"3 ข้อต้องทำ เล่นยังไง? ไม่ให้พี่น้องตีกัน"

"3 ข้อต้องทำ เล่นยังไง? ไม่ให้พี่น้องตีกัน"

ปัญหาสุดคลาสสิคอย่างเรื่องพี่น้องตีกันเวลาเล่นของเล่น

วันนี้ คุณหมอเสาวภามีหลักการคิดดีๆ 3 ข้อ ที่จะทำให้พี่น้องเลิกตีกันได้อย่างอยู่หมัด มาฝากคุณพ่อคุณแม่

ติดตามชมคลิป ได้ที่ https://youtu.be/gUlVhtzcatA

จะเล่นยังไงที่จะไม่น้องตีกันนะคะ

หมอมีคอนเซปหรือมีหลักที่อยู่ 3 ข้อนะคะเดี๋ยวจะขออธิบายที่

ก็คือว่าคุณพ่อคุณแม่ จะต้องเข้าไปเล่นด้วยเข้าไปเล่นด้วยเนี่ย คือเราต้องเข้าไปเล่นโดยที่เราก็ต้องคิด ว่าเราจะเล่นอะไรอันแรกนะ

อันที่สองก็คือว่าเราจะต้องเป็นคนจ่ายงาน จ่ายงานผ่านกัน แล้วก็คือแบบ อุ้ยแม่อยากจะได้ขนมปังทาแยม โอ๊ยแม่อยากจะกินไข่จะเอาด้วยอ่ะลูก การจ่ายงานก็คือการชวนลูกมามีปฏิสัมพันธ์โดยจ่ายงานตามปริมาณลูกนะคะ สมมติว่าลูกสองคนก็โอ้แม่อยากกินขนมปังทาแยมเลยค่ะ น้องพิมน้องพิมแม่อยากกินอะไข่ดาวค่ะ สมมติมีลูกอีกคนนึง อ๋อตัวเล็กสุดอาจจะสองขวบ โอ้คุณแม่อยากได้ผ้าเช็ดมือนะค่ะลูก อย่างเนี้ยค่ะคือมันทำให้เกิดการ Engage คือการปฏิสัมพันธ์ร่วม

อันที่หนึ่งแม่ลงเล่น
อันที่สองแม่จ่ายงานนะคะ

อันที่สามก็คือเรามีท่าทีตอบรับ เวลาลูกเสิร์ฟหรือเอาอะไรมาให้เรา เราก็มีหน้าที่ตอบรับนะ

อันแรกก่อนนะคะ
เวลาเราเข้าไปเล่นเนี่ยเรา ต้องมีธีมนะคะ คืออันนี้จริงเนี่ย ก็เจอเยอะมากเลยที่หมอเจอก็คือบางทีเราไม่รู้จะเล่นอะไร หมดมุกค่ะ ของคุณแพร์เนี่ยยังอยู่ในวงการ ยังพอมีมุกเนาะ แต่เห็นใจพ่อแม่หลายคนคือแบบซื้อมาก็แบบหนูอะหนูทำอะไรอ่ะลูก หนูจะทำหนูทำอะไรอยู่ลูก อ่าๆใช่ หนูกำลังขนมปังเหรอ คือเหมือนเขาก็ไม่รู้ว่าเขาจะเล่นอะไรเนาะ อันนี้หายใจลึกๆนะคะ เล่นจินตนาการว่าเราเล่นอยู่เพราะว่า เดี๋ยวเราต้องจ่ายงานเนาะไม่งั้นมันจะแบบ ลำบากในการจ่ายงาน อะ สมมุติว่าหมอเจออันนี้ ปุ๊บ มีครัวมีซิงค์ล้างมือด้วยแล้วก็มีเครื่องปรุงด้วยอ่ะ แล้วก็มีตะหลิวด้วยอะ โอ๋ เออ

ทำไมหมอต้องบรรยาย เล่นกับลูกหมอก็บรรยายอย่างนี้นะคะ เพราะว่าเด็กก็ต้องการ คำศัพท์อะ คำศัพท์ ตะหลิวกระทะ แล้วเวลาเราเล่นเนี่ยเด็กก็จะได้คำศัพท์ไปโดยอัตโนมัติ แล้วก็เวลาเรา อุ้ย มีอันนี้ๆ มันทำให้เด็กลากตาไปมองทั่วๆ ด้วยอะค่ะ

เสร็จแล้วเราก็ โอ๊ยวันนี้นะแม่จะมาทำอาหารดีกว่า โอเค แม่อยากทำไข่ดาว แม่ทำไข่ดาวแล้ว เราก็ใส่น้ำมันนิดนึงนะเพราะว่าไม่อยากเจอน้ำมันเยอะเลยอะ ใส่น้ำมัน น้ำมันๆๆ โอเคนี้น้ำมัน ชู่ หูย คุณลูกนี่รู้ใจมากเลยนะคะฮ่าๆ จริงๆแล้วลูกอ่ะ อาจจะยังไม่ได้ทำแบบนี้ เราก็ น้ำมันๆ เดี๋ยวแม่จะเอาน้ำมัน ลูกอาจจะอึ้งๆอยู่ ว่าแม่กำลังทำอะไร แล้วเราก็อาจจะบอกว่า อืม น้ำมันอยู่ไหนนะ อันไหนเป็นน้ำมันดีนะ อันนี้รึเปล่าคะ ลูกเข้ามามีส่วนแล้ว ลูกเข้ามามีส่วนแล้ว

เมื่อกี้คือเราลงเล่นลูกเข้ามามีส่วนแล้วเราก็ชื่นชม สมมติอันนี้หรือเปล่าคะ สมมติลูกบอกว่าอันนี้ค่ะอ๋อหนูอยากใช้ทัพพีทำทำได้ เดี๋ยวแม่เอาทัพพีอ่ะมากวนไข่ก็ได้นะคะ ขอบคุณนะคะลูก ชื่นชม ไม่ใช่น้ำมันนี่น่า อ่ะใช่ไม่ใช่น้ำมันแต่เรายอมรับไปก่อน เรายอมรับไปก่อน ไม่ใช่บอกว่า ไม่ นั่นไม่ใช่น้ำมันลูก อันนี้เราเล่นอยู่นะคะ เราไม่ได้สอน ย้ำนะคะ เล่นไม่เท่ากับสอน

เออใช่ๆเล่นแล้วอย่าลืมเวลาเล่นเราสร้าง relationship(ความสัมพันธ์) เส้นที่เชื่อมระหว่างกันเราโฟกัสอันนี้ที่สุดเรา อยู่ในเรื่องว่าลูกแย่งของเล่น ลูกแย่งของเล่นเพราะลูกอ่ะไปมีเส้นกับ object สิ่งของอะ ยึดมันเยอะ แต่เส้นระหว่างเรากับลูกมันไม่ได้แน่นเราอยากจะสร้างเส้นเนี้ย มันมองไม่เห็นนะคะแต่ว่ามันเป็นสิ่งที่ลูกกำลังโฟกัสหรือว่าดื่มด่ำเข้าไป engage เข้าไปอะค่ะ เราอยากให้เส้นนี้ มันหนาขึ้นมันแน่นขึ้น เพราะงั้นพอลูกบอกว่า เอาอันนี้เราก็บอก โอ้ได้นะอันนี้แม่ว่าก็ทำได้นะ

ก็คือเราอยากได้รู้ว่าเราอ่ะยอมรับเขาเห็นเขาเป็นคนสำคัญ แล้วเวลาเราเล่นอย่างนี้กับลูกอีกหลายๆคนเนี่ยเขาจะเปลี่ยนจากการแย่งของเล่นมาจะทำอะไรดีกับแม่...จะมาเสิร์ฟอะไรแม่ มันก็เลยกลายเป็นว่า เอ่อ สถานการณ์การเล่นกับแม่แล้วแบบ เดิมที่เราแบบ หนูทำอะไรลูก นั่งดู หนูทำอันนี้หรออันนี้ใส่อันนี้หรอคะแล้วอร่อยไหมอ่ะคะ ลูกก็เสิร์ฟแล้วก็อร่อยจังเลย อันนี้หนูจะให้แม่หรอ คืออย่างเงี้ยเด็กจะรู้สึกว่าเขา เอ่อเราไปโฟกัสของ ลูกเลยต้องไปโฟกัสของโดยที่เขาไม่ได้รู้สึกว่าเขามีการคิดตามเรา

มีอันนึงที่อยากให้เกิดขึ้นก็คือ คิดตามที่ว่าแม่ต้องเล่นอ่ะ แม่จะทำไข่ดาวแล้วนะ ลูกก็ให้เนี่ย...โอ้อันนี้ก็ทำได้นะ อันนี้จะเกิดการคิดตามเพราะเดี๋ยวมันจะลากไปในเรื่องของการจ่ายงาน แล้วเดี๋ยวมันจะลากไปเรื่องว่าพอลูกโฟกัสกระบวนการคิดของเรา โฟกัสกระบวนการคิดของเราการที่เขาจะโฟกัสว่า เธอจะไม่แย่งของฉันมันจะลดลง มันจะลดลง เพราะว่าถ้าเราไม่ทำให้สมองเขาโยกมา โฟกัสกระบวนการคิดของเราแล้วเราก็ให้เขาโฟกัสกับของเล่นมุกนี่เจ้าน้องเดินมาปุ๊บ เขาก็จะไม่ๆ แบบจะกันออกไปเลยเพราะว่า เดี๋ยวเธอจะมายุ่งกับตรงนี้เพราะฉันกำลังโฟกัสของอยู่แต่ถ้าบอกโอ้ยแม่อย่างนั้น อย่างนี้เขาโฟกัสเราแม่ก็บอกว่าอันนี้มันก็สามารถจะทำเป็นผัดได้เขาก็จะเห็นกระบวนการคิดของเราเขาก็จะลืมโฟกัสว่าใครจะมาแย่งหรือเปล่าเพราะ Enjoy สนุกกับการที่เขาเล่นกับเราค่ะ

เพราะงั้นโดยสรุปก็คือว่า วิธีเล่นแบบที่จะทำให้เขาไม่ทะเลาะกันน่ะคุณแม่ต้องลงเล่น ธีมสั้นๆ คุณแม่เล่นแค่นี้พอก็ได้ ไม่ต้องแบบคุณแม่จะผัดอันนู้น หมอก็มีเหมือนกันนะ ทีเล่นยาวมากเลยแล้วลูกเข้าไม่ได้ แล้วก็ชวนลูกจ่ายงานลูกก็ผ่านการเล่นก็คือใช้ แม่อยากๆ จะ ไม่อยากสั่งไม่สั่งนะคะเช่น ไม่สั่งเนี่ย เอ่อ หนูเสิร์ฟอันนี้ให้แม่หน่อย หนูไปเอาช้อนมาให้แม่หน่อย คืออย่างนี้เด็กจะรู้สึกว่ามันไม่ค่อยเล่น ไม่สนุกเนาะ ไม่สนุก คือชีวิตจริงนอกเล่นเราสั่งมั้ยคะ วันๆก็สั่งเยอะพอแล้วค่ะ ไปแต่งตัว ไปอาบน้ำ ไปกินข้าว ตอนเล่นยังโดนสั่งอีก ก็เป็นการจ่ายงานแบบไม่สั่งแต่ผ่านการเล่นแล้ว

สุดท้ายพอเขาให้อะไรมาแล้วเราก็ยืดหยุ่น โอ้ขอบคุณนะ โอ้ดีจังเลย อันนี้ก็ใช้ได้นะ ถ้าทำอย่างนี้ลูกก็จะรู้สึกว่า...เห้ย เล่นแล้วสนุก สุดท้ายนะคะพอเราไม่อยู่ เดี๋ยวจะมีคนมาถามหมอ หมอต้องมานั่งเล่นทุกวันตลอดเวลาเหรอ ไม่ บรรยากาศแบบนี้อ่ะ สมองลูกประสบการณ์แบบนี้มันเข้าไปในสมองเขาแล้ว เดี๋ยวพอเราไม่อยู่เค้าก็จะเล่นโทนๆนี้แหละ เดี๋ยวเราจะเห็นว่าบางทีคนพี่ก็ก็อปสไตล์เราหรือไม่ก็คนน้องก็อปสไตล์เราแล้วมันก็จะรันไปได้ด้วยดีน่ะค่ะ
เล่นยังไง? ไม่ให้พี่น้องตีกัน"
0


Please Login to CommentLog In