ปัญหาลูกๆแย่งของเล่นชิ้นเดียวกัน สาเหตุสุดคลาสสิก ของการทะเลาะกัน

ปัญหาลูกๆแย่งของเล่นชิ้นเดียวกัน สาเหตุสุดคลาสสิก ของการทะเลาะกันของพี่น้อง

คุณหมอเสาวภามาให้คำแนะนำคุณพ่อคุณแม่ในการจัดการปัญหาพี่น้องทะเลาะกันได้อย่างอยู่หมัด

ติดตามชมคลิป ได้ที่ https://youtu.be/X6ZVwodIDLo

#mombie #คุณแม่มือใหม่ #มันส์เดย์กับมัมบี้ #จิตวิทยาเชิงบวก #พี่น้องทะเลาะกัน #พี่น้องแย่งของเล่นกัน #หมอเสาวภาเลี้ยงลูกเชิงบวก #ปัญหาการเลี้ยงลูก

ถ้างั้นอันดับแรกที่เจอบ่อยสุดก็คือว่า แย่งของชิ้นเดียวกัน เราก็ต้องรับรู้ว่าเราจะรับมือยังไงที่ทำให้พี่ไม่รู้สึกว่าแม่เข้าข้างน้อง แล้วก็จะทำยังไงให้น้องรู้สึกว่าแม่เห็นใจเขานะเขายังเล็กอยู่ เขาเล่นไม่ได้เก่งเท่าพี่ คือให้เกิดความรู้สึก ว่ามันสบายใจมันไม่ได้แบบโห กอดกันรักกัน แบบขนาดนั้นมันก็จะไม่ได้เป็นแบบอย่างนั้นนะคะ แต่อย่างน้อยมันทำให้เขารู้ว่า เรามีวิถีที่จะช่วยเขาให้เขาแลนด์ดิ้งได้นะคะอันนี้อันแรก

ทีนี้เวลาแย่งนะอย่างแรกเลย ไอ้ช่วงที่แย่งขอให้หยุดเวลาไว้ คำว่าหยุด เวลาก็คือเราอยากจะเอาของเนี้ยมาอยู่ในมือเรา เพื่อให้เด็กหยุดโฟกัสกันเอง ถ้าเราไม่เอาของมาอยู่ในมือเราจะต้องฉะกันแน่ ถ้าของยังอยู่ตรงนี้เราพูดว่าเดี๋ยวๆ หนูจะให้น้องก่อนได้ไหม หรือไม่ หนูๆ ให้พี่สิ อย่างนี้โอกาสที่เขาฟังเนี่ยน้อยมาก น้อยมาก เพราะว่าของอยู่ในมือแล้วจะฟังไหมคะ ไม่ฟังค่ะ แล้วคนนี้กำลังได้ของอยู่ พี่อยู่ตรงนี้เห็นน้องได้ของอยู่ แล้วแม่บอกว่าหนูให้น้องก่อนได้มะ มันก็จะรู้สึก แม่เข้าข้างเนอะ งั้นมีเวลาของอยู่ในมือใครเนี่ยไม่ค่อยจะช่วยให้ลูกฟังเท่าไหร่ อยากให้หยุดเวลาโดยเอาของอ่ะมาอยู่ในมือเราก่อน กำแน่นเลยทำไงคะคุณหมอ กำแน่นเลย ไม่ให้อะไม่ให้ หนูชอบ โอเคถูกเลยเวลาเราเอาของจากมือลูกนะคะ สูดหายใจลึกๆ เพราะว่าห้ามโกรธ ห้ามกระชาก ห้ามดุ ชีวิตแม่ยากจัง อันนี้เป็นหลักการนะจริงๆถึงหน้างานเนี้ยคือพยายามทำให้ดีที่สุดแล้วคือหมอก็ไม่ได้แบบทำได้อย่างนี้ทุกครั้งนะคะแต่ว่าเราก็ท่องไว้ว่า เออ เราต้องพยายามเนอะ แต่ถ้าหลุดบ้างก็โอเคอะ เราเป็นคน

ยิ่งมีอารมณ์เยอะแยะไปหมด คนนี้ก็โวย คนนี้ก็โวย เดี๋ยวเราอะจะโวย แล้วเราก็พูดว่าขอแม่ก่อน เดี๋ยวแม่ช่วย ขอแม่ก่อน เดี๋ยวแม่แก้ปัญหา ขอแม่ก่อนนะ ตอนที่จับแล้วพูดว่า ขอแม่ก่อนนะ เดี๋ยวแม่ช่วยแก้ปัญหานะ เดี๋ยวแม่แก้ปัญหาให้นะ เรายังไม่ได้บอกเลยว่าให้น้องก่อนแป๊บนึงหรือว่าบอกพี่ว่ารอน้องก่อน เราจะยังไม่แก้ปัญหาในจังหวะที่ทุกคนกำลังมีอารมณ์เพราะมันมีแนวโน้มที่พี่กะน้องจะมองว่า แม่เข้าข้าง ฟังดีๆนะคะ อันนี้สำคัญมากขีดเส้นใต้ค่ะ แล้วมันไม่ใช่แค่ครั้งนี้ที่เขารู้สึกว่าแม่เข้าข้าง มันจะสะสมอยู่ข้างในนะเป็นปมในใจ บางทีแบบแค่แม่เดินมาแล้วแม่ก็ทักน้องว่ากินข้าวหรือยัง พี่บางคนจะรู้สึกว่า แม่ดีกับน้องจัง บางทีมันแค่นิดๆหน่อยๆแต่ว่าเนื่องจากเขาเก็บแต้มนะคะ งั้น อย่าให้อันนี้ไปอีกแต้มนึงที่เขารู้สึกว่าแม่เขาข้าง แล้วจับไว้แล้วก็พูดว่า เดี๋ยวแม่แก้ปัญหา เราใช้ "I message" เดี๋ยวแม่แก้ปัญหา ขอแม่ก่อนแล้วยึด เขายังไม่ให้นะคะ จับไว้ จับอย่างนี้เลยค่ะ ไม่พูดแบบนี้นะ "ขอแม่ก่อนลูก ของแม่ก่อน ขอแม่ก่อน" โอกาสได้มันน้อย แต่การจับเนี่ยคุณแพร์รู้สึกไหม ว่ามันมีมันน้ำหนักอยู่ในมือ คุณหมอบีบ เออใช่ บีบนิดนึง บีบแน่นๆนิดนึงให้รู้ว่าเราเอาจริง ขอแม่ก่อนก็จับแน่นๆไว้นะคะเพราะเขาจะกระชาก แล้วเราก็บอกว่า "แม่แกะนะคะ ถ้าหนูแพร์ยังไม่เอาให้แม่เอง แม่แกะนะคะ" ให้โอกาสเขาทบทวนนิดนึง "ถ้าหนูแพร์ยังไม่ให้แม่ แม่แกะนะคะ" คือถ้าเด็กเหมือนกับทางตันนิดนึงเนาะ แล้วเราบอกว่า เอามาๆอย่างนี้มันจะโกรธ แต่ถ้าเรามี Space นิดนึง "หนูแพร์ให้แม่ ถ้าหนูแพร์ไม่ให้แม่ แม่แกะนะคะ" เขายังรู้สึกว่าไม่จนตรอก ถ้าเขาให้ เราก็เอามาไว้กับเรา "ขอบคุณค่ะลูก" แต่ถ้าเขายังไม่ให้นะ เราก็บอกว่า "งั้นแม่แกะนะคะ แม่แกะ แม่ต้องเอานะลูกนะ เดี๋ยวแม่ช่วยแก้ปัญหา" อ่า มาอยู่กับแม่ละ เขาอาจจะร้องไห้นะคะ

ตอนนี้เราได้ของมาอยู่ในมือ เวลาได้ของมาอยู่ในมือ แนะนำชูสูงหน่อย ทำไมต้องชูสูงจริงๆตำราก็เขียนอย่างนี้ว่าชูสูง เพราะว่ามันเห็นภาพชัดว่าแม่กำลังพยายามจะแก้ปัญหาโดยที่ของของเนี้ยไม่สำคัญแต่ conversation(บทสนทนา) ระหว่างเราสามคนจะสำคัญละ แต่ให้อยู่ตรงนี้เนี่ยมันรู้สึกว่าอยากได้ๆ อยากเล่นๆ ประมาณนั้น ชูสูงไว้แล้วก็คุย เอามือไปไว้ที่อื่นไม่ได้เหรอคะคุณหมอ ต้องชูไว้ด้วยเหรอคะ โห ถ้าเราเดินออกไปนี่นะบ้านแตก บางท่านบอกว่าจะเล่นกันด้วยไม่ได้ ยึดของ จะบอกว่าไม่ใช่ห้ามทำนะคะ แต่ขอให้เป็นทางเลือกสุดท้ายที่เราพยายามทำหลายวิธี คือตอนนี้เราอยากให้ลูกมีทักษะการแก้ปัญหาข้อขัดแย้งนะคะ ไม่ใช่อยู่ดีก็ยึดอย่างเดียวเลย ลูกยังไม่มีสกิลอะไรพัฒนาเลย เสร็จแล้วก็บอกลูก "แม่กำลังจะคุยกับลูกนะ พร้อมคุยยัง" แล้วถ้าลูกยังไม่พร้อมล่ะคะ โห อันนี้เนี่ยขอทดไว้ในใจ เก็บเป็นการบ้านนะ สมมติพี่โวยเก่งกว่าน้องหรือน้องโวยเก่งกว่าพี่ ตอนนี้เราทดไว้ในใจว่า อืม เรื่องอื่นๆของเขาก็ขี้โวยวายจัดการอารมณ์ตัวเองไม่ได้หรือเปล่าไปแก้เรื่องอื่นๆส่วนตัว เพราะถ้าลูกจะให้อาบน้ำก็โวยวาย ขัดใจก็โวยวายคือไม่เกี่ยวกับพี่แล้วนะ ถ้าเป็นอย่างเงี้ยพื้นฐานของเขาอะ จัดการอารมณ์ตัวเองไม่ได้ เวลาเรามาจัดการแบบเนี้ยมันก็จะยากมากแล้วเราจะปรี๊ดค่ะ เพราะงั้นแต่ละคนน่ะขอให้คุณแม่ไปจัดการให้เขา รู้จักสงบเองเป็น แล้วเราก็บอกว่า "แม่กำลังจะคุยนะคะ แม่รอลูกสงบอยู่" ทีนี้โดยอัตโนมัติ ลูกก็เก็ตละว่าแม่มาโทนเนี้ย นี่พูดไปพูดมานึกถึงลูกตัวเอง แม่มาโทนนี้แล้วลูกก็จะเริ่มแบบพยายามจะสงบ แต่คือไม่ใช่ฮึบบ! แล้วเงียบไม่ใช่อย่างนี้นะคะ เราไม่ได้บังคับเงียบแต่เขาก็เริ่มรู้ว่าพอเขาบ่นอะไรเราก็จะนิ่งๆ "พร้อมฟังรึยังคะ" คือเรารอ เขาก็จะเริ่มรู้ว่าโมเม้นท์เนี้ยยังไงแม่ก็ไม่หลวมตัวมาทะเลาะด้วย เขาก็จะแบบ นิ่ง แล้วก็บอก โอเค ได้ ทีนี้เวลานี้มันอาจจะนานนะ นานจนกระทั่งอีกคนนึงอาจจะเปลี่ยนใจไปแล้วก็ได้ ซึ่งมันเป็นไปได้นะคะ แต่ว่าถ้าเกิดสมมติว่าโมเม้นนี้มันไม่ได้นานมากแล้วอีกคนก็ยังอยู่

ทีนี้สเต็ปต่อไปจะ ยึดของไว้แล้ว แล้วแม่รอคุยอันนี้ก็คือเราไม่คุยกับลูกตอนโมโหเนาะเพราะมันไม่ค่อยได้สกิลอะไร เสร็จแล้วเราก็หันมา คือถ้าเขาไม่ได้โวยวายมากเขาอาจจะ แม่อะ หนูยังไม่ได้เล่นเลย เป็นในระดับที่พอฟังได้ เราจะใช้สะท้อนความรู้สึก แล้วพี่ชายก็บอกว่า ผมยังไม่ได้เล่นเลย หนูยังไม่ได้เล่นเลยน้องก็มาแย่งแล้ว เราก็มาสะท้อนคนพี่ "หนูรู้สึกเสียใจใช่ไหมคะ หนูรู้สึกเสียใจที่น้องมาแย่ง หนูเสียใจที่น้อง ไม่ขอดีๆใช่ไหมคะ" อันนี้เราเวิร์คกับความรู้สึกของเด็กส่วนตัวแล้วเนาะ ว่าเราเข้าใจเขา จะเห็นไหมคะยังไม่ได้แก้ปัญหาว่าจะให้ใครเลย เวิร์คกับคนก่อน คือเราอ่ะอยากให้ลูกเราอ่ะ มองเห็นว่าแม่ให้ความสำคัญกับความรู้สึกของเขาเราอยากจะสร้างความสัมพันธิ์อะ คุณพ่อคุณแม่ มันเป็นเส้นที่มันเชื่อมกันระหว่างคนสองคนโดยที่เราไม่เห็นเส้นนั้นเนาะ เราอยากจะให้ลูกเราอ่ะ มองเห็นว่าเรายึดถือ relationship นี้ในการที่จะแก้ปัญหาแต่ถ้าเราไม่ได้คุยหรือเข้าใจเขา เราไป target(ตั้งเป้าหมาย) ตรงที่แบบ อะแบ่งกัน พี่เล่นก่อน คนนี้เล่น 5 นาทีคนนี้เล่น 10 นาที แบบนี้ปั๊บเนี่ย มันแก้ปัญหาได้นะ แต่ relationship ล่ะ แม่เข้าใจไหม แล้วที่แม่บอก 5 นาที 10 นาทีเนี่ยมันยุติธรรมไหม แม่เข้าใจหนูมั้ย หนูพึ่งเล่น ทำไมมา 5 นาที 10 นาที อะไรแบบนี้อะค่ะ ความรู้สึกยังไงมันก็เป็นความรู้สึกเนาะ มันเอาเหตุผลหรือเอาแบบไม้บรรทัดมาวัดไม่ได้อะค่ะ แล้วบางครั้งเวลาเราแก้ปัญหาแบบนี้ คนนี้เล่นได้ 5 นาที คนนี้เล่นได้ 10 นาทีบางทีเราก็ไม่ได้ดูว่า โหพี่เพิ่งแกะของอะ โดนฉก เจออย่างนี้ประจำ มันจะให้เล่นแค่ 5 นาทีอย่างนี้มันไม่แฟร์แม่ บางทีแม่ทำกับข้าวอยู่เนาะ หันไปอีกทีก็นึกไปเอง เข้าใจผิดกับสถานการณ์ก็เป็นไปได้ค่ะ อาจจะคิดว่าคนโตอาจจะต้องเวลาเยอะนิดนึงอะไรก็แล้วแต่ อันนี้อย่างนี้แปลว่าเราไม่ได้โฟกัสความสัมพันธ์ระหว่างกันหรือว่าไม่ได้มองไปลึกๆว่าหัวใจลูกเป็นยังไง เราก็ไปที่สะท้อนความรู้สึก "หนูเสียใจเนอะ ก็หนูพึ่งเล่นเองอะ แล้วน้องก็มาเอาของหนูไป" ซึ่งเวลาเราสะท้อนความรู้สึกคนพี่ จะบอกว่าคนน้องฟังอยู่นะ บางทีก็ หนูไม่ได้ทำแบบนั้น บางทีอาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้นะคะ ใช่ค่ะ ไม่น่าจะมีใครหยุดพูดค่ะ ไม่น่าจะมีใครฟังเฉยๆ อ๋า ใช่ค่ะ อันนี้แบบจริงๆนะ เอาไปใช้เรื่องอื่นนอกเหนือจากเรื่องแย่งของเล่น สมมติว่าแย่งก็ เนี่ยพี่ก็มาแย่งหนูก่อน ไม่งั้นหนูก็ให้มัน คือเถียงกันไม่หยุดค่ะ

กลับมาที่จุดเดิม "แม่กำลังพยายามแก้ปัญหานะคะ แม่ขอฟังทีละคน" คือความนิ่งความเย็นของเรามันเป็นต้นแบบที่ทำให้บรรยากาศโดยรวม มันไม่คุกรุ่น แต่ถ้าเราบอก "เฮ้ย พูดกันทีละคน จะเถียงกันไปทำไมเนี่ยฮะ" อ่ะอย่างเงี้ย โห มันคุกรุ่น เหมือนเอาฟืนเข้าไปในไฟนะคะ ลูกกันเข้าไปใหญ่

ตอนนี้เราจะโฟกัสไปที่คนพี่นะคะ เพราะคุณพี่อายุมากกว่าเขามี ศักยภาพพัฒนาการสูงกว่า เราจะโฟกัสคนพี่ในการแก้ปัญหา "พี่พุดพี่พุด ตอนนี้มันมีอันเนี้ยที่แย่งกันอยู่ พี่พุดคิดว่าจะทำยังไงที่จะเล่นได้แบบที่ไม่ต้องทะเลาะกัน" ฟังประโยคคำถามนะคะ "พี่พุดคิดว่า จะทำยังไง ที่จะให้ของเล่นเนี้ยเล่นกันได้แบบไม่ทะเลาะกัน" ไม่ใช่แบบนี้นะคะ "พี่พุดเอาอันนี้ให้น้องได้ไหมคะ" อันนี้มันแบบว่า เราฟันธงมาแล้วอะค่ะไว้ ทีนี้เวลาเราโฟกัสที่พี่ แล้วพี่ก็จะภูมิใจนะ เขาได้เสนอไอเดียปุ๊ป โอเค สมมติเขาบอกว่างั้นผมเล่นก่อน บางทีก็เสนอไอเดียแบบตัวเองได้เปรียบ แล้วเดี๋ยวเราจะสวิตซ์นะคะ เราจะสลับไปที่น้องแล้วเราก็จะถามน้องว่า "โอเค แม่ฟังหนูนะ อ่ะ น้องแพร์เอายังไงคะ พี่เล่นก่อน" ไม่เอา หนูก็จะอยากเล่นก่อนอะ "อาา โอเคหนูก็อยากเล่นเนาะ พี่พุด น้องก็อยากเล่นด้วย พี่พุดมีไอเดียอื่นอีกไหมคะ เพราะว่าเราอยากให้แบบเล่นกันได้ดีๆอะค่ะ" เออก็ฟังก่อนแล้วก็เสนอไปเรื่อยๆอย่างนี้ โยก ไปเรื่อยๆค่ะ ส่วนใหญ่แลนด์ดิ้งดีค่ะ สุดท้ายถ้าไม่ได้จริงๆเนี่ย ส่วนใหญ่ถ้าไม่ได้จริงๆคือเด็กมีอารมณ์ งั้นเราก็จะจบสุดท้ายตรงนี้แหละที่หมอจะบอกว่า มัน โห อารมณ์เยอะแล้ว เราก็จะบอกว่า "โอเคงั้นอันนี้ยังไม่ต้องเล่นนะจนกว่าจะคิดได้" อันนี้เราจะเก็บแบบที่ แต่เราเก็บเพราะว่าลูกอ่ะคุยกันไม่ได้อ่ะ "อันนี้ยังไม่เล่นนะจนกว่าเราจะคิดได้" ไม่ใช่ "ยึดเพราะเธอเล่นด้วยกันดีๆไม่ได้" ไม่ใช่แบบนั้นน่ะค่ะ ที่นี้ถ้าเรามาแบบนี้ไปเรื่อยๆเด็กก็จะรู้แล้ว อ้อ แม่เรามีสไตล์แบบนี้นะ ก็จะเตรียม คำตอบไว้เลย ลูกหมอจะมีเลยหนึ่ง สอง สาม สี่ เตรียมคำตอบไว้ก่อน ฝึกฝนการคิดเป็นลำดับขั้นตอนไปด้วยในตัวนะคะ เพราะแม่จะมีไอเดีย หนึ่ง สอง สาม แล้วก็ฝึกให้เขาคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาในการฝึกฝน ทักษะเพิ่มเติมด้วย
พี่น้องแย่งของเล่นชิ้นเดียวกัน สาเหตุสุดคลาสสิก ของการทะเลาะกันของพี่น้อง
0


Please Login to CommentLog In