือ

ภาวะตัวเขียว

เป็นอาการที่เกิดจากเลือดดำไหลเข้าสู่เส้นเลือดแดงที่ส่งไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ทำให้เด็กมีลักษณะผิวหนัง หรือกล้ามเนื้อเขียวคล้ำ มักพบอาการเขียวที่เด่นชัดในบริเวณปลายมือ ปลายเท้า ริมฝีปาก และใบหน้า

ไม่มีภาวะตัวเขียว

เป็นอาการที่เกิดจากร่างกายได้รับออกซิเจนที่ส่งมากับเลือดไม่เพียงพอ และหัวใจมีการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้น้อยลง ในวัยทารกจะมีอาการเหนื่อยง่ายขณะดูดนม เมื่อเด็กโตขึ้นจะมีอาการเหนื่อยง่ายเมื่อทำกิจกรรมหรือออกแรงทำสิ่งใดๆ หากมีการทำกิจกรรมที่หนักอย่างต่อเนื่องอาจทำให้ร่างกาย และสมองขาดออกซิเจน เป็นลมหมดสติได้ง่าย

อาการที่พบก็จะมี หายใจแรงและเร็ว ริมฝีปากเขียว หน้าอกบุ๋ม ซี่โครงบาน เหนื่อยง่าย ตัวเย็น ตัวซีดเฉียบพลัน

หากสังเกตว่ามีอาการดังที่กล่าวมาแล้ว ควรปรึกษากุมารแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ โดยกุมารแพทย์โรคหัวใจจะพิจารณาการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น การตรวจคลื่นหัวใจ เอกซเรย์หัวใจ คลื่นเสียงความถี่สูงหัวใจ และการสวนหัวใจ เพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่แน่นอนค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง
เคล็ดลับทานอาหารอย่างไร? ให้สุขภาพดี สมวัย
เคล็ดลับทานอาหารอย่างไร? ให้สุขภาพดี สมวัย
29 มีนาคม 2022 07:41
สำหรับเด็กๆ แล้วการดูแลใส่ใจเรื่องอาหารให้ถูกต้องในแต่ละช่วงวัยเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะหากเด็กๆ ขาดสารอาหาร อาจส่งผลต่อการพัฒนาการทางสมองและร่างกายของ
 เคล็ดลับเพิ่มน้ำนมของคุณแม่ ให้ลูกน้อย
เคล็ดลับเพิ่มน้ำนมของคุณแม่ ให้ลูกน้อย
07 เมษายน 2022 09:05
จะทำอย่างไรดี? หากน้ำนมคุณแม่ไม่พอให้เจ้าตัวเล็กทาน เพื่อให้นมแม่มาอย่างรวดเร็ว มากพอ และยาวนาน มัมบี้จะมาแนะนำเคล็ดลับง่ายๆให้คุณแม่ได้ทราบกันค่ะ
เลือกซื้อคาร์ซีท (Car Seat) อย่างไรดี? ให้เหมาะกับลูกน้อย
เลือกซื้อคาร์ซีท (Car Seat) อย่างไรดี? ให้เหมาะกับลูกน้อย
19 พฤษภาคม 2022 09:15
อย่างที่คุณพ่อคุณแม่ได้ทราบกันแล้วว่า ในวันที่ 5 กันยายน 2565 เป็นต้นไป จะเริ่มมีการบังคับใช้กฎหมายคาร์ซีท ซึ่งในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้นะคะ เราต้องคำนึกถึ
ปัญหาที่คุณแม่อาจเจอจากการให้นม
ปัญหาที่คุณแม่อาจเจอจากการให้นม
19 พฤษภาคม 2022 09:07
แน่นอนว่าคุณแม่ทุกคนต่างก็อยากให้ลูกได้รับประโยชน์จากนมแม่ให้มากและยาวนานที่สุด แต่บางครั้งการให้นมแม่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย ลองมาดูกันค่ะว่าปัญหาในก
เมื่อลูกไม่ยอมทานข้าว ทำอย่างไรดี?
เมื่อลูกไม่ยอมทานข้าว ทำอย่างไรดี?
30 มีนาคม 2022 07:24
ในวัยนี้เมื่อลูกน้อยอายุครบ 1 ปี จะเริ่มเรียนรู้ในเรื่องของการปฏิเสธหรือคายอาหาร เนื่องจากมีการพัฒนาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งในวัยนี้สามารถหา