จะทําอย่างไรเมื่อลูกพูดคําว่า “ไม่”

จะทําอย่างไรเมื่อลูกพูดคําว่า “ไม่”

เมื่อลูกพูดว่า “ไม่” อยากให้คุณพ่อคุณแม่ลองทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ดูนะคะ

1. " ตั้งสติ " ให้พ่อแม่ตั้งสติก่อนว่า ลูกกําลังจะพัฒนาตัวตน แล้วเราก็ควรจะเปิดโอกาสให้ลูกได้พัฒนาตัวตน มองไปที่ตัวลูก หยุดอารมณ์ของตัวเอง หรือจัดการอารมณ์ของตัวเองให้นิ่ง สงบให้มากที่สุด อย่าเพิ่งโกรธเขา อย่าเพิ่งโมโหเขา จัดการตัวเองให้ได้มากที่สุด แล้วเมื่อเราจัดการตัวเองได้ จัดการอารมณ์ตัวเองให้ดีที่สุดแล้ว มีสติแล้ว เราก็จะมองเห็นลูกว่าลูกกําลังต้องการ พัฒนาตัวตนของเขาอยู่เช่นกัน

2. " สงบสติอารมณ์ตัวเอง " เมื่อพ่อแม่สงบตัวเองได้แล้ว เราจะไม่โกรธลูก ไม่โมโหลูก ไม่เถียงกับลูกแล้ว สมมุติเรานิ่งได้แล้ว เราก็จะเริ่มเปลี่ยนโฟกัสไปมองที่ตัวลูก มองว่าลูกต้องการอะไร คือตอนแรกเราโฟกัสตัวเอง ตอนหลังเราก็โฟกัสไปที่ลูก ว่าลูกต้องการอะไร ตัวตนที่ลูกกําลังร้องขอ หรือกําลังพัฒนานั้น มันเหมาะสมมั้ย แล้วเราจะช่วยเค้าให้มีตัวตนอย่างที่เหมาะสมอย่างไรต่อดี

3. " ช่วยลูกจัดการอารมณ์ " ถ้าตัวตนที่ลูกกําลังพัฒนาอยู่เป็นไปในลักษณะของความก้าวร้าวรุนแรง มีอารมณ์เยอะ เราต้องช่วยให้เขาจัดการอารมณ์ตัวเองให้ได้ก่อน เพราะเราคงไม่ต้องการให้เขามีตัวตนในรูปแบบของความก้าวร้าว เราก็จะสงบ แล้วบอกกับลูกว่า “ถ้าลูกโวยวายอย่างนี้ แม่ขอรอลูกสงบก่อน แล้วแม่ค่อยคุยนะ” ก็เพื่อให้ลูกรับรู้ว่า เขาสามารถปฏิเสธได้ เรายอมรับความเห็นเขาได้ แต่ว่าเราอยากให้เขาจัดการอารมณ์ตัวเองให้ได้ก่อน

4. " ให้โอกาสลูกในการคิด " เมื่อลูกจัดการอารมณ์ตัวเองได้แล้ว ลูกสงบแล้ว เมื่อลูกพูดว่าไม่ เราก็ฟังเขาว่า เขาไม่ต้องการทําแบบนี้เพราะอะไร ยกตัวอย่างเช่น เราบอกลูกว่าให้เข้าบ้านได้แล้ว หรือกลับบ้านได้แล้ว หมดเวลาแล้ว ตามที่เราคุยกันว่า เราออกมาเที่ยวตอนนี้แล้วเราต้องเข้าบ้านตอนห้าโมงเย็น มันคือครบเวลาแล้ว แต่ลูกตอบว่าไม่ ลูกไม่ยอมเข้าบ้าน เราก็จะเปิดโอกาสให้ลูกปฏิเสธ แล้วเราก็ถามลูกว่าเพราะอะไรลูกถึงไม่กลับบ้านตอนนี้ แล้วก็ให้โอกาสลูกในการคิด คิดหาเหตุผลว่าคืออะไร

5. " พ่อแม่พยายามฟังเหตุผลที่ " เขานําเสนอ แล้วมองดูว่าเราสามารถที่จะอะลุ้มอล่วยได้ไหม หลักคิดในการอะลุ่มอล่วยก็คือว่า

A. ถ้าลูกเราเป็นลักษณะ " เด็กที่ปฏิบัติตามกฎกติกาอยู่สม่ำเสมออยู่แล้ว " เราสามารถอะลุ่มอล่วยได้ ถ้าสิ่งที่ลูกให้เหตุผลมา เราฟังแล้วว่ามัน ไม่ได้มีข้อเสียอะไร เราก็ยอมลูกได้ ก็จะทําให้ลูกรู้สึกว่าเขาสามารถควบคุมสถานการณ์ ที่เกิดขึ้น ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วย เพราะว่าพ่อแม่อะลุ่มอล่วยให้เขา ฟังเขา เขามีตัวตน

B. " ลูกที่ไม่ค่อย ไม่ค่อยทําตามกฎกติกาเลย " เราจะพิจารณาการอะลุ่มอล่วยน้อยกว่ากลุ่มแรกเพราะว่า ลูกอาจจะไม่ได้มีเหตุผลจริงๆ ในการที่จะปฏิเสธว่าไม่ ลูกใช้ช่องทางนี้ในการหลีกหนี ที่จะไม่ควบคุมตัวเอง ที่จะไม่จัดการตัวเองให้อยู่ในกติกา ดังนั้น กลุ่มนี้เราก็จะอะลุ่มอล่วยให้น้อยที่สุด เพราะส่วนใหญ่แล้วลูกจะใช้ ช่องทางในการที่จะไม่ต้องทําตามกติกามากกว่า เราควรยืนยันว่า ให้ลูกจัดการอารมณ์ให้เงียบสงบ แล้วคุยกันอีกครั้งหนึ่ง พอสงบแล้ว เราก็จะทําความเข้าใจกับลูกว่าที่เราตกลงกันแล้ว มันมีความหมาย ซึ่งพ่อแม่ไม่สามารถที่จะทําให้ลูก ไม่รักษาคําพูดได้ ดังนั้นเด็กที่ถูกปฏิเสธ ในการที่เขาจะมีตัวตนแบบเอาแต่ใจ ตัวตนแบบเอาแต่ใจ เราไม่ต้องการให้เกิดขึ้น เราก็จะช่วยจัดการให้เขา ให้ตัวตนที่เอาแต่ใจลดน้อยลง แล้วเราก็ใส่ข้อมูลไปว่า ถ้าเราคุยกันแล้ว เราตกลงกันแล้ว เราต้องรักษาสัญญา ซึ่งก็จะทําให้ลูกเข้าใจว่า ตัวตนที่เหมาะสมกว่า และตัวตนที่พ่อแม่อยากให้เกิดขึ้นในตัวเขาคืออะไร ซึ่งลูกก็จะเรียนรู้ต่อไปว่า ในครั้งหน้า ก่อนที่เขาจะตกลงกับแม่ เขาจะต้องคิดให้ดีว่า ตัวเลขห้าโมงคือสิ่งที่เขาโอเคจริงหรือเปล่า ถ้าเขาไม่โอเค เขาจะต้องคิดให้รอบคอบกว่านี้ ไม่ใช่ตอบส่งๆไป โดยที่ไม่ได้ใส่ใจอะไร

คุณพ่อคุณแม่ลองนําไปปรับใช้กันดูนะคะ ช่วงแรกแรกอาจจะยากสักนิดหนึ่ง
แต่ทุกเรื่องถ้าผ่านการฝึกฝนไปสักระยะ จะดีขึ้นแน่นอนค่ะ

หมอเสาวภา เลี้ยงลูกเชิงบวก ✚✚
ขอเป็นกําลังใจให้ทุกบ้านเลยนะคะ 💖
1


Please Login to CommentLog In

Newton
อ่านจบเข้าใจเลยค่ะ