โรคมือ เท้า ปาก มักพบได้บ่อยในทารก และเด็กเล็ก ซึ่งทำให้เด็กที่ป่
Share Post Report this post
โรคมือ เท้า ปาก มักพบได้บ่อยในทารก และเด็กเล็ก ซึ่งทำให้เด็กที่ป่วยมีอาการเป็นไข้ เป็นแผลในปาก มีตุ่มน้ำใสตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว โดยเฉพาะช่วงหน้าฝนจัดเป็นโรคที่สร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่อยู่ไม่น้อยเลยใช่ไหมคะ
ทำความรู้จักไปกับ "โรคมือ เท้า ปาก"
โรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot and Mouth Disease) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร (Enterovirus) แพร่เชื้อทางน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพอง และแผล พบได้บ่อยในทารก และเด็กเล็ก เด็กที่ป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก ส่วนใหญ่มักจะเริ่มจากอาการไข้ ซึ่งอาจจะไข้ต่ำหรือไข้สูงก็ได้และจะมีแผลในปาก มีผื่นที่มือที่เท้า
อาการของ "โรคมือ เท้า ปาก"
จะมีระยะฟักตัว 2-3 วัน โดยอาการเริ่มต้น
・มีไข้สูง 38-39 องศาเซลเซียส
จากนั้นจึงมีอาการอื่นๆ ตามมาภายใน 1-2 วัน คือ
・เจ็บคอ
・ไม่อยากอาหาร
・อ่อนเพลีย
・เริ่มมีตุ่ม ผื่น หรือแผลอักเสบมีหนองที่ผิวหนังบริเวณ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และบริเวณปากทั้งภายนอกและภายใน ส่วนใหญ่แผลในปากจะพบได้หลายตำแหน่ง ตั้งแต่บริเวณของเพดานแข็ง เพดานอ่อน หรือบางคนอาจพบที่กระพุ้งแก้มหรือที่ลิ้นได้ บางคนเป็นเยอะก็จะลามออกมาที่ริมฝีปากหรือรอๆ ริมฝีปากเลยก็มีนะคะ ซึ่งถ้าอาการดีขึ้นจะสามารถหายจากโรคนี้ไปใน 1 สัปดาห์
โรคมือ เท้า ปาก อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง!
เช่น เหยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หรืออัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก ซึ่งคุณพ่อ คุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด หากมีอาการเตือนของภาวะรุนแรง เช่น ซึมลง ไม่เล่น ไม่ทานอาหาร หรือนม สับสน พูดเพ้อพูดจาไม่รู้เรื่อง ควรรีบนำมาพบแพทย์ทันทีค่ะ
ระยะแพร่เชื้อและการติดต่อของโรคมือ เท้า ปาก
ผู้ที่ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่เริ่มมีอาการใน 7 วันแรก และหลังจากหายแล้วพบว่ายังสามารถพบเชื้อในอุจจาระได้อีก (ระยะประมาณ 2-3 สัปดาห์)
โรคมือ เท้า ปาก ติดต่อได้โดยการสัมผัสกับน้ำลาย น้ำมูก ผื่นตุ่มน้ำใส และอุจจาระของผู้ป่วย เชื้ออาจจะแพร่กระจายโดยผ่านทางมือผู้ที่สัมผัสกัน เช่น การเปลี่ยนผ้าของเด็กเล็ก สารคัดหลั่งจากจมูก ลำคอ น้ำลาย และน้ำจากตุ่มใส สามารถติดต่อทางอ้อมจากการสัมผัสของเล่น อาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยสถานที่ที่มักพบการระบาดของโรค ได้แก่ สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล ช่วงที่มักมีการระบาดของโรคนี้คือ ช่วงฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาวค่ะ
โรคนี้สามารถเป็นซ้ำได้อีก เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์หนึ่งๆ อาจไม่สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสสายพันธุ์อื่นๆ ได้ แม้จะจัดอยู่ในกลุ่มย่อยของเชื้อไวรัสเดียวกันนะคะ
การรักษาโรคมือ เท้า ปาก
ในปัจจุบันการรักษาโรคมือ เท้า ปาก ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค การรักษาจึงเป็นการรักษาอาการทั่วๆ ไปตามอาการของผู้ป่วย เช่น เจ็บคอมาก รับประทานอะไรไม่ได้ จะให้พยายามป้อนน้ำ นม อาหารอ่อน แนะนำให้ทานอาหารที่เย็น เช่น น้ำแข็ง ไอศกรีม เพื่อลดอาการเจ็บแผลในปาก หากมีอาการเพลียมากควรให้นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล และให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด ร่วมกับให้ยาลดไข้แก้ปวด หรือหยอดยาชาในปากเพื่อลดอาการเจ็บแผลในปาก ร่วมกับการเฝ้าระวังสังเกตอาการของภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงค่ะ
วิธีการป้องกัน "โรคมือ เท้า ปาก" เบื้องต้น
โรคนี้มักระบาดในเด็กเล็ก ซึ่งอยู่รวมกันในโรงเรียนหรือสถานเลี้ยงดูเด็ก
・ควรเน้นเรื่องการล้างมือ ทำความสะอาดของเล่น ความสะอาดของน้ำดื่ม และอาหาร
・หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะร่วมกันโดยเฉพาะ แก้วน้ำ ขวดนม ช้อน จานอาหาร
・ควรให้เด็กที่ติดเชื้ออยู่บ้านไม่ควรให้ออกมาเล่นกับเด็กคนอื่นๆ เพื่อเป็นการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ
ทำความรู้จักไปกับ "โรคมือ เท้า ปาก"
โรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot and Mouth Disease) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอนเทอโร (Enterovirus) แพร่เชื้อทางน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพอง และแผล พบได้บ่อยในทารก และเด็กเล็ก เด็กที่ป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก ส่วนใหญ่มักจะเริ่มจากอาการไข้ ซึ่งอาจจะไข้ต่ำหรือไข้สูงก็ได้และจะมีแผลในปาก มีผื่นที่มือที่เท้า
อาการของ "โรคมือ เท้า ปาก"
จะมีระยะฟักตัว 2-3 วัน โดยอาการเริ่มต้น
・มีไข้สูง 38-39 องศาเซลเซียส
จากนั้นจึงมีอาการอื่นๆ ตามมาภายใน 1-2 วัน คือ
・เจ็บคอ
・ไม่อยากอาหาร
・อ่อนเพลีย
・เริ่มมีตุ่ม ผื่น หรือแผลอักเสบมีหนองที่ผิวหนังบริเวณ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และบริเวณปากทั้งภายนอกและภายใน ส่วนใหญ่แผลในปากจะพบได้หลายตำแหน่ง ตั้งแต่บริเวณของเพดานแข็ง เพดานอ่อน หรือบางคนอาจพบที่กระพุ้งแก้มหรือที่ลิ้นได้ บางคนเป็นเยอะก็จะลามออกมาที่ริมฝีปากหรือรอๆ ริมฝีปากเลยก็มีนะคะ ซึ่งถ้าอาการดีขึ้นจะสามารถหายจากโรคนี้ไปใน 1 สัปดาห์
โรคมือ เท้า ปาก อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง!
เช่น เหยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หรืออัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก ซึ่งคุณพ่อ คุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด หากมีอาการเตือนของภาวะรุนแรง เช่น ซึมลง ไม่เล่น ไม่ทานอาหาร หรือนม สับสน พูดเพ้อพูดจาไม่รู้เรื่อง ควรรีบนำมาพบแพทย์ทันทีค่ะ
ระยะแพร่เชื้อและการติดต่อของโรคมือ เท้า ปาก
ผู้ที่ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่เริ่มมีอาการใน 7 วันแรก และหลังจากหายแล้วพบว่ายังสามารถพบเชื้อในอุจจาระได้อีก (ระยะประมาณ 2-3 สัปดาห์)
โรคมือ เท้า ปาก ติดต่อได้โดยการสัมผัสกับน้ำลาย น้ำมูก ผื่นตุ่มน้ำใส และอุจจาระของผู้ป่วย เชื้ออาจจะแพร่กระจายโดยผ่านทางมือผู้ที่สัมผัสกัน เช่น การเปลี่ยนผ้าของเด็กเล็ก สารคัดหลั่งจากจมูก ลำคอ น้ำลาย และน้ำจากตุ่มใส สามารถติดต่อทางอ้อมจากการสัมผัสของเล่น อาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยสถานที่ที่มักพบการระบาดของโรค ได้แก่ สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล ช่วงที่มักมีการระบาดของโรคนี้คือ ช่วงฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาวค่ะ
โรคนี้สามารถเป็นซ้ำได้อีก เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์หนึ่งๆ อาจไม่สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสสายพันธุ์อื่นๆ ได้ แม้จะจัดอยู่ในกลุ่มย่อยของเชื้อไวรัสเดียวกันนะคะ
การรักษาโรคมือ เท้า ปาก
ในปัจจุบันการรักษาโรคมือ เท้า ปาก ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค การรักษาจึงเป็นการรักษาอาการทั่วๆ ไปตามอาการของผู้ป่วย เช่น เจ็บคอมาก รับประทานอะไรไม่ได้ จะให้พยายามป้อนน้ำ นม อาหารอ่อน แนะนำให้ทานอาหารที่เย็น เช่น น้ำแข็ง ไอศกรีม เพื่อลดอาการเจ็บแผลในปาก หากมีอาการเพลียมากควรให้นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล และให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด ร่วมกับให้ยาลดไข้แก้ปวด หรือหยอดยาชาในปากเพื่อลดอาการเจ็บแผลในปาก ร่วมกับการเฝ้าระวังสังเกตอาการของภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงค่ะ
วิธีการป้องกัน "โรคมือ เท้า ปาก" เบื้องต้น
โรคนี้มักระบาดในเด็กเล็ก ซึ่งอยู่รวมกันในโรงเรียนหรือสถานเลี้ยงดูเด็ก
・ควรเน้นเรื่องการล้างมือ ทำความสะอาดของเล่น ความสะอาดของน้ำดื่ม และอาหาร
・หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะร่วมกันโดยเฉพาะ แก้วน้ำ ขวดนม ช้อน จานอาหาร
・ควรให้เด็กที่ติดเชื้ออยู่บ้านไม่ควรให้ออกมาเล่นกับเด็กคนอื่นๆ เพื่อเป็นการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ