ตายายสอน ตรงกันข้ามกับเราสอน ลูกจะสับสนไหม ?

ตายายสอน ตรงกันข้ามกับเราสอน ลูกจะสับสนไหม ?
“ คำถามจากคุณแม่ ”
ตายาย ชอบบอกในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับที่เราสอน ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น เราสอนลูกว่า ถ้าเข้าบ้านต้องถอดรองเท้า แต่พอไปบ้านยาย ยายบอกไม่ต้องถอดใส่เข้ามาเลย แบบนี้ลูกจะสับสนไหมค่ะ ว่าแบบไหนควร ทำหรือไม่ควรทำ

อาจารย์ติ๊ก: อันนี้เราต้องใช้การสื่อสาร
แม่แพร์ : ใช่ค่ะ
อาจารย์ติ๊ก: การสื่อสารนะคะ ต้องเริ่มต้นจากการที่สํารวจใจก่อนว่าคุณแม่รู้สึกว่าเหตุการณ์นี้เป็นยังไง
แม่แพร์ : พอเห็นคุณยายพูดอย่างนั้นปั๊บ...คุณแม่
อาจารย์ติ๊ก: เหตุการณ์ไม่ตรงนั้น คุณแม่รู้สึกยังไงคะ? รู้สึกกังวล รู้สึกไม่พอใจหรือว่า รู้สึกอะไร?
แม่แพร์ : รู้สึกเป็นห่วงลูก รู้สึกโกรธอะไรอย่างนี้ค่ะ
อาจารย์ติ๊ก: รับรู้ก่อน แล้วก็ยอมรับกับมันก่อนนะคะ เสร็จแล้วก็จัดการใจตัวเองก่อนให้ๆรับรู้ว่า เราจะต้องไปคุยกับคุณยายนะคะ ก่อนที่จะคุยต้องจัดการก่อน ให้เรามองที่ใจเราก่อนว่าในเบื้องหลัง ของคุณยาย แล้วจริงๆแล้ว คุณยายเขารักหลานไหม เขาก็คงจะมีเหตุผลอะไร แต่ว่าพฤติกรรมอาจจะแตกต่างกันไปถูกไหมคะ? เราก็ต้องมองในแง่บวกไปก่อน แล้วเสร็จแล้วเราก็ไปคุยว่า เพราะอะไร? คุณแม่อย่าใช้คําว่า “ คําถามว่าทําไมนะ ”

คําว่าทําไม มันเป็นคําถามที่มันคุกคามนะคะ ในเชิงจิตวิทยา
แม่แพร์ : ทําไมเธอทําอย่างนี้ล่ะ? อะไรแบบนี้ใช่ไหมคะ?
อาจารย์ติ๊ก: ใช่ต้องใช้คําว่า "เพราะอะไร?"
แม่แพร์ : เพราะอะไรคะ? เราต้องเปลี่ยนการเริ่มต้นประโยค
อาจารย์ติ๊ก: ใช่ เพราะอะไร? แล้วก็บอกถึงความรู้สึกเราค่ะ ว่าเรารับรู้ว่า คุณยายคือคุณแม่เราไหม?
แม่แพร์ : ใช่ค่ะ คุณแม่
อาจารย์ติ๊ก: ให้ทางนี้หนูรู้สึกกังวลจังเลยว่า ลูกของหนูจะสับสนค่ะ เรากังวลถูกไหม?
แม่แพร์ : ใช่ค่ะ
อาจารย์ติ๊ก: เราก็บอกไปว่าเรากังวลค่ะ เราก็มีความต้องการ เราต้องการยังไงคะ? แล้วก็ต้องการที่อยากที่จะให้ลูกไม่สับสน ว่าเรา ขอถามคุณแม่หน่อยเถอะ คุณแม่ให้ตรงนี้เพราะอะไร? มันก็จะเกิดการคุยกัน อย่างทางที่เรียกว่ามี...
แม่แพร์ : สัมพันธภาพสื่อสารเชิงบวก
อาจารย์ติ๊ก: ใช่ แต่เราต้องจัด mindset เราก่อนนะ
แม่แพร์ : ใช่ค่ะ
อาจารย์ติ๊ก: เพราะว่า mindset เราว่าทุกอย่างมันอยู่บนพื้นฐานของความรักค่ะ ที่ทุกคนมีความรักแต่ว่าบางทีการแสดงออกที่มันแตกต่างกันกันไป เราต้องมองถึงเบื้องหลังของพฤติกรรมว่า พฤติกรรมเบื้องหลังนั้นมันต้องเป็นบวก แต่ว่าการแสดงออกอาจจะไม่พอใจอะไร เราก็มาจูนกัน ตรงการแสดงออก
แม่แพร์ : ภายใต้พฤติกรรม มีความต้องการ
อาจารย์ติ๊ก: ใช่ค่ะ
แม่แพร์ : และความรู้สึกซ่อนอยู่ สํารวจเข้าไปถึงใต้ภูเขาน้ําแข็งของเราว่ามีพฤติกรรมแบบนี้ หรือ ใครคนอื่น เขามีพฤติกรรมแบบนั้น เพราะเขารู้สึกหรือเขาต้องการอะไรนะคะ เมื่อกี้อาจารย์ติ๊กแนะนำในแง่มุมของการสื่อสารค่ะ
แพร์ขออนุญาตแนะนํานิดนึงในแง่ของ พัฒนาการเด็ก จริงๆแล้ว เด็กเขาฉลาดกว่าที่เราคิดนะคะ เขาสามารถแยกแยะได้ ถ้าโตขึ้นมาหน่อยก็สามารถแยกแยะได้ว่าในบริบทที่ไม่เหมือนกันปรับตัวได้เองค่ะ สมมุติว่า บ้านเรากฎเรา โรงเรียนก็กฎโรงเรียน บ้านยายก็มีสิทธิ์ที่จะเป็นกฎยาย นอกจากเป็นเรื่องที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย จิตใจ หรือศีลธรรมค่ะ ที่อาจจะต้องคุยกัน แต่ว่าถ้าเป็นเรื่องอะลุ่มอล่วยกันได้บางที บ้านยายก็กฎยายค่ะ เหมือนก็ให้เขาเรียนรู้ว่า ต่างสถานที่ ก็ต่างกฎกันไป แล้วลูกก็จะเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมค่ะ ไม่ว่าเขาจะไปโรงเรียนเขาก็จะไป ตามกฎที่โรงเรียน อยู่บ้านเขาก็จะตามกฎที่บ้าน สมมุติบ้านเรากลับมา ต้องถอดรองเท้าล้างเท้าก่อน เขาก็จะรู้ทันทีว่าบ้านเราต้องล้างเท้าและถอดรองเท้า แต่ถ้าไปบ้านอื่นไปโรงเรียน คุณไม่ต้องล้างเท้านะ ก็จะช่วยให้คุณแม่สบายใจ ว่าเด็กเขาไม่ได้สับสนหรอก ถ้าทุกอย่างเป็น pattern เหมือนเดิม คือบ้านเรากฎนี้ ก็คือกฎนี้เสมอไป ไปบ้านคุณยายกฎก็จะเป็นกฎนั้นเสมอค่ะ ก็ยังจะแบบทําให้เด็กเขาเข้าใจบริบทในสังคมได้ดีขึ้นด้วยค่ะ

#ตายายสอนไม่เหมือนเรา #mombieclub #มัมบี้ #NS_mentalwellness #เรื่องเด็กๆbyหมอแอม #คณะพยาบาลศาสตร์ #มหาวิทยาลัยมหิดล #แม่เครียด #แม่เหนื่อย #การดูแลใจ #ปัญหาครอบครัว #ปัญหาความสัมพันธ์ #การสื่อสาร #สื่อสารลูกเชิงบวก
https://youtu.be/PdRLyc6q6l4
ตายายสอน ตรงกันข้ามกับเราสอน ลูกจะสับสนไหม ?
0


Please Login to CommentLog In