เมื่อลูกไม่ยอมทานข้าว ทำอย่างไรดี?
ทำไมลูกถึงไม่ยอมทานข้าวล่ะ? 🥗
ในวัยนี้เมื่อลูกน้อยอายุครบ 1 ปี จะเริ่มเรียนรู้ในเรื่องของการปฏิเสธหรือคายอาหาร เนื่องจากมีการพัฒนาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งในวัยนี้สามารถหาและหยิบอาหารมากินเองได้
การที่ลูกปฏิเสธหรือคายอาหารจัดเป็นสัญชาตญาณที่ช่วยป้องกันไม่ให้ตัวเองทานอาหารที่มีสารพิษเข้าไป และโดยส่วนใหญ่พฤติกรรมของลูกที่ไม่ทานข้าวจะไม่เกิดขึ้นนาน และหายไปเองได้โดยไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ค่ะ แต่ในเด็กเล็กอาจจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตและหาวิธีรับมือกับลูกน้อยเอาไว้นะคะ
ปัญหาลูกไม่ยอมทานข้าวเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันไป ได้แก่
- การเลือกทาน เนื่องจากไม่ชอบเนื้อสัมผัส รสชาติ หรือกลิ่นของอาหารนั้นๆ
- เลี่ยงของทานแปลกใหม่ ลูกน้อยมักเลี่ยงการทานกินอาหารใหม่ คุณพ่อคุณแม่ควรช่วยให้ลองรับประทานอาหารใหม่ๆ โดยให้อาหารที่มีรสชาติคล้ายกับอาหารที่ลูกคุ้นเคย
- อาการแพ้อาหาร ส่วนใหญ่แล้วเด็กๆ มักแพ้นม ถั่วเหลือง ไข่ ข้าวสาลี ถั่วต่างๆ และอาหารทะเล โดยจะเกิดอาการท้องร่วง อาเจียน มีผื่นขึ้น หรือปวดท้อง
- โรคกลัวอาหาร โรคกลัวอาหารมีหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นการกลัวว่าทานอาหารแล้วจะทำให้ป่วย อาหารเป็นอันตรายหรืออาจก่อให้เกิดผลเสียต่อตัวเอง หรือกลัวว่าอาหารจะทำให้สำลักและติดคอ
- ปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อการทาน ปัญหาสุขภาพอาจส่งผลให้เด็กทานอาหารลำบาก โดยอาจดูด เคี้ยว หรือกัดอาหารไม่ถนัด สำลักหรือรู้สึกพะอืดพะอมเมื่อทานอาหาร รวมทั้งรู้สึกเจ็บปวดหรือเกิดอาการท้องผูก
- สาเหตุอื่นๆ เช่น ไม่ชอบสัมผัสของช้อนหรือส้อมเมื่อนำเข้าปากและแตะลิ้น ไม่ชอบอาหารที่บดจนละเอียด รู้สึกพะอืดพะอมเมื่อเห็นอาหารปริมาณมาก สิ่งเร้ารอบข้างดึงความสนใจการรับประทานอาหารของเด็ก และไม่ชอบกลิ่นบางอย่างของอาหารบางชนิด
แล้วจะแก้ปัญหาลูกไม่ยอมทานข้าวได้อย่างไร?
ต้องเริ่มจากการกระตุ้นลูกน้อยกันก่อน
- ให้ทานข้าวเอง
- สังเกตอาการลูก
- กระตุ้นให้ลูกทานอาหารจากจานของคุณพ่อคุณแม่
- ชมเมื่อลูกทานอาหารได้
- ไม่บังคับให้กิน
สร้างสุขลักษณะการกิน
- จัดอาหารให้ดึงดูด
- ทานอาหารตรงเวลา
- สร้างสีสันในการทานอาหารร่วมกัน
- ให้ทานข้าวกับเพื่อน
- ไม่รีบทานอาหาร
- ให้ลูกมีส่วนร่วมกับการเตรียมอาหาร
- ให้ลูกทานอาหารในปริมาณน้อย หรือพอควร
- ควรจำกัดขนมและของว่างระหว่างวัน