ปัญหาสายตา: ลูกน้อยมีปัญหาทางสายตาไหม?
ดวงตา เป็นอวัยวะที่แสนละเอียดอ่อน โดยเฉพาะสำหรับเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่ หรือคุณผู้ปกครองจึงต้องหมั่นสังเกตอย่างใกล้ชิด และต้องหมั่นตรวจคัดกรองโรคตามระยะเวลาที่เหมาะสมด้วยนะคะ เพราะการมองเห็นมีผลต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กค่ะ
ปัญหาสายตา ในเด็ก
เช็คลิส ปัญหาสายตา
ในช่วงอายุ 0-2 ปี (วัยทารกและวัยหัดเดิน)
น้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 1,500 กรัม หรือคลอดก่อนกำหนดมีอายุครรภ์น้อยกว่า 30 สัปดาห์คลอดครบกำหนดแต่ไม่ยอมมองตามวัตถุ ภายในอายุ 3 เดือนมีน้ำตาเอ่อล้นในตาข้างเดียวหรือสองข้าง และไม่ตอบสนองต่อการนวดระบายท่อน้ำตา มีความเสี่ยงภาวะต้อหินในเด็กหนังตาตก 1 หรือ 2 ข้าง มีความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน คือ สายตาขี้เกียจหรือภาวะที่สายตาข้างใดข้างหนึ่งมัวกว่าอีกข้างหนึ่งทารกที่มีพัฒนาการช้ากว่าปกติทารกที่มีภาวะ Down’s syndrome ควรได้รับการประเมินและติดตามการมองเห็น เนื่องจากมักพบสายตาเอียง ต้อกระจก และเยื่อบุตาขาวอักเสบจากภูมิแพ้มากกว่าทารกทั่วไปมีระดับฮอร์โมนของต่อมใต้สมองผิดปกติ มักสัมพันธ์กับเส้นประสาทตาเล็กกว่าปกติมีขนาดกระจกตาใหญ่กว่าปกติ มีความเสี่ยงต้อหินในเด็กและกระจกตาใหญ่ตั้งแต่แรกเกิดตาเขในทุกรูปแบบ ควรได้รับการตรวจตาและตรวจติดตามจนกว่าจะพ้นช่วงอายุที่สามารถเป็นตาเขได้ คือประมาณ 6 – 7 ปีมีอาการตาสั่นมีเงาสะท้อนจากลูกตาผิดปกติ เช่น ทึบหรือสว่างวาวกว่าปกติ
อายุ 2 - 5 ปี (วัยก่อนเข้าโรงเรียน)
เด็กที่ตาเขทุกรูปแบบควรได้รับการตรวจตาและตรวจติดตามจนกว่าจะพ้นช่วงอายุที่สามารถเป็นตาเขได้ คือประมาณ 6 – 7 ปีเด็กที่มีอาการเอียงหน้า เอียงคอเวลาที่จ้องมองวัตถุเด็กกระพริบตาบ่อยผิดปกติ อาจมาจากอาการภูมิแพ้ที่เยื่อบุตาขวา สายตาผิดปกติ หรือ TIC Disorder ซึ่งเป็นโรคความผิดปกติทางพฤติกรรมมีประวัติสายตาผิดปกติในครอบครัวเด็กมีความผิดปกติในการเรียนรู้ ซึ่งอาจเป็นเหตุมาจากเรื่องสายตาร่วมด้วยเด็กที่มีอาการภูมิแพ้ที่เยื่อบุตาขาว มักมีอาการคันตา ขยี้ตา กระพริบตาบ่อย มักพบร่วมกับภูมิแพ้ในร่างกายระะบบอื่นร่วมด้วย
คำแนะนำจากแพทย์
เด็กที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไปทุกคนตรวจตาเพื่อประเมินการมองเห็นอย่างน้อย 1 ครั้งก่อนเข้าเรียน เพื่อเป็นการคัดกรองความผิดปกติด้านสายตาและคัดกรองภาวะสายตาขี้เกียจ
3. อายุ 5 ปีขึ้นไป (วัยเข้าโรงเรียน)
เด็กที่มีอาการปวดศีรษะ โดยเฉพาะอาการปวดศีรษะที่ถูกกระตุ้นโดยการมองเห็นเด็กที่ต้องหยีตาเวลาดูทีวี หรือมองกระดาน หรือต้องเดินเข้าไปดูใกล้ๆ ทุกครั้งเด็กที่ตาเขทุกรูปแบบควรได้รับการตรวจตาและตรวจติดตามจนกว่าจะพ้นช่วงอายุที่สามารถเป็นตาเขได้ คือประมาณ 6 – 7 ปี
หากลูกน้อยของท่านมีอาการผิดปกติทางสายตาข้อใดข้อหนึ่ง ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วนะคะ อย่าปล่อยให้เรื่องนี้กลายเป็นปัญหาที่ตามมาในอนาคตค่ะ