เคล็ดลับสอนลูกน้อยสร้างเพื่อนในแบบง่ายๆ (เชิงจิตวิทยา)

เคล็ดลับสอนลูกน้อยสร้างเพื่อนแบบง่ายๆ
เคล็ดลับสอนลูกน้อยสร้างเพื่อนแบบง่ายๆ

การเข้าหาคนอื่นนั้นถือเป็นเรื่องง่ายสำหรับเด็กบางคน แต่ก็มีบางกลุ่มที่ต้องใช้เวลาในการปรับตัวเมื่อเจอกับสถานการณ์ใหม่ๆ หรือบุคคลใหม่ๆ ซึ่งสำหรับเด็กในกลุ่มเหล่านี้ จำเป็นจะต้องได้รับการช่วยเหลือที่ถูกวิธี เรามาดูขั้นตอนง่ายๆ ที่จะช่วยลูกน้อยของเรากันดีกว่าค่ะ

เคล็ดลับ 4 ขั้นตอนง่ายๆ สร้างเพื่อนที่สามารถนำไปใช้ได้ในสถานการณ์จริง

1. เล่าเรื่องเพื่อนหรือญาติๆ ให้ลูกฟังเสมอ

บางคนคิดว่าเด็กๆ ที่ยังอยู่ในวัยสื่อสารไม่ได้ คงไม่เข้าใจเรื่องที่ผู้ใหญ่คุยกัน แต่ความเป็นจริงแล้ว เขาสามารถฟังและจดจำสิ่งที่เราพูดคุยกันอยู่เสมอค่ะ

ซึ่งการที่เราเล่าถึงเพื่อนหรือญาติๆ ให้ลูกฟัง เป็นการสอนให้ลูกรู้จักคนอื่นๆ มากขึ้น ทำให้รู้จักหน้าตา ชื่อ ลักษณะนิสัย ของคนนั้นๆ ทำให้ลูกได้ขยายขอบเขตของคนรอบตัวได้กว้างกว่าการพูดถึงแต่เรื่องราวของคนในบ้านหรือเรื่องราวของตนเองค่ะ

2. ใช้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณแม่และเพื่อนเป็นต้นแบบ

การสอนด้วยการให้คุณแม่เป็นตัวอย่างนั้น เป็นทางที่ดีที่จะช่วยให้เด็กๆ มีความกล้าที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ง่ายขึ้น

เด็กที่อยู่ในครอบครัวเล็กๆ และไม่ค่อยได้ออกไปพบปะผู้อื่น ก็มีแนวโน้มที่จะพูดน้อย ไม่กล้าแสดงออก ในขณะที่เด็กๆ ที่ได้มีโอกาสพบปะเพื่อนๆ ของคุณพ่อคุณแม่จนชินตา ก็มีแนวโน้มที่จะเรียนรู้ทักษะทางสังคมได้เร็วกว่า ซึ่งแม้จะเป็นเพียงข้อสังเกต แต่ก็สามารถพูดได้ว่า ตัวอย่างที่ได้เห็นนั้นเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อความคิดของเด็ก โดยเฉพาะความตื่นเต้นเมื่อจะได้เล่นกับเพื่อนๆ ของตัวเอง เหมือนกับที่ได้เห็นคุณพ่อคุณแม่มีความสุขเวลาได้เจอกับเพื่อนๆ นั่นเองค่ะ

3. ให้กำลังใจเด็กๆ

กำลังใจ นั้นเป็นสิ่งสำคัญเสมอสำหรับเด็กๆ และผู้ใหญ่อย่างเรา ในการทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จ แม้แต่เรื่องของการเข้าสังคมค่ะ

โดยมีวิธีการง่ายๆ ก็คือการให้รอยยิ้ม ปรบมือ รวมไปถึงการพูดชื่นชมเมื่อเด็กๆ เริ่มกล้าที่จะก้าวเข้าสู่สังคมใหม่มากขึ้น รวมถึงขั้นตอนเล็กๆ น้อยๆ เช่น การที่เด็กเริ่มยอมปล่อยมือจากแม่แล้วเดินไปหาเพื่อน การแบ่งของให้ผู้อื่น หรือการเรียกชื่อเพื่อนหรือแนะนำตัวเองค่ะ

4. สร้างสถานการณ์ให้เด็กได้อยู่ร่วมกับผู้อื่น

เด็กจะเรียนรู้ได้ดีก็ต่อเมื่อมีโอกาสให้ได้ทดลอง และฝึกฝน เรื่องการมีเพื่อนก็เช่นกันค่ะ

การให้เด็กๆ ได้ใช้เวลาเล็กๆ น้อยๆ ในแต่ละวัน หรือแต่ละสัปดาห์ในการเล่น ทำกิจกรรมร่วมกับเด็กคนอื่นๆ ในวัยเดียวกัน ทั้งกลุ่มเพื่อนบ้าน กลุ่มญาติ หรือจะเป็นกลุ่มที่ไปทำความรู้จักกันใหม่ตามสถานที่ต่างๆ

สำหรับเด็กเล็กๆ วัย 2-3 ปีนั้น ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องคาดหวังให้เด็ก “เล่นด้วยกัน” อย่างจริงจังนะคะ เพราะเด็กในวัยนี้ยังมีการมองโลกแบบยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ซึ่งการพาไปเข้ากลุ่ม ก็เพียงเพื่อสร้างความคุ้นเคยกับบรรยากาศที่มีผู้อื่น เพื่อให้เด็กไม่ต้องปรับตัวมากจนเกินไปเมื่อถึงวัยเข้าโรงเรียนค่ะ

แม้ฟังดูเป็นเรื่องง่าย แต่สำหรับเด็กๆ ที่มีความขี้อาย การที่จะผ่านแต่ละขั้นแต่ละตอนไปได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยค่ะ กำลังใจจากคุณพ่อคุณแม่จึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับเด็กๆ เลยก็ว่าได้นะคะ

อ้างอิง : ครูพิม ณัฏฐณี สุขปรีดี นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาศักยภาพเด็กเล็กและการเลี้ยงลูกเชิงบวก

บทความที่เกี่ยวข้อง
รับขวัญ: กำลังเลือกของอยู่หรือเปล่า?
รับขวัญ: กำลังเลือกของอยู่หรือเปล่า?
26 กรกฎาคม 2022 04:36
การให้ “ของขวัญ” หรือ ของฝาก ถือเป็นการแสดงความยินดีอีกรูปแบบหนึ่ง โดยเฉพาะตอนที่มีเรื่องน่ายินดีเมื่อญาติ พี่น้อง หรือเพื่อนรักคลอดลูก ซึ่งเป็นโมเม้น
7 ผลไม้กระตุ้นน้ำนมแม่ แถมช่วยบำรุงคุณแม่หลังคลอด
7 ผลไม้กระตุ้นน้ำนมแม่ แถมช่วยบำรุงคุณแม่หลังคลอด
27 กรกฎาคม 2022 06:48
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำให้คุณแม่ให้นมแม่อย่างเดียว (Exclusive breastfeeding) เป็นระยะเวลา 6 เดือน หรือ 180 วัน นับจากวันหลังคลอดลูก เพราะในน้ำ
โรคมือเท้าปาก: หน้าฝนต้องระวังลูกน้อย
โรคมือเท้าปาก: หน้าฝนต้องระวังลูกน้อย
26 กรกฎาคม 2022 05:18
โรคมือ เท้า ปาก มักพบได้บ่อยในทารก และเด็กเล็ก มักจะมาพร้อม โรคหน้าฝน อื่นๆ ซึ่งทำให้เด็กที่ป่วยมีอาการเป็นไข้ เป็นแผลในปาก มีตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท