nssasitara
nssasitara
@nssasitara

น้ำนมแม่ไม่มี!! หรือเธอแค่ยังไม่มา…??

น้ำนมแม่ไม่มี!! หรือเธอแค่ยังไม่มา…??
น้ำนมแม่ไม่มี!! หรือเธอแค่ยังไม่มา…??

น้ำนมแม่ไม่มี!! หรือเธอแค่ยังไม่มา??

แม่ๆ หลายคนที่ตั้งครรภ์ คงเป็นกังวลไม่น้อยกับปริมาณน้ำนมแม่ โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่

“น้ำนมฉันจะมีเพียงพอสำหรับลูกของฉันไหม??” เป็นคำถามที่คุณพยาบาลได้ยินบ่อยที่สุดจากคุณแม่ๆ หลายท่าน วันนี้เราทำความรู้จักจุดกำเนิดของน้ำนมแม่ และปริมาณที่พอเพียงสำหรับลูกรักในระยะสัปดาห์แรกหลังคลอดกันค่ะ

จริงๆ แล้วน้ำนมแม่สร้างเตรียมไว้สำหรับลูกรักตั้งแต่สัปดาห์ที่ 16 ของการตั้งครรภ์ พร้อมๆ กับการขยายและแตกแขนงของท่อและต่อมน้ำนมภายในเต้านม คุณแม่จะสังเกตได้จากเต้านมที่ขยายขนาดขึ้นอย่างต่อเนื่องในตอนท้อง… นั่นคือการเตรียมพร้อมของเต้านมและน้ำนม โดยเฉพาะหัวน้ำนม (ลักษณะสีเหลือง ข้นๆ มีลักษณะเหนียวเป็นพิเศษ แต่อุดมไปด้วยภูมิคุ้มกันที่หาไม่ได้จากสิ่งอื่น และเหมาะสำหรับลูกคุณแม่อย่างเฉพาะเจาะจง) ซึ่งโครงสร้างและจำนวนของต่อมน้ำนมในการผลิตน้ำนมนั้นมีจำนวนใกล้เคียงกันในคุณแม่ทุกคน

ดังนั้นคุณแม่ที่มีขนาดของเต้านมเล็ก ก็อย่ากังวลไปค่ะ น้ำนมของคุณแม่จะเพียงพอสำหรับลูกคุณแม่แน่นอน **ขนาดที่ต่างกันคือปริมาณไขมันเต้านมที่ต่างกันนั่นเองซึ่งไม่เกี่ยวกับการสร้างน้ำนม**

📌 น้ำนมแม่ในระยะตั้งครรภ์ : จะไม่ถูกขับออกมาเพราะมีฮอร์โมนจากรกกดการไหลของน้ำนมอยู่… นี่คือความฉลาดของร่างกายมนุษย์ ที่จะสั่งให้ไหลออกมาเมื่อต้องการจะใช้เท่านั้น แต่คุณแม่บางคนอาจจะไหลได้บางแต่อาจเพียงเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องบีบทิ้ง แค่รักษาความสะอาดไม่ให้ชื้นก็พอค่ะ

📌 น้ำนมแม่ในระยะหลังคลอด : คุณแม่อาจจะกังวลหนัก ถ้าไม่เห็นน้ำนมไหลออกมา…แล้วลูกฉันเกิดมาจะกินอะไรนะ!!! ยิ่งคุณแม่เครียด น้ำนมก็จะยิ่งไม่มา ดังนั้นเราจึงมีเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่จะช่วยตอบข้อกังวลใจของคุณแม่ได้ค่ะ

ฮอร์โมนสร้างน้ำนมถูกกดอยู่จากระดับของฮอร์โมนจากรก แม้หลังคลอด รกจะออกไปแล้วแต่ฮอร์โมนนี้ยังอยู่ประมาณ 1-2 วัน คุณแม่จึงจะอาจไม่เห็นน้ำนมที่มีอยู่ในเต้าถูกขับออกมา

แต่ใจเย็นๆ นะคะ เรามีเทคนิคกระตุ้นน้ำนมมาบอก นั่นคือ การให้ลูกดูดเร็วที่สุด - ดูดบ่อย - ดูดถูกวิธี (ดูดต้องไม่เจ็บ) จะทำให้ฮอร์โมนที่สร้างน้ำนมเพิ่มขึ้นจนเอาชนะได้ในระยะเวลาเร็วขึ้น

คุณแม่คงคิดว่า “แล้วลูกฉันจะอยู่ได้ยังไง หิวแย่เลย” ทารกแรกเกิดมีพลังงานสะสมเพื่อรอการมาของน้ำนมคุณแม่ได้ค่ะ ซึ่งเป็นพลังงานจากไขมันในร่างกายของทารก... ธรรมชาติจัดสรรมาให้พร้อมแล้วค่ะ

ระหว่างนี้หากคุณแม่ใช้เทคนิคกระตุ้น 3 ดูด + ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย น้ำนมที่มีอยู่จะค่อยๆ ออกมาเป็น “บีบปุด” ในระยะ 1 - 3 วันแรก “บีบหยด” ในระยะ 3 - 7 วัน และจึงจะบีบพุ่ง แต่คุณแม่ต้องบีบอย่างถูกต้องจึงจะเห็นนะคะ

สำหรับทารก ตามปกติน้ำหนักของทารกอาจจะลดลงเรื่อยๆ ในระยะหลังคลอดใหม่ๆ ประมาณ 7 - 10% และขยับขึ้นไปเท่าน้ำหนักแรกเกิดในวันที่ 7 หลังคลอด (ทารกคลอดครบกำหนด)... จะเห็นได้ว่าจะสอดรับกันพอดีในปริมาณน้ำนมแม่ที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้น

กระเพาะอาหารของลูกไม่ได้ใหญ่เท่าผู้ใหญ่ อย่ากลัวกับปริมาณน้ำนมที่บีบปุดในช่วงแรกว่าจะไม่พอกับกระเพาะลูกรักของคุณ

ความจุกระเพาะอาหารลูก
ความจุกระเพาะอาหารลูก

ความจุกระเพาะอาหารลูก

・วันแรก ประมาณ 5 ซีซี (1 ช้อนชา) ขนาดเท่าลูกเชอร์รี่

・วันที่ 2-3 ความจุ 10 - 20 ซีซี ขนาดเท่าลูกสตอเบอร์รี่

・วันที่ 7 ความจุ 40 - 50 ซีซี ขนาดเท่าไข่ไก่เบอร์เล็ก

ในระยะ 2 - 3 วันแรก ขนาดของกระเพาะมีขนาดเล็ก และการกลืนของทารกยังไม่แข็งแรง ดังนั้นจะเห็นว่าน้ำนมแม่ในระยะแรกจะเหนียวข้น ปริมาณไม่มากพอดีกับความจุ และความหนืดของน้ำนมจะช่วยให้ทารกกลืนง่าย ไม่สำลักนั่นเอง… จะเห็นว่าร่างกายคุณแม่จะสร้างน้ำนมแม่ให้เหมาะสมกับลูกแม่ที่สุด ทั้งปริมาณและคุณภาพ

เพราะฉะนั้น คุณแม่ใกล้คลอดที่กังวลเรื่องปริมาณน้ำนม คงจะสบายใจขึ้น อย่าลืมเอาความรู้นี้ และเทคนิคกระตุ้นน้ำนมไปใช้ อย่าลืมทำจิตใจให้ผ่อนคลายด้วยนะคะ

เป็นกำลังใจให้ความรักที่ยิ่งใหญ่ของคุณแม่ทุกคนนะคะ

ผศ.ดร.ศศิธารา น่วมภา (ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)

Related Articles
น้ำนมแม่: คืออะไร?
น้ำนมแม่: คืออะไร?
30 พฤษภาคม 2023 19:33
เชื่อว่าไม่มีใครไม่รู้จัก น้ำนมแม่ อย่างแน่นอน แต่วันนี้เราจะพาไปเจาะให้ลึกขึ้น ว่า น้ำนมแม่ คืออะไร?
ลูกไม่เลิกเพิส ทำไงดีคะ?
ลูกไม่เลิกเพิส ทำไงดีคะ?
30 มีนาคม 2023 07:47
ยุคสมัยนี้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปเป็นสิ่งของที่ต้องมี เพราะใช้ง่ายสะดวกสบายถูกใจคุณแม่มือใหม่ เมื่อลูกเริ่มโตสู่ช่วงวัยเตรียมอนุบาลบางบ้างเนี่ยยังติดแพมเพิสอ
8 เคล็ดลับบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับคุณแม่
8 เคล็ดลับบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับคุณแม่
24 มีนาคม 2023 06:29
แม่ยุคนี้ส่วนใหญ่เป็น Working Mom คนเก่งที่นอกจากเลี้ยงลูกก็ยังต้องทำงาน ไหนจะเรื่องดูแลกันในบ้าน และอะไรอีกหลายอย่างเลย แม้จะมีคุณพ่อช่วยก็ตามทีแต่เว
วิธีรับมือและป้องกัน เมื่อลูกน้อยหกล้ม!!
วิธีรับมือและป้องกัน เมื่อลูกน้อยหกล้ม!!
24 มีนาคม 2023 05:50
การหกล้มของลูกน้อยวัยซน เป็นอุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ยิ่งกับเด็กวัยหัดเดินขึ้นไป ซึ่งอาจทำให้ลูกน้อยได้รับบาดเจ็บที่ไม่ร้ายแรง ไปจนถึงขั
สีน้ำมูกลูก บอกโรคได้นะแม่!!
สีน้ำมูกลูก บอกโรคได้นะแม่!!
14 เมษายน 2023 00:26
ในช่วงฤดูฝนเริ่มมีอากาศเย็นลง และเมื่อลูกน้อยของเรามีน้ำมูก คุณพ่อคุณแม่อาจจะคิดว่าแค่หยิบทิชชู่มาสั่งก็จบแล้ว จึงไม่ได้ใส่ใจอะไรเป็นพิเศษ จริงๆ แล้วส