mombieclub
mombieclub
@mombieclub

พฤติกรรมที่คุณพ่อ คุณแม่ทำ อาจทำร้ายผิวลูกน้อย โดยไม่รู้ตัว!

พฤติกรรมที่คุณพ่อ คุณแม่ทำ อาจทำร้ายผิวลูกน้อย โดยไม่รู้ตัว!
พฤติกรรมที่คุณพ่อ คุณแม่ทำ อาจทำร้ายผิวลูกน้อย โดยไม่รู้ตัว!

ปัญหาที่คุณพ่อ คุณแม่มักพบเจอ! ยิ่งในช่วงหน้าหนาวถือเป็นช่วงที่ผิวเรานั้นมีปัญหามากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาผิวแห้ง หรือผิวขาดน้ำ ซึ่งมักทำให้เกิดปัญหาระคายเคืองผิวตามมา โดยเฉพาะผิวของลูกน้อยที่ยังไม่แข็งแรงเท่ากับเด็กโต ทั้งยังมีความบอบบางมากกว่าผิวของผู้ใหญ่ จึงได้รับผลกระทบง่ายกว่าปกติ และอ่อนไหวต่อสิ่งที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองได้ง่ายกว่า

ในบางกิจกรรมและพฤติกรรมบางอย่างที่คุณพ่อ คุณแม่ทำให้ลูกน้อย อาจทำร้ายผิวที่บอบบางโดยไม่รู้ตัว มาดูกันดีกว่าว่าพฤติกรรมที่จะทำร้ายผิวลูกมีอะไรบ้างค่ะ

1. อยู่ในที่ที่มีเย็นนานเกินไป

อยู่ในห้องหรือสถานที่ที่เปิดเครื่องปรับอากาศตลอดเวลา ส่งผลให้ผิวของลูกน้อยมีลักษณะแห้ง และขาดน้ำ บางครั้งอาจมีอาการคันร่วมด้วย หากลูกเกาจนเป็นแผล ก็จะทำให้ลุกลามกลายเป็นผิวหนังอักเสบได้ค่ะ

2. อาบน้ำอุณหภูมิสูงเกินไป

อาบน้ำด้วยน้ำที่มีอุณหภูมิไม่เหมาะสมกับผิวเด็กเล็ก เช่น การอาบน้ำอุ่น และการให้ลูกเล่นน้ำนานเกินไปจะทำให้ผิวของลูกน้อยขาดความชุ่มชื้น และผิวมีลักษณะแห้ง แดง ลอก จากการที่ชั้นไขมันเคลือบผิวลูกถูกทำลายไป

3. อาบน้ำบ่อยเกินไป

อาบน้ำให้กับลูกน้อยบ่อย เพราะกลัวว่าลูกจะรู้สึกร้อน เหนอะหนะตัว หรือไม่สบายตัว ส่งผลทำให้ผิวของลูกน้อยมีโอกาสสูญเสียความชุ่มขึ้นได้มากถึง 2.5 เท่า เมื่อเทียบกับการสูญเสียความชุ่มขึ้นของผิวตามปกติ ยิ่งอาบน้ำบ่อยเท่าไร ก็ยิ่งเป็นการทำร้ายผิวลูกมากเท่านั้นนะคะ

4. ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงและปกป้องผิวลูกน้อย

การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความอ่อนโยน และมีคุณสมบัติ จะช่วยเสริมเกราะป้องกันผิวลูกน้อย เป็นอีกตัวช่วยหนึ่งในการปกป้องผิวจากการโดนทำร้ายได้เป็นอย่างดี คุณพ่อ คุณแม่จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการดูแลและเติมความชุ่มชื้นให้กับผิวลูกรัก ตั้งแต่ขั้นตอนของการอาบน้ำไปจนถึงการบำรุงหลังอาบน้ำ ซึ่งควรต้องใช้ในทุกครั้งหลังจากการอาบน้ำ เพื่อเติมเต็มความชุ่มชื้นผิวที่เสียไประหว่างอาบน้ำ

5. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสมกับผิวลูกน้อย

คุณพ่อ คุณแม่อาจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น สบู่อาบน้ำ หรือโลชั่นบำรุงผิวไม่เหมาะกับผิวของลูกน้อย ซึ่งในบางผลิตภัณฑ์อาจมีส่วนผสมที่เป็นอันตราย หรือสารเคมี ที่ทำร้ายผิวของลูก แม้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นจะเป็นผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค จึงควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารเคมีที่มักกระตุ้นให้เกิดการระคายเคืองผิวในเด็กเล็กนะคะ

วิธีดูแลรักษาผิวให้กับลูกน้อย

  • อาบน้ำอุณหภูมิเหมาะสม เพื่อลดโอกาสในการทำลายชั้นไขมันบนผิวหนัง
  • อาบน้ำวันละ 1 - 2 ครั้ง เพื่อป้องกันการสูญเสียความชุ่มชื้นของผิวหนัง
  • ใช้ผลิตภัณฑ์อาบน้ำ ที่ช่วยดูแล และป้องกันผิวลูกน้อย ควรเลือกแบบที่อ่อนโยนต่อผิวบอบบางของลูก ไม่มีส่วนผสมของสารพาราเบน สารพาทาเลต หรือสีสังเคราะห์ ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองผิว
  • ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ที่ช่วยทำให้ผิวของลูกนุ่ม ชุ่มชื้น ดูมีผิวที่สุขภาพดี ลดโอกาสการเกิดผิวแพ้ง่าย และช่วยปกป้องสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้าสู่ร่างกายผ่านผิวหนัง
  • เลือกเสื้อผ้าที่ปกปิดผิว เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวลูกสัมผัสกับอากาศเย็นมากเกินไป

หากคุณพ่อ คุณแม่ท่านใดพบว่ากำลังทำร้ายผิวลูกรักโดยไม่รู้ตัว ควรรีบหยุดพฤติกรรมนั้นทันที ก่อนที่สิ่งเหล่านั้นจะทำร้ายผิวของลูกซ้ำแล้วซ้ำเล่า และควรหันมาดูแลผิวของลูกรัก ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย อ่อนโยน สิ่งสำคัญ คือ ต้องมีคุณสมบัติช่วยบำรุงผิว และปกป้องผิวของลูกให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ

บทความที่เกี่ยวข้อง
ผิวเด็ก: 8 เคล็ดลับการดูแลผิวของลูกน้อย
ผิวเด็ก: 8 เคล็ดลับการดูแลผิวของลูกน้อย
25 พฤษภาคม 2022 04:01
ทราบหรือไม่คะว่า ผิวเด็กละเอียดอ่อนและบอบบางกว่าผิวของผู้ใหญ่มาก จำเป็นที่จะต้องดูแลเอาใจใส่และบำรุงผิวพรรณของลูกน้อยให้มีสุขภาพที่ดี มาอ่านเคล็ดลับกั
สอนลูกรับมือกับการสูญเสียคนสำคัญ และความเศร้าโศก
สอนลูกรับมือกับการสูญเสียคนสำคัญ และความเศร้าโศก
27 ธันวาคม 2022 05:08
การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไม่ว่าจะเป็นสมาชิกในครอบครัว เพื่อนสนิท หรือคนรัก ล้วนเป็นสิ่งที่ยากจะเผชิญซึ่งอาจทำให้รู้สึกเจ็บปวด และเศร้าโศกเป็นอย่างม
เคล็ดลับสอนลูกน้อยสร้างเพื่อนในแบบง่ายๆ (เชิงจิตวิทยา)
เคล็ดลับสอนลูกน้อยสร้างเพื่อนในแบบง่ายๆ (เชิงจิตวิทยา)
28 ธันวาคม 2022 04:43
การเข้าหาคนอื่นนั้นถือเป็นเรื่องง่ายสำหรับเด็กบางคน แต่ก็มีบางกลุ่มที่ต้องใช้เวลาในการปรับตัวเมื่อเจอกับสถานการณ์ใหม่ๆ หรือบุคคลใหม่ๆ ซึ่งสำหรับเด็กใน
ลูกร้องกลั้นจนหน้าเขียว สาเหตุเกิดมาจากอะไร?
ลูกร้องกลั้นจนหน้าเขียว สาเหตุเกิดมาจากอะไร?
23 ธันวาคม 2022 08:13
ภาวะกลั้นหายใจในเด็ก หรือ Breath holding spells พบได้ 2-5% ในเด็กเล็ก ตั้งแต่ช่วงอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี และพบได้บ่อยในเด็กอายุ 1 ถึง 3 ปี เพราะเด็กมักมี