จุกนม เสมือนนมแม่

นอกจากคุณแม่จะต้องเจอปัญหาลูกติดเต้า ยังจะต้องเจอปัญหาลูกติด “จุกนม” หรือคุณแม่บางคนอาจจะเจอปัญหาลูกไม่ยอมดูดจุกนม
อย่างไรเสีย “จุกนม” ก็เป็นไอเท็มที่คุณแม่ขาดไม่ได้
ข้อดี ของ จุกนม มีอะไรบ้าง มาไล่ดูกันค่ะ
-ทำให้ลูกงอแงน้อยลง
-ลูกไม่ติดเต้าแม่
-เด็กที่หลับไปพร้อมดูดจุกนม มีแนวโน้มที่จะหยุดหายใจน้อยกว่าเด็กที่ไม่ได้ใช้จุกนม เพราะการดูดจะทำให้โพรงจมูกและปากเปิดรับอากาศ และหายใจต่อเนื่อง
-ลูกสามารถดื่มนมจากขวดได้
-ลูกสามารถหลับนอนเองได้ ไม่ดูดเต้าแม่ นอนให้แม่กล่อม
ข้อเสีย เท่าที่คุณแม่แชร์ประสบการณ์กันมา น้อยมากค่ะ (บ้านไหนมีเพิ่มเติม บอกต่อกันได้นะคะ)
-ถ้าให้ลูกดูดจุกนมแต่แบเบาะ ลูกจะไม่อยากดูดนมแม่ ลูกจะติดจุกนม
แต่บางครอบครัวก็ฝึกให้ลูกดูดจุกนมตั้งแต่เดือนแรกเลยนะคะ เพื่อให้ลูกชิน และสามารถดูดนมจากขวดได้ เวลาที่คุณแม่ปั๊มน้ำนมสต็อกไว้
-ถ้าเด็กติดจุกนม ดูดจุกนมนอน (เสมือนตัวช่วยกล่อมให้หลับง่ายขึ้น) ถ้าจุกนมหลุดออกก็ตื่นร้องไห้จ้าทันที ทำให้การนอนหลับไม่ต่อเนื่อง การนอนหลับไม่มีประสิทธิภาพค่ะ
จุกนม อย่างไรก็เป็นของใช้จำเป็นของลูกน้อย และเป็นสิ่งของที่ลูกต้องดูดด้วย เรื่องของความสะอาด ปลอดภัย จึงต้องคำนึงให้สำคัญ ในการเลือกซื้อจุกนม มาให้ลูกดูด
ต้องเลือกจุกนมแบบไหน จุกนมแบบไหนดีที่สุดสำหรับลูก
-ขนาดของจุกนม เลือกให้เหมาะสมกับวัย ลูกเล็กเลือกหัวที่เล็กกว่าเด็กโต ที่ควรเลือกเป็นขนาดเล็ก s หรือ ss ด้วยรูที่เล็ก ทำให้ลูกดูดได้ง่าย ไม่สำลัก
คุณแม่ควรเฝ้าสังเกตอาการขณะที่ลูกดื่มนมจากจุกนม หากลูกสำลักหรือคายนมออกมาแสดงว่า จุกนมนั้นทำให้นมไหลออกมาเร็วเกินไป ควรเปลี่ยนไปใช้จุกนมใหม่
-หัวจุกนมมีหลายแบบ เช่น จุกนมปลายกลมมน จุกนมปลายแบนเรียบ จุกนมปลายแหลมแบน แนะนำว่า ลักษณะรูปทรงของจุกนมควรจะคล้ายกับนมแม่มากสุด เพราะถ้าลูกดูดเต้าแม่มาตั้งแต่แรกเกิด ลูกจะจำสัมผัสนั้นได้เป็นอย่างดี การเลือกจุกนมเสมือนนมแม่ หรือจุกนมที่มีฐานกว้าง จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะค่ะ
-วัสดุที่ใช้ทำจุกนม ในท้องตลาดมีหลายชนิด เช่น ซิลิโคน มีคุณสมบัติ เนื้อแน่นและคงรูปเดิมได้นาน หรือ ยาง /ยางพารา คุณสมบัติ จะนิ่มและยืดหยุ่นมากกว่าซิลิโคน แต่อายุการใช้งานสั้นกว่า ทนความร้อนไม่ได้ดี เพราะจุกนมเมื่อใช้ไปนานๆ ผ่านการต้มฆ่าเชื้อโรคบ่อยๆ ตัวยางจะบางลงและเสียรูปทรง
-ต้องทำความสะอาดได้ง่าย เข้าถึงทุกซอกทุกมุม สำคัญมากค่ะ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดกับลูกรัก คุณแม่ควรเริ่มต้นทำความสะอาดในครั้งแรกเลย โดยนำไปต้มทิ้งไว้ในหม้อประมาณ 5 นาที จากนั้นล้างจุกนมด้วยสบู่และน้ำอุ่น ผึ่งทิ้งไว้ให้แห้ง และหลังการใช้งานทุกครั้ง ล้างจุกนมด้วยสบู่และน้ำอุ่นทันที ผึ่งจุกนมจนแห้งสนิทก่อนนำไปใช้งานอีกครั้ง
-ถ้าจุดนมเริ่มมีสภาพเสื่อม สึกหรอ บิ่น แนะนำว่าอย่าเสียดายค่ะ ทิ้งแล้วใหม่ดีกว่าค่ะเพราะอาจมีเศษยางหลุดปนเข้าไปในปากขณะที่ลูกดูดนม และส่วนใหญ่จุกนมไม่ว่าจะผลิตจากวัสดุประเภทไหน อายุการใช้งานประมาณ 2-3เดือน
คุณแม่ท่านไหนยังกังวลเรื่องการใช้จุกนมอยู่ อยากแนะนำว่า ค่อยๆ ฝึกและสังเกตลูกค่ะ บางครั้งคุณแม่อาจต้องลงทุนซื้อจุกนมหลายแบบมาให้ลูกได้ลองดูด ว่าแบบไหนที่เขาดูดแล้วสงบ มีความสุข เท้าดีดดึ๋งๆ แววตาเปล่งประกาย เสียงดูดจ๊วบๆ อย่างเพลินอารมณ์ และที่สำคัญ เลือกจุกนมให้เสมือนนมแม่นะคะ