mombieclub
mombieclub
@mombieclub

ลูกตัวเล็ก: โตช้า ผิดปกติหรือไม่ สังเกตลูกอย่างไรดี?

ลูกตัวเล็ก
ลูกตัวเล็ก

วัยเด็ก เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย เช่น เรื่องการเจริญเติบโตของร่างกาย คุณพ่อ คุณแม่คงสงสัยกันไม่น้อยใช่ไหมคะ ว่าลูกน้อยของเราหากมีการเจริญเติบโตช้า ตัวเล็กกว่าเพื่อนๆ ลูกเราจะมีความผิดปกติหรือไม่? ซึ่งอาจมีโรคบางอย่างที่ซ่อนเร้นอยู่และควรได้รับการแก้ไขที่เหมาะสมตั้งแต่ต้นนะคะ

สังเกตุ ลูกตัวเล็ก

แล้วคุณพ่อ คุณแม่จะทราบได้อย่างไรว่าลูกน้อยมีการเจริญเติบโตที่ดีล่ะ วันนี้เรามาทราบถึงสาเหตุ วิธีการสังเกต และทางแก้ไขปัญหาของเรื่องนี้ไปพร้อมๆ กันดีกว่าค่ะคุณพ่อ คุณแม่

ทำความรู้จักกับ ภาวะเด็กตัวเตี้ย

"ภาวะเด็กตัวเตี้ย" เป็นภาวะที่เด็กมีการเจริญเติบโตช้ากว่าค่าเฉลี่ยของเด็กที่อยู่ในวัยและเพศเดียวกันอย่างน้อย 2 เท่า ของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งเด็กที่มีภาวะเตี้ยก็มักจะมีน้ำหนักตัวที่น้อยกว่าเด็กในเพศและวัยเดียวกัน อาจมีความสูงและเส้นรอบศีรษะที่แตกต่างกันด้วยค่ะ

สาเหตุของลูกโตช้า ตัวเล็ก เกิดจากอะไร?

สาเหตุของลูกโตช้า ตัวเล็กนั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่กรรมพันธุ์ ไปจนถึงภาวะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต หรือเรียกว่าโกรทฮอร์โมน (growth hormone) ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน โรคกระดูก โรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคทางระบบทางเดินอาหาร โรคไต โรคติดเชื้อ ขาดสารอาหาร และพักผ่อนไม่เพียงพอ

ส่วนใหญ่แล้วมักมีสาเหตุมาจาก "กรรมพันธุ์" (familial short stature) คือ เด็กที่ตัวเล็กสืบเนื่องจากคุณพ่อ คุณแม่ตัวเล็ก หรือเป็นกลุ่มโตช้าที่เรียกกันว่าเตี้ยในแบบม้าตีนปลาย (constitutional delayed of growth and puberty) ซึ่งทั้งสองสาเหตุนี้ ไม่ถือเป็นความผิดปกติแต่อย่างใด

และยังมีอีกหนึ่งภาวะที่เรียกว่า ภาวะตัวเตี้ยปกติ (normal variant short stature) เป็นภาวะที่พบได้บ่อย ไม่ได้มีโรคอะไรซ่อนเร้นอยู่ และไม่ต้องทำการรักษาใดๆ คุณพ่อ คุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลไปนะคะ

วิธีการสังเกตง่ายๆ ว่าลูกเติบโตช้า หรือไม่!

ลูกตัวเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับพี่น้องท้องเดียวกันเมื่ออายุเท่าๆ กันลูกตัวเล็กกว่าเพื่อนๆ ในวัยเดียวกันส่วนสูง นำ้หนักอยู่ต่ำกว่าเส้นล่างสุดของกราฟการเจริญเติบโต ตามเพศและอายุของเด็กมีอัตราการเจริญเติบโตลดลงโดยเปรียบเทียบในกราฟการเจริญเติบโตหรือไม่เติบโตเลย

กราฟการเจริญเติบโตชาย-หญิง
กราฟการเจริญเติบโตชาย-หญิง

เมื่อไหร่ที่คุณพ่อ คุณแม่สังเกตว่าลูกมีความสูงน้อยผิดปกติแตกต่างจากเพื่อนในวัยเดียวกันจนเกินไป หรือพบว่าในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมาลูกไม่สูงขึ้นเลย ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติเพื่อวางแผนการรักษาค่ะ

เมื่อพบแพทย์ จะต้องตรวจอะไรบ้าง?

ดูประวัติของเด็กและครอบครัว เช่น ประวัติการตั้งครรภ์ การคลอด น้ำหนักและความยาวแรกเกิด ประวัติการเจ็บป่วย อาหารที่ได้รับ ความสูงและการเข้าสู่วัยหนุ่มสาวของบิดามารดาและพี่น้องการตรวจร่างกาย ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความยาวของส่วนแขน ขา และเส้นรอบศีรษะ และตรวจหาความผิดปกติอื่นๆที่พบร่วมกันประเมินดูอัตราการเจริญเติบโตเปรียบเทียบกับกราฟการเจริญเติบโตการเอ็กซเรย์ฝ่ามือและข้อมือ เพื่อประเมินดูการเจริญเติบโตของกระดูกการตรวจอื่นๆ ทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือดวัดระดับของฮอร์โมนต่าง

การเลือกกินอาหารที่เหมาะสมมีความสำคัญต่อเจริญเติบโต และยังช่วยให้เด็กๆ มีสุขภาพดี โดย

อัตราการเพิ่มน้ำหนัก
อัตราการเพิ่มน้ำหนัก

รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ คือ ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์และนม ไขมัน ผักและผลไม้ควรรับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้เป็นประจำเพื่อให้ได้ใยอาหารรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงเป็นประจำเช่น ตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง ผักใบเขียวดื่มนมวันละ 2-3 แก้วเพื่อให้ได้แคลเซียมเพียงพอหลีกเลี่ยงอาหารที่มันมากเกินไปหลีกเลี่ยงน้ำอัดลมและของขบเคี้ยวเช่น ขนมหวาน ขนมกรุบกรอบไม่ควรกินอาหารรสหวานจัดและอาหารประเภทน้ำตาลมา

อัตราการเพิ่มความสูง
อัตราการเพิ่มความสูง

หากคุณพ่อ คุณแม่พบความผิดปกติได้เร็ว ก็สามารถพามาพบและปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแก้ไข ดูแล และรักษาได้ทันท่วงทีนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง
เมนูอาหารสำหรับเด็ก: สำหรับเด็กที่คุณแม่ทำได้ง่ายๆ
เมนูอาหารสำหรับเด็ก: สำหรับเด็กที่คุณแม่ทำได้ง่ายๆ
31 พฤษภาคม 2022 04:58
คุณพ่อคุณแม่คนไหนกำลังหมดไอเดียในการทำอาหารให้เจ้าตัวเล็ก วันนี้มัมบี้มี 5 ไอเดียเมนูอาหารสําหรับเด็ก วัย 1 ขวบขึ้นไปมาแนะนำกันค่ะ
ท่าให้นม : 6 ท่าสำหรับแม่มือใหม่
ท่าให้นม : 6 ท่าสำหรับแม่มือใหม่
31 พฤษภาคม 2022 05:20
การให้ นมแม่ ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่มีคุณค่ามาก ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ของแม่ และลูกน้อยนั้นแน่นแฟ้นกันมากยื่งขึ้น ซึ่งท่าของการอุ้มให้นมลูกนั
ลูกหิวนมหรืออิ่ม เรียนรู้สัญญาณที่แม่มือใหม่ต้องรู้
ลูกหิวนมหรืออิ่ม เรียนรู้สัญญาณที่แม่มือใหม่ต้องรู้
31 พฤษภาคม 2022 04:47
"หนูหิวนมแล้วนะแม่จ๋า หนูอิ่มแล้วนะแม่จ๋า" คุณแม่มือใหม่ หลายๆ ท่านอาจจะกำลังประสบปัญหาไม่รู้ว่าลูกน้อยหิว นมแม่ หรืออิ่มเมื่อไหร่ใช่ไหมคะ?